กบแอฟริกันบูลฟร็อก
กบแอฟริกันบูลฟร็อก | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Amphibia |
อันดับ: | Anura |
วงศ์: | Ranidae |
สกุล: | Pyxicephalus |
สปีชีส์: | P. adspersus |
ชื่อทวินาม | |
Pyxicephalus adspersus (Tschudi, 1838) |
กบแอฟริกันบูลฟร็อก (อังกฤษ: African bullfrog; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pyxicephalus adspersus) เป็นกบชนิดที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ลำตัวมีสีน้ำตาลปนเขียว จุดสีน้ำตาล บริเวณส่วนหัวสีเขียวเคลือบน้ำตาล ขาทั้งสี่มีลายน้ำตาลดำ ขาหลังมีลายขวาง ลำตัวอ้วนข้างท้องมีลายน้ำตาลใต้ท้องเป็นสีขาว ผิวหนังส่วนใหญ่เรียบจะมีบ้างเป็นบางส่วนที่ขรุขระ มีถิ่นกำเนิดที่ทวีปแอฟริกาแถบแอฟริกากลางจนถึงแอฟริกาใต้
ความแตกต่างระหว่างตัวผู้กับตัวเมีย นอกจากอวัยวะเพศแล้วตัวผู้จะมีวงแก้วหูใหญ่กว่าตาและอยู่ทางด้านหลัง ลำตัวจะมีสีเข้มบริเวณใต้คางซึ่งมีสีจะเหลืองปนเขียวอย่างชัดเจนบริเวณใต้คางจะเป็นสีเหลือง แต่เพศเมียผิวหนังจะสดใสกว่าและมีวงแก้วหูเล็กกว่าตา
กบแอฟริกันบูลฟร็อกเมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดยาวประมาณ 8-10 นิ้ว พร้อมผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 12-18 เดือน ตัวผู้จะส่งเสียงร้องคล้ายวัวเพื่อหาคู่ จึงเป็นที่มาของชื่อ (บูลฟร็อก = กบวัว) หากตัวเมียที่มีความพร้อมบริเวณเอวจะพองโต ท้องอูมเมื่อพลิกด้านท้องขึ้นจะไม่เห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนัง เมื่อไข่ถูกผสมน้ำเชื้อแล้วจะฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 3 วัน เมื่อฟักเป็นลูกอ๊อดแล้ว ตัวผู้จะเป็นผู้ดูแล เมื่อแหล่งน้ำที่ลูกอ๊อดอาศัยอยู่นั้นเหือดแห้งลง กบแอฟริกันบูลฟร็อกตัวผู้จะใช้ขาหลังขุดดินเพื่อให้แหล่งน้ำที่ลูกอ๊อดอยู่นั้นเชื่อมต่อกับแหล่งน้ำที่ใหญ่กว่า เพื่อให้ลูกอ๊อดอยู่รอดต่อไป[2]
กบแอฟริกันบูลฟร็อก ได้กลายเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์แปลก ๆ เช่น สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ โดยเฉพาะวัยรุ่น โดยมีราคาขายประมาณ 1,500-2,000 บาทต่อตัว ด้วยความที่ใหญ่ในรูปร่างที่ใหญ่กว่ากบทั่วไป จึงอาจสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่จะก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต เนื่องจากกินกบหรือเขียดขนาดเล็ก, ลูกปลาและสัตว์ชนิดอื่นเป็นอาหาร[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ IUCN SSC Amphibian Specialist Group (2012). "Pyxicephalus adspersus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 4 May 2014.
- ↑ "ท่องโลกกว้าง: อัศจรรย์กบแสนสวย". ไทยพีบีเอส. 2 January 2014. สืบค้นเมื่อ 2 January 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "บูลฟร็อก..กบยักษ์แอฟริกา รักจะเลี้ยงต้องไตร่ตรองให้ดี." คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 17 December 2007. สืบค้นเมื่อ 29 May 2010.[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pyxicephalus adspersus ที่วิกิสปีชีส์