กรณีพิพาทกัศมีร์
กรณีพิพาทกัศมีร์ หรือ กรณีพิพาทแคชเมียร์ (อังกฤษ: Kashmir conflict) เป็นข้อพิพาทดินแดนหลัก ๆ ระหว่างประเทศอินเดียกับประเทศปากีสถานเหนือดินแดนภูมิภาคกัศมีร์ กรณีพิพาทนี้เริ่มต้นหลังการขีดเส้นแบ่งอินเดีย (partition of India) ในปี 1947 โดยเป็นการพิพาทถึงสิทธิ์เหนือพื้นที่ของอดีตรัฐมหาราชาชัมมูและกัศมีร์ และได้ร้ายแรงขึ้นเป็นสงครามสามครั้งระหว่างอินเดียและปากีสถาน รวมถึงการต่อสู้ด้วยอาวุธเล็กน้อยอีกหลายครั้ง นอกจากนี้ประเทศจีนยังมีส่วนร่วมในข้อพิพาทนี้ในฐานะบุคคลที่สาม (third-party role)[1][2] ทั้งอินเดียและปากีสถานอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ของอดีตรัฐมหาราชา ชัมมูและกัศมีร์ทั้งหมด ถึงแม้ว่าปากีสถานจะยอมรับเอกราชของจีนเหนือ Trans-Karakoram Tract และ Aksai Chin มาตั้งแต่ปี 1963[3] ทางอินเดียควบคุมพื้นที่ไปประมาณร้อยละ 55 และครอบคลุมประชากรไปร้อยละ 70 ส่วนปากีสถานควบคุมพื้นที่ไปประมาณร้อยละ 30 และจีนควบคุมพื้นที่ไปร้อยละ 15[4][5][6] อินเดียปกครองพื้นที่ของชัมมู, เทือกเขากัศมีร์, ส่วนใหญ่ของลาดัก และธารน้ำแข็งเซียะเฉิน (Siachen Glacier)[7] ส่วนปากีสถานปกครองพื้นที่อะซัดกัศมีร์ (Azad Kashmir) และกิลกิต-บัลติสตาน (Gilgit-Baltistan) และประเทศจีนปกครองพื้นที่ของภูมิภาค Aksai Chin, Trans-Karakoram Tract ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีประชากรอยู่อาศัย, และบางส่วนของ Demchok sector[8][3][9][10][11]
หลังการขีดเส้นแบ่งอินเดียและกบฏปูนจ์ 1947 (1947 Poonch rebellion) การก่อการกำเริบในอำเภอทางตะวันตกของรัฐ ได้มีการบุกรุกกัศมีร์โดยกองกำลังชนเผ่าของปากีสถาน ซึ่งส่งผลให้ผู้นำชาวฮินดูของชัมมูละกัศมีร์เลือกที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดียแทนประเทศปากีสถาน[12] อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามอินเดีย-ปากีสถาน ค.ศ. 1947 (Indo-Pakistani War of 1947) ซึ่งจบลงด้วยการเข้ามาแทรกแซงของสหประชาชาติ หยุดยิงระหว่างเส้นที่ต่อมามีชื่อว่า เส้นควบคุม (Line of Control)[13][14] หลังต่อสู้กันอีกครั้งในสงครามอินเดีย-ปากีสถาน 1965 (Indo-Pakistani War of 1965) และอีกครั้งในปี 1971 (Indo-Pakistani War of 1971) จึงได้มีการลงนามในข้อตกลงสิมลา (Simla Agreement)[15][16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Yahuda, Michael (2 June 2002). "China and the Kashmir crisis". BBC. สืบค้นเมื่อ 22 March 2019.
- ↑ Chang, I-wei Jennifer (9 February 2017). "China's Kashmir Policies and Crisis Management in South Asia". United States Institute of Peace. สืบค้นเมื่อ 22 March 2019.
- ↑ 3.0 3.1 "Signing with the Red Chinese". Time (magazine). 15 March 1963. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2008. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019.
- ↑ Hobbs, Joseph J. (13 March 2008). World Regional Geography. CengageBrain. p. 314. ISBN 978-0495389507.
- ↑ Ie Ess Wor Reg Geog W/Cd. Thomson Learning EMEA. 2002. ISBN 9780534168100.
India now holds about 55% of the old state of Kashmir, Pakistan 30%, and China 15%.
- ↑ Margolis, Eric (2004). War at the Top of the World: The Struggle for Afghanistan, Kashmir and Tibet (paperback ed.). Routledge. p. 56. ISBN 9781135955595.
- ↑ Malik, V. P. (2010). Kargil from Surprise to Victory (paperback ed.). HarperCollins Publishers India. p. 54. ISBN 9789350293133.
- ↑ "Kashmir: region, Indian subcontinent". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.
- ↑ "Jammu & Kashmir". European Foundation for South Asian Studies. สืบค้นเมื่อ 4 May 2020.
- ↑ Snow, Shawn (19 September 2016). "Analysis: Why Kashmir Matters". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 4 May 2020.
- ↑ Ruiz Estrada, Mario Arturo; Koutronas, Evangelos; Khan, Alam; Angathevar, Baskaran (2018). "Economic Dynamics of Territorial Military Conflicts: The Case of Kashmir". Journal of Strategic Studies (ภาษาอังกฤษ). doi:10.2139/ssrn.3102745. ISSN 1556-5068.
The Kashmir conflict has become the apple of discord primarily between India and Pakistan, and secondarily with China, since their first year of independence. [...] Today, India administers approximately 43 percent of the region (Jammu, the Kashmir Valley, Ladakh, and the Siachen Glacier); Pakistan administers approximately 37 percent of the region (Azad Kashmir and Gilgit- Baltistan); and China administers the rest 20 percent of the region (Demchok district, the Shaksgam Valley, and the Aksai Chin region).
- ↑ Copland, Ian (Spring 2003), "War and Diplomacy in Kashmir: 1947-48 by C. Dasgupta (review)", Pacific Affairs, 76 (1): 144–145, JSTOR 40024025: "As is well known, this Hindu-ruled Muslim majority state could conceivably have joined either India or Pakistan, but procrastinated about making a choice until a tribal invasion - the term is not contentious - forced the ruler's hand."
- ↑ Lyon, Peter (1 January 2008). Conflict Between India and Pakistan: An Encyclopedia (ภาษาอังกฤษ). ABC-CLIO. p. 80. ISBN 9781576077122.
- ↑ "Kashmir | History, People, & Conflict". Encyclopedia Britannica. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2015.
- ↑ "Simla Agreement". Bilateral/Multilateral Documents. Ministry of External Affairs, Government of India. สืบค้นเมื่อ 27 September 2013.
- ↑ Fortna, Virginia (2004). Peace time: cease-fire agreements and the durability of peace. Princeton University Press. ISBN 978-0-691-11512-2.