กรณีการทุจริตสตาร์ค คอร์เปอเรชั่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เดิมคือ "บริษัท สยาม อินเตอร์ มัลติมีเดีย จำกัด (มหาชน)" ถูกล่าวหาว่าทุจริตต่อประชาชนและตลาดหลักทรัพย์ด้วยการตกแต่งตัวเลขทางบัญชีให้ดูมีกำไรเกินความเป็นจริง มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 50000 ล้านบาทผู้เสียหายราว 16000 ราย[1]

สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น[แก้]

STARK เป็น บริษัท โฮลดิ้ง กล่าวคือเป็นบริษัท ที่นำเงินไปลงทุนในบริษัทอื่น โดย บริษัทลงทุนใน บริษัท เฟ้ลปส์ ดอด์จอินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้เป็นผลิตสายไฟและสายเคเบิล สัญชาติอเมริกาเป็นหลัก

วันที่ 13 ธันวาคม ปี 2565 ทาง Stark ประกาศไม่นำเงินที่ได้ไปลงทุนหุ้นของบริษัท LEONI Kable โดยให้เหตุผลว่ามีการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยทางลบเกิดขึ้นและกระทบกับสถานะทางการเงินของบริษัท LEONI โดย ณ ขณะนั้นทาง Stark ก็ยังไม่สามารถชี้แจงกับนักลงทุนได้ว่า แล้วจะนำเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนไปทำอะไรต่อ

ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2566 Stark บริษัทแจ้งว่าจะนำเงินที่ได้จากการออกหุ้นกู้ไปใช้หนี้เงินกู้ธนาคารและเก็บไว้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในบริษัท ทั้งยังแจ้งขอส่งงบการเงินล่าช้า ส่งผลให้ใน วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ห้ามซื้อขายเป็นการชั่วคราว เหตุมาจากการไม่ส่งงบการเงิน

วันที่ 19 เมษายน 2566 กรรมการบริษัทได้ลาออกพร้อมกัน 7 คน[2]

ณ วันที่ 3 มิถุนายน 2566 จำนวนหุ้นจดทะเบียนของ Stark อยู่ที่ 13,406,404,956 ณ ราคาซื้อขายที่ 0.22 และเคยลงไปทำราคาต่ำสุดอยู่ที่ 0.14 บาท หรือคิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 1,876,896,693 บาท หุ้นของบริษัทนี้เคยราคาสูงถึง 5.75 บาทในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2562 มูลค่าของบริษัท ณ ตอนนั้น คือ 77,086,828,497 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับว่าภายใน 4 ปี 5 เดือน มูลค่าของบริษัทรวมลดลงถึง 75,209,931,804 ล้าน บาท[3]

ความสำคัญของคดี[แก้]

คดีนี้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เนื่องจาก บริษัท เคยอยู่ในการจัดอันดับ SET100 มาก่อน[4] เมื่อราคาหุ้นลดลงส่งผลให้นักลงทุนจำนวนหนึ่งขาดทุนจำนวนมาก [5]และถือว่าเป็นคดีที่หน่วยงานตรวจสอบนั้นปล่อยปะละเลยให้มีการตกแต่งตัวเลขทางบัญชี ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของนักลงทุนทั้งคนไทยและต่างประเทศ

วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ [6]ตั้งโต๊ะแถลงพร้อมหน่วยงานตรวจสอบอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศไทย หน่วยงานที่ร่วมแถลงอาทิ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการไทย สภาวิชาชีพการบัญชีในพระบรมราชูปถัมถ์ ชมรมวาณิชธนกิจ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด

อ้างอิง[แก้]

แม่แบบ:โครงธุรกิจ