พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์
ไฟล์:เจ้าฟ้าอิศราพงษ์.jpg
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น 3
ประสูติ23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2363
สิ้นพระชนม์29 ตุลาคม พ.ศ. 2404 (40 ปี)
พระบุตร26 องค์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
พระมารดาพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ เกวลวงษวิสุทธิ์ สุรสีหุตมศักดิ์ อภิลักษณ์ปวโรภยชาติ บริสัษยนารถนราธิบดี (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2363 — 29 ตุลาคม พ.ศ. 2404) เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กับพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี พระองค์เป็นเจ้าฟ้าวังหน้าพระองค์ที่สองต่อจากสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าพิกุลทอง กรมขุนศรีสุนทร และเป็นเจ้าฟ้าวังหน้าพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์จักรี

พระราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2404 สิริพระชนมายุ 40 พรรษา

พระประวัติ

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2363 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 12 ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กับพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี เมื่อแรกประสูติมีฐานันดรศักดิ์เป็น พระองค์เจ้า ครั้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระองค์เจ้าอิศราพงศ์ขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงษ์ เกวลวงษวิสุทธิ์ สุรสีหุตมศักดิ์ อภิลักษณ์ปวโรภยชาติ บริสัษยนารถนราธิบดี[1] เมื่อปี พ.ศ. 2394 ถือเป็นเจ้าฟ้าวังหน้าพระองค์ที่สองต่อจากสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าพิกุลทอง กรมขุนศรีสุนทร ซึ่งเจ้าฟ้าอิศราพงศ์เป็นเจ้าฟ้าวังหน้าพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์จักรี[2]

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2404 พระชันษา 40 ปี[3] พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุผ้าขาว วัดอรุณราชวราราม วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404[4] เป็นต้นราชสกุล อิศรศักดิ์ ณ อยุธยา

พระโอรสธิดา

มีพระโอรสธิดารวม 26 องค์ มีรายพระนามดังต่อไปนี้

  1. หม่อมเจ้าหญิงตะเภา อิศรศักดิ์
  2. หม่อมเจ้าหญิงจ้อย อิศรศักดิ์
  3. หม่อมเจ้าหญิงแดง อิศรศักดิ์
  4. หม่อมเจ้าหญิงจริต อิศรศักดิ์
  5. หม่อมเจ้าชายกบ อิศรศักดิ์ (สิ้นชีพิตักษัย 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2443)[5]
  6. หม่อมเจ้าหญิงอึ่ง อิศรศักดิ์
  7. หม่อมเจ้าหญิงดำ อิศรศักดิ์
  8. หม่อมเจ้าหญิงปุก อิศรศักดิ์ เป็นพระชายาพระบาทสมเด็จพระนโรดม ได้รับสถาปนาเป็นที่ พระองค์เจ้าอรรคนารี
  9. หม่อมเจ้าหญิงนกกระจาบ อิศรศักดิ์
  10. หม่อมเจ้าหญิงเล็ก อิศรศักดิ์
  11. หม่อมเจ้าชายทั่ง อิศรศักดิ์
  12. หม่อมเจ้าชายถึก อิศรศักดิ์
  13. หม่อมเจ้าชายเขม อิศรศักดิ์
  1. หม่อมเจ้าชายพุก อิศรศักดิ์
  2. หม่อมเจ้าชายหอบ อิศรศักดิ์
  3. หม่อมเจ้าชายตุ้ย อิศรศักดิ์
  4. หม่อมเจ้าชายเปียก อิศรศักดิ์
  5. หม่อมเจ้าหญิงปนปรุง อิศรศักดิ์
  6. หม่อมเจ้าชายโศภณ อิศรศักดิ์
  7. หม่อมเจ้าหญิงกาษร อิศรศักดิ์
  8. หม่อมเจ้าชายราเชนทร์ อิศรศักดิ์
  9. หม่อมเจ้าชายบันลังก์ อิศรศักดิ์
  10. หม่อมเจ้าชายต่อม อิศรศักดิ์
  11. หม่อมเจ้าหญิงเลื่อน อิศรศักดิ์[6]
  12. หม่อมเจ้าหญิงเจียน อิศรศักดิ์
  13. หม่อมเจ้าหญิงแฉ่ง อิศรศักดิ์

พระอิสริยยศ

  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศราพงศ์ (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2363 — พ.ศ. 2367)
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศราพงศ์ (พ.ศ. 2367 — พ.ศ. 2394)[7][8]
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ (พ.ศ. 2394 — พ.ศ. 2404)
  • พระเจ้าบวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ (พระนามหลังการสิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 5)
  • พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ (พระนามหลังการสิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 6)

อ้างอิง

  1. จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงษานุวงษ์ฯ, หน้า 123
  2. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 226.
  3. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ กรมศิลปากร ราชสกุลวงศ์ พิมพ์ครั้งที่ 4; กรุงเทพฯ, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์: 2554
  4. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4, หน้า 220.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 เล่ม 17 หน้า 46
  6. "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1 (49): 435. 22 ธันวาคม พ.ศ. 2427. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. ราชบัณฑิตยสถาน. พระเจ้าวรวงศ์เธอ (ตอนที่ ๑) (๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒). เรียกดูเมื่อ 13 เมษายน 2556
  8. กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ:สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. 2554, หน้า 229