ข้ามไปเนื้อหา

ระบบไหลเวียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กระแสเลือด)
ระบบไหลเวียน
ระบบไหลเวียนของมนุษย์ (อย่างง่าย) สีแดงแสดงเลือดที่มีออกซิเจนสูง สีน้ำเงินแสดงเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ (ไม่ได้แสดงเครือข่ายหลอดเลือดฝอย และระบบน้ำเหลืองทั้งหมด)
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินsystema cardiovasculare
MeSHD002319
TA98A12.0.00.000
TA23891
FMA7161
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ระบบไหลเวียน หรือ ระบบหัวใจหลอดเลือด เป็นระบบอวัยวะซึ่งให้เลือดไหลเวียนและขนส่งสารอาหาร (เช่น กรดอะมิโนและอิเล็กโทรไลต์) ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ฮอร์โมน และเม็ดเลือดเข้าและออกเซลล์ในร่างกายเพื่อหล่อเลี้ยงและช่วยต่อสู้โรค รักษาอุณหภูมิและ pH ของร่างกาย และรักษาภาวะธำรงดุล

มักมองว่าระบบไหลเวียนประกอบด้วยทั้งระบบหัวใจหลอดเลือด ซึ่งกระจายเลือด และระบบน้ำเหลือง ซึ่งไหลเวียนน้ำเหลือง ทั้งสองเป็นระบบแยกกัน ตัวอย่างเช่น ทางเดินน้ำเหลืองยาวกว่าหลอดเลือดมุดเดี๋ยวโดนๆมาก เลือดเป็นของเหลวอันประกอบด้วยน้ำเลือด เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดซึ่งหัวใจทำหน้าที่ไหลเวียนผ่านระบบหลอดเลือดสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยน้ำออกซิเจนและสารอาหารไปและของเสียกลับจากเนื้อเยื่อกาย น้ำเหลือง คือ น้ำเลือดส่วนเกินที่ถูกกรองจากของเหลวแทรก (interstitial fluid) และกลับเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง ระบบหัวใจหลอดเลือดประกอบด้วยเลือด หัวใจและหลอดเลือด ส่วนระบบน้ำเหลืองประกอบด้วยน้ำเหลือง ปุ่มน้ำเหลืองและหลอดน้ำเหลือง ซึ่งคืนน้ำเลือดที่กรองมาจากของเหลวแทรกในรูปน้ำเหลือง

มนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นมีระบบหัวใจหลอดเลือดแบบปิด คือ เลือดไม่ออกจากเครือข่ายหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดฝอย แต่กลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางกลุ่มมีระบบหัวใจหลอดเลือดแบบเปิด ในทางตรงข้าม ระบบน้ำเหลืองเป็นระบบเปิดซึ่งให้ทางที่จำเป็นแก่ของเหลวระหว่างเซลล์ส่วนเกินกลับเข้าสู่หลอดเลือดได้ ไฟลัมสัตว์ไดโพลบลาสติก (diploblastic) บางไฟลัมไม่มีระบบไหลเวียน

หัวใจของมนุษย์

[แก้]

หัวใจทำหน้าที่สูบเลือดไปทั่วร่างกาย หัวใจของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ซีกคือ atrium 2 ห้องที่อยู่ข้างบนและ ventricle 2 ห้องที่อยู่ด้านล่าง right Atrium คือ ห้องขวาบน ทำหน้าที่รับเลือดที่มีออกซิเจนน้อยจากเส้นเลือด Superior venacava (มาจากส่วนบนของร่างกาย) และ Inferior venacava (มาจากส่วนล่างของร่างกาย) แล้วส่งต่อไปยัง หัวใจห้องขวาล่างหรือ right Ventricle ผ่านลิ้นหัวใจ Tricuspid valve ซึ่งห้องนี้จะส่งเลือดที่มี poor oxygen ไปยังปอดโดยการใช้เส้นเลือด Pulmonary Artery โดยผ่านลิ้นเซมิลูนาร์ (ลิ้นกั้นระหว่างหลอดเลือดพัลโมนารีอาร์เตอรีกับเวนตริเคิลขวา) หลังจากนั้น left Atrium หรือ หัวใจห้องซ้ายบนที่เราเห็นจะรับเลือดที่มีออกซิเจนมาจากปอดผ่านทางเส้นเลือด Pulmonary Vein แล้วส่งต่อไปยัง left Ventricle คือหัวใจห้องซ้ายล่าง ผ่านลิ้นหัวใจชื่อ Bicuspid valve หรือ Mitral valve ที่จะสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกาย โดยต่อกับเอออร์ตา

ระบบไหลเวียนเลือดแบบเปิด

[แก้]

ระบบการไหลเวียนแบบเปิด (opened circulatory system) พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังโดยเฉพาะไฟลัมอาร์โทรโพดา และไฟลัมมอลลัสกา ระบบนี้เลือดจะไม่ได้อยู่ในเส้นเลือดตลอดเวลา แต่จะออกจากเส้นเลือดเข้าสู่ช่องว่างภายในลำตัวที่เรียกว่าฮีโมซีล (hemocoel) อาจมีหัวใจหนึ่งดวงหรือมากกว่า ทิศทางการไหลของเลือดเริ่มจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดเข้าสู่ฮีโมซีล เนื้อเยื่อและเซลล์จะได้รับอาหารและก๊าซจากเลือดที่อยู่ในช่องว่างนี้ เมื่อหัวใจคลายตัว เลือดส่วนหนึ่งจะไหลจากฮีโมซีลเข้าเส้นเลือดกลับหัวใจ

ระบบไหลเวียนเลือดแบบปิด

[แก้]

สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทุกชนิดมีระบบไหลเวียนแบบนี้ นอกจากนี้ ไส้เดือนดินและหมึกก็ยังมีระบบไหลเวียนแบบนี้อีกด้วย ระบบนี้ เลือดจะไม่ไหลออกไปนอกหลอดเลือด ซึ่งประกอบไปด้วยหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดฝอย ระบบไหลเวียนในปลาเป็นระบบไหลเวียนที่มีทิศทางเดียว คือหัวใจสูบฉีดเลือดไปที่เส้นเลือดฝอยที่เหงือก หัวใจปลามีสองห้องและการไหลเวียนของเลือดมีทิศทางเดียวสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานมีระบบนี้เช่นกัน แต่หัวใจของสัตว์สองชนิดนี้ทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยที่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มีหัวใจ 3 ห้องส่วนนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีการแบ่งอย่างชัดเจนระหว่างเลือดแดงกับเลือดดำ โดยแบ่งหัวใจออกเป็น 4 ห้อง หัวใจเต้น 72 ครั้งต่อนาที