ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของสหรัฐ (ค.ศ. 1917)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Applezapotis (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: File:President Woodrow Wilson asking Congress to declare war on Germany, 2 April 1917.jpg|thumb|300px|right|ประธานาธิบดี[[วูดโรว์...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:02, 9 พฤศจิกายน 2557

ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน กล่าวเสนอให้สภาคองเกรสประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2460

ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2460 รัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาประกาศสงครามต่อจักรวรรดิเยอรมัน อันเป็นผลจากการลงมติของที่ประชุมร่วมระหว่างสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาวาระพิเศษในวันที่ 2 เมษายน ตามญัตติที่เสนอโดยประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน

คำประกาศ

ภาษาอังกฤษ :

WHEREAS, The Imperial German Government has committed repeated acts of war against the Government and the people of the United States of America; therefore, be it resolved by the Senate and House of Representatives of the United States of America in Congress assembled, That the state of war between the United States and the Imperial German Government, which has thus been thrust upon the United States, is hereby formally declared; and that the President be, and he is hereby, authorized and directed to employ the entire naval and military forces of the United States and the resources of the Government to carry on war against the Imperial German Government; and to bring the conflict to a successful termination all the resources of the country are hereby pledged by the Congress of the United States.

[1]

คำแปล :

ด้วยเหตุที่รัฐบาลแห่งจักรวรรดิเยอรมันได้แสดงการกระทำแห่งสงครามต่อรัฐบาลและประชาชนแห่งสหรัฐอเมริกาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ดังนั้นจึงควรให้เหตุดังกล่าวถูกคลี่คลายโดยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา ณ ที่ประชุมรัฐสภา ว่าภาวะแห่งสงครามระหว่างระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งผลักดันโดยสหรัฐอเมริกา ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการ ณ ที่แห่งนี้แล้ว และว่าประธานาธิบดี ซึ่งได้ร่วมอยู่ ณ ที่แห่งนี้ ได้ถูกมอบหมายและกำกับให้ใช้สอยกองกำลังนาวิกโยธินและกองกำลังกลาโหมทั้งหมดทั้งมวลของสหรัฐอเมริกา และทรัพยากรของรัฐบาล เพื่อดำเนินศึกสงครามต่อรัฐบาลจักรวรรดิเยอรมัน และให้นำพาความขัดแย้งในครั้งนี้ไปสู่จุดสิ้นสุดอันประสบความสำเร็จ ทรัพยากรทั้งหมดทั้งมวลของประเทศจึงถูกประกันไว้ ณ ที่แห่งนี้โดยรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา

การลงคะแนน

ในการลงคะแนนของวุฒิสภา ญัตติถูกผ่านด้วยคะแนนเสียง 82 ต่อ 6 เสียง โดยผู้ลงคะแนนคัดค้านได้แก่

  • เอเซิล เจ. โกรนนา (Asle J. Gronna)
  • โรเบิร์ต เอ็ม. ลาฟอลเลตต์ (Robert M. LaFollette)
  • แฮร์รี เลน (Harry Lane)
  • จอร์จ ดับเบิลยู. นอร์ริส (George W. Norris)
  • วิลเลียม เจ. สโตน (William J. Stone)
  • เจมส์ เค. วาร์ดาแมน (James K. Vardaman)

วุฒิสมาชิกจำนวน 8 คนที่ไม่ได้ออกคะแนนเสียงได้แก่

  • จอห์น เอช. แบงค์เฮด (John H. Bankhead)
  • เนธาน กอฟฟ์ (Nathan Goff)
  • โธมัส พี. กอร์ (Thomas P. Gore)
  • เฮนรี เอฟ. ฮอลลิส (Henry F. Hollis)
  • ฟรานซิส จี. นิวแลนด์ส (Francis G. Newlands)
  • จอห์น วอลเตอร์ สมิธ (John Walter Smith)
  • ชาลส์ เอส. โธมัส (Charles S. Thomas)
  • เบนจามิน อาร์. ทิลแมน (Benjamin R. Tillman)

ส่วนในการลงคะแนนของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา ญัตติถูกผ่านด้วยคะแนน 373 ต่อ 50 เสียง โดยมี 9 เสียงไม่ได้ลงคะแนน และเสียงคัดค้านมาจากฝ่ายรีพับลิกัน 32 เสียง จากฝ่ายเดโมแครต 16 เสียง จากฝ่ายนิยมการงดสุรา (Prohibitionist) ชาลส์ เอช. แรนดัล (Charles H. Randall) 1 เสียง และจากฝ่ายสังคมนิยม เมเยอร์ ลอนดอน (Meyer London) 1 เสียง

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

http://www.senate.gov/pagelayout/history/h_multi_sections_and_teasers/WarDeclarationsbyCongress.htm

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Map of Europe at the time of the US declaration of war at omniatlas.com