ส่วนปลายของกระดูกเรเดียส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนปลายของกระดูกเรเดียส
(Distal radius)
ภาพวาดกระดูกเรเดียสและกระดูกอัลนาข้างขวา ด้านบนเป็นส่วนต้น (ข้อศอก) และด้านล่างเป็นส่วนปลาย (ข้อมือ)
ตัวระบุ
FMA33776
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก

ส่วนปลายของกระดูกเรเดียส (อังกฤษ: distal end of the radius) เป็นส่วนของกระดูกเรเดียสที่มีขนาดใหญ่และมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู

พื้นผิวข้อต่อ[แก้]

ส่วนปลายของกระดูกเรเดียสมีพื้นผิวที่เป็นข้อต่อกับกระดูกอื่นอยู่ 2 ด้าน ด้านหนึ่งอยู่ข้างใต้เป็นข้อต่อกับกระดูกข้อมือ (carpus) และอีกด้านหนึ่งอยู่ด้านใกล้กลาง (medial) เป็นข้อต่อกับกระดูกอัลนา

  • พื้นผิวข้อต่อกับกระดูกข้อมือ เป็นรูปสามเหลี่ยม เว้า เรียบ และแบ่งออกเป็น 2 ส่วนโดยสันตื้นๆ ในแนวหน้าหลัง ได้แก่ส่วนด้านข้างเป็นรูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นข้อต่อกับกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid bone) และส่วนด้านใกล้กลางเป็นรูปสี่เหลี่ยมเป็นข้อต่อกับกระดูกลูเนท (lunate bone)
  • พื้นผิวข้อต่อกับกระดูกอัลนา เรียกว่า รอยเว้าอัลนา (ulnar notch) หรือ แอ่งซิกมอยด์ (sigmoid cavity) ของกระดูกเรเดียส มีลักษณะแคบ เว้า เรียบ และเป็นข้อต่อกับหัวกระดูกอัลนา

พื้นผิวข้อต่อทั้งสองถูกแบ่งโดยสันนูน ซึ่งเป็นที่ยึดเกาะของฐานของแผ่นข้อต่อรูปสามเหลี่ยม แผ่นดังกล่าวแบ่งระหว่างข้อมือกับข้อต่อเรดิโออัลนาส่วนปลาย (distal radioulnar articulation)

พื้นผิวที่ไม่เป็นข้อต่อ[แก้]

ส่วนปลายของกระดูกนี้ประกอบด้วยพื้นผิวที่ไม่ใช่ข้อต่อ 3 พื้นผิว ได้แก่

ภาพอื่นๆ[แก้]