ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เบาหวาน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Liger (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''เบาหวาน''' เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิต[[ฮอร์โมน]][[อินซูลิน]]ไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับ[[น้ำตาล]]ใน[[กระแสเลือด]]สูงเกิน โรคนี้มีความรุนแรงสืบเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ในผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
'''เบาหวาน''' เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิต[[ฮอร์โมน]][[อินซูลิน]]ไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับ[[น้ำตาล]]ใน[[กระแสเลือด]]สูงเกิน โรคนี้มีความรุนแรงสืบเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ในผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้


ปี 2550 พบผู้ป่วยเบาหวานแล้วถึง 246 ล้านคน โดยผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลก 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย <ref>http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=145850&NewsType=1&Template=1</ref>
== ชนิดและสาเหตุ ==
== ชนิดและสาเหตุ ==
เบาหวาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
เบาหวาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
บรรทัด 34: บรรทัด 35:
== การรักษา ==
== การรักษา ==
{{โครง-ส่วน}}
{{โครง-ส่วน}}

== อ้างอิง ==
<references />


[[หมวดหมู่:โรคทางพันธุกรรม|บเาหวาน]]
[[หมวดหมู่:โรคทางพันธุกรรม|บเาหวาน]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:49, 12 พฤศจิกายน 2550

เบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคนี้มีความรุนแรงสืบเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ในผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

ปี 2550 พบผู้ป่วยเบาหวานแล้วถึง 246 ล้านคน โดยผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลก 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย [1]

ชนิดและสาเหตุ

เบาหวาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ ซึ่งสร้างอินซูลินในส่วนของตับอ่อนทำให้ร่างกายหยุดสร้างอินซูลิน ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวกับพันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักตัวมาก และขาดการออกกำลังกาย ทั้งวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยยังคงมีสร้างอินซูลินแต่ทำงานไม่เป็นปกติ เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว และต้องการยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด

อาการ

ถ้าหากพบอาการดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์

  • ปัสสาวะมากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น
  • ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น (ระหว่างช่วงเวลาที่เข้านอนแล้วจนถึงเวลาตื่นนอน)
  • หิวน้ำบ่อยและดื่มน้ำในปริมาณที่มากๆ
  • เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง
  • น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน
  • ติดเชื้อบ่อยกว่าปกติ เช่น ติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร
  • สายตาพร่ามองเห็นไม่ชัดเจน
  • เป็นแผลหายช้า

โดย เบาหวานชนิดที่ 2 อาจจะมีอาการเหล่านี้บางอย่าง หรืออาจไม่มีอาการเหล่านี้เลย

อาการแทรกซ้อน

  • ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา (Diabetic retinopathy)
  • ภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic nephropathy)
  • ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy)
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary vascular disease)
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease)
  • โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral vascular disease)
  • แผลเรื้อรังจากเบาหวาน (Diabetic ulcer)

การดูแลป้องกันโรคเบาหวาน

  • ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ การรักษาจำเป็นจะต้องทำงานร่วมกันระหว่างผู้ป่วย แพทย์ ผู้ให้คำแนะนำเรื่องโรคเบาหวาน โภชนาการและยา การรักษานี้จะช่วยให้เกิดความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย และการใช้ยารักษา
  • ควรเจาะระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ ให้ปรึกษาแพทย์ว่าควรเจาะช่วงใด และบ่อยแค่ไหนถึงจะดีที่สุด
  • ยาบางชนิดหรือยาสมุนไพรอาจมีผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด จะต้องตรวจสอบกับแพทย์และเภสัชกรก่อนเลือกผลิตภัณฑ์ยาเหล่านี้

การรักษา

อ้างอิง

  1. http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=145850&NewsType=1&Template=1