กบดอยช้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กบดอยช้าง
สถานะการอนุรักษ์

ไม่มีข้อมูล  (IUCN 3.1)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Amphibia
อันดับ: Anura
วงศ์: Dicroglossidae[2]
สกุล: Nanorana
สปีชีส์: N.  aenea
ชื่อทวินาม
Nanorana aenea
(Smith, 1922)
ชื่อพ้อง[3]
  • Rana aenea Smith, 1922
  • Chaparana aenea (Smith, 1922)
  • Rana fansipani Bourret, 1939
  • Chaparana fansipani (Bourret, 1939)
  • Nanorana fansipani (Bourret, 1939)

กบดอยช้าง (อังกฤษ: Doichang frog; ชื่อวิทยาศาสตร์: Nanorana aenea) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดหนึ่ง จำพวกกบ จัดเป็นกบขนาดเล็ก มีความยาวจากปลายจมูกถึงปลายก้น 35–38 มิลลิเมตร หัวกว้างกว่ายาว ปลายจมูกมนกลม สันบนจมูกหักมุมเด่นชัด รูจมูกอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางระหว่างตากับปลายจมูก ระยะระหว่างตาแคบกว่าความกว้างของเปลือกตา แผ่นหูขนาดเล็กกว่าครึ่งหนึ่งของความกว้างของตาและเห็นไม่ชัดเจนนัก นิ้วตีนนิ้วแรกยาวไล่เลี่ยกับนิ้วที่สอง ขาหลังยาวเมื่อเหยียดไปทางด้านหน้า รอยต่อของต้นขากับแข้งอยู่เลยปลายจมูก มีปุ่นที่ฝ่าตีนเพียงปุ่มเดียว ผิวลำตัวเรียบ สันด้านข้างลำตัวเริ่มที่หลังเปลือกตาหลังพาดตลอดความยาวตัวแล้วเข้ามาเชื่อมกับสันอีกด้านหนึ่งตรงเหนือรูทวาร ลำตัวออกสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมดำ สันด้านข้างลำตัวสีขาว มีขลิบสีดำตรงบริเวณหัวและไหล่ ริมฝีปากสีดำมีลายแต้มสีขาว ด้านข้างลำตัวมีจุดสีดำสนิท ขาทั้ง 4 ข้างมีลายพาดขวางสีดำ ใต้ท้องออกสีเหลือง ใต้คางมีลายกระละเอียดสีดำ มีจุดสีดำกระจายห่าง ๆ กันใต้ท้องและใต้ขา

กบดอยช้าง ถูกค้นพบครั้งแรกที่ดอยช้าง ตรงรอยต่อระหว่างจังหวัดเชียงใหม่กับเชียงราย เมื่อปี ค.ศ. 1922 ในระดับความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล ต่อมาได้มีการค้นพบอีกที่ดอยอินทนนท์ จึงจัดเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น[4] แต่ต่อมาได้มีการค้นพบอีกที่ดอยฟานซีปัง ในประเทศเวียดนาม และ เขตอนุรักษ์ธรรมชาติหวงเหลียนชาน มณฑลยูนนาน ประเทศจีน [2][5]ในประเทศไทยจัดว่าเป็นสัตว์น้ำคุ้มครองโดยกรมประมง

อ้างอิง[แก้]

  1. van Dijk, P.P. & Chan-ard, T. (2004). "Nanorana aenea". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 15 September 2012.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 Frost, Darrel R. (2014). "Nanorana aenea (Smith, 1922)". Amphibian Species of the World: an Online Reference. Version 6.0. American Museum of Natural History. สืบค้นเมื่อ 10 June 2014.
  3. "Nanorana aenea". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ January 3, 2015.
  4. คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๒. สัตว์ถิ่นเดียวของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2542. 109 หน้า. หน้า 64. ISBN 974-7772-39-6
  5. doi:10.1080/00222930400023735
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Nanorana aenea ที่วิกิสปีชีส์