กระดูกแคปปิเตต
กระดูกแคปปิเตต (Capitate bone) | |
---|---|
กระดูกข้อมือ แถวต้น: A=สแคฟฟอยด์, B=ลูเนท, C=ไตรกีตรัล, D=พิสิฟอร์ม แถวปลาย: E=ทราพีเซียม, F=ทราพีซอยด์, G=แคปปิเตต, H=ฮาเมต | |
กระดูกแคปปิเตตจากข้อมือซ้าย | |
รายละเอียด | |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | os capitatum; os magnum |
MeSH | D051224 |
TA98 | A02.4.08.011 |
TA2 | 1258 |
FMA | 23727 |
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก |
กระดูกแคปปิเตต (อังกฤษ: Capitate bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือของมนุษย์ กระดูกนี้นับว่าเป็นกระดูกข้อมือที่ใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่ตรงกลางของข้อมือ ส่วนบนมีลักษณะเป็นหัวกระดูกกลม ซึ่งรับกับส่วนของกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกลูเนท (lunate) และถัดลงมาเป็นส่วนคอดเรียกว่า คอกระดูก และด้านล่างเป็นตัวกระดูก
รากศัพท์ของชื่อกระดูก มาจากภาษาละติน capitātus แปลว่า มีหัว มาจาก capit- แปลว่า หัว
พื้นผิว
[แก้]พื้นผิวด้านบน (superior surface) กลมและเรียบ เป็นข้อต่อกับกระดูกลูเนท (lunate bone)
พื้นผิวด้านล่าง (inferior surface) แบ่งออกเป็น 3 หน้าประกบโดยสัน 2 สัน เกิดเป็นพื้นผิวสำหรับข้อต่อกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2, 3 และ 4 โดยพื้นผิวสำหรับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 ใหญ่ที่สุด
พื้นผิวด้านหลัง (dorsal surface) กว้างและขรุขระ
พื้นผิวด้านฝ่ามือ (volar surface) มีลักษณะแคบ กลม และขรุขระ ซึ่งเป็นจุดเกาะของเอ็นต่างๆ และส่วนของกล้ามเนื้อแอดดักเตอร์ พอลิซิส (Adductor pollicis muscle)
พื้นผิวด้านข้าง (lateral surface) เกิดเป็นข้อต่อกับกระดูกทราพีซอยด์ (trapezoid) โดยหน้าประกบเล็กๆ ที่มุมด้านหน้าและด้านล่าง ส่วนด้านหลังซึ่งเป็นรอยเว้าขรุขระเป็นจุดเกาะของเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous ligament) เหนือขึ้นไปเป็นร่องลึกและขรุขระ ซึ่งสร้างเป็นส่วนของคอกระดูก ให้เป็นจุดเกาะของเอ็นต่างๆ ซึ่งขอบบนของร่องเป็นพื้นผิวนูนและเรียบสำหรับเกิดเป็นข้อต่อกับกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid)
พื้นผิวด้านใกล้กลาง (medial surface) เกิดเป็นข้อต่อกับกระดูกฮาเมต (hamate) โดยหน้าประกบเว้า เรียบ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กินเนื้อที่ส่วนด้านหลังและด้านบน ส่วนทางด้านหน้าขรุขระเป็นจุดเกาะของเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous ligament)
ข้อต่อ
[แก้]กระดูกแคปปิเตตเกิดข้อต่อกับกระดูก 7 ชิ้น ได้แก่ ด้านต้นกับกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกลูเนท (lunate) , ด้านปลายกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2, ชิ้นที่ 3, และชิ้นที่ 4, ด้านเรเดียล (นิ้วหัวแม่มือ) กับกระดูกทราพีซอยด์ (lesser multangular) และด้านอัลนา (นิ้วก้อย) กับกระดูกฮาเมต (hamate)
ภาพอื่นๆ
[แก้]-
พื้นผิวด้านฝ่ามือของกระดูกแคปปิเตตของข้อมือข้างซ้าย
-
พื้นผิวด้านหลังของกระดูกแคปปิเตตของข้อมือข้างซ้าย
-
กระดูกของมือซ้าย มองจากด้านฝ่ามือ
-
กระดูกของมือซ้าย มองจากด้านหลังมือ
-
ภาคตัดขวางผ่านข้อมือและนิ้วมือ