แม็ทธิว แพริส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Matthew Paris)
แม็ทธิว แพริส
Matthew Paris
ภาพเหมือนตนเองของแม็ทธิว แพริส
จากหนังสือต้นฉบับ “Historia Anglorum
เกิดค.ศ. 1200
เสียชีวิตค.ศ. 1259
สัญชาติชาวอังกฤษ
อาชีพนักบันทึกประวัติศาสตร์
ยุคสมัยยุคกลาง
ผลงานเด่นChronica Majora
The Life of King Edward the Confessor
ตำแหน่งนักบวช/นักบันทึกพงศาวดาร
นักบันทึกประวัติศาสตร์

แม็ทธิว แพริส (อังกฤษ: Matthew Paris) (ราว ค.ศ. 1200 - ค.ศ. 1259) แม็ทธิว แพริสเป็นนักบวชเบ็นนาดิคติน นักบันทึกพงศาวดาร (Chronicler) ของยุคกลาง จิตรกรหนังสือวิจิตร นักเขียนแผนที่ชาวอังกฤษผู้จำวัดอยู่ที่สำนักสงฆ์เซนต์อัลบันในฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษ แม็ทธิวเขียนงานหลายชิ้น ส่วนใหญ่เป็นงานเชิงประวัติศาสตร์ที่แม็ทธิวคัด (scribe) และวาดภาพวิจิตร (illuminate) ประกอบด้วยตนเอง งานส่วนใหญ่จะวาดบางส่วนด้วยสีน้ำที่บางครั้งก็เรียกว่า “tinted drawings” งานเขียนบางชิ้นก็เขียนเป็นภาษาละติน, บางชิ้นก็เป็นภาษาอังกฤษ-นอร์มัน หรือภาษาฝรั่งเศสสมัยกลาง บันทึกประวัติศาสตร์ “Chronica Majora” ที่แม็ทธิวเขียนเป็นหนังสือที่ได้รับการใช้ในการอ้างอิงบ่อยครั้ง แม้ว่านักประวัติศาสตร์สมัยใหม่จะทราบว่าเป็นงานเขียนที่ไม่ค่อยน่าเชื่อถือเท่าใดนักก็ตาม แม็ทธิวมักจะสรรเสริญสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อย่างเลิศลอย และจะหนักไปในทางประณามพระสันตะปาปา[1]

ชีวิตและงาน[แก้]

แม้ว่ามีนามสกุลว่าปารีสและมีความรู้ภาษาฝรั่งเศสแต่แม็ทธิวเป็นชาวอังกฤษโดยกำเนิด แต่อาจจะได้รับการศึกษาในกรุงปารีสเมื่อยังหนุ่มหลังจากการศึกษาขั้นต้นที่เซนต์อัลบัน ลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับแม็ทธิวที่พบเป็นครั้งแรกมาจากงานเขียนของแม็ทธิวเองที่ว่าได้รับการรับเข้าเป็นนักบวชที่สำนักสงฆ์เซนต์อัลบันในปี ค.ศ. 1217 ที่ทำให้สันนิษฐานว่าคงจะมีอายุก่อนยี่สิบปี นักวิชาการบางท่านมีความเห็นว่าแม็ทธิวอาจจะมีอายุสิบปีแก่กว่าที่ประมาณกัน เพราะผู้เข้าเป็นนักบวชในยุคนั้นมักจะมีอาชีพอื่นมาก่อนที่จะหันเข้าไปใช้ชีวิตในสำนักสงฆ์ นอกจากนั้นก็ดูเหมือนว่าจะเป็นผู้ที่ไม่มีปัญหาในการติดต่อกับขุนนางหรือเจ้านายซึ่งทำให้สันนิษฐานได้ว่าอาจจะมาจากตระกูลที่มีตำแหน่งฐานะอยู่บ้าง แม็ทธิวดำรงชีวิตส่วนใหญ่ในสำนักสงฆ์ แต่ในปี ค.ศ. 1248 ก็ได้เดินทางไปนอร์เวย์ในฐานะผู้ถือพระราชสาส์นจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสไปถวายพระเจ้าฮาคอนที่ 4 แห่งนอร์เวย์ และเป็นที่โปรดปรานของราชสำนักนอร์เวย์จนได้รับการเชิญให้ไปดูแลการปฏิรูปสำนักสงฆ์เบ็นนาดิคตินนิดาร์โฮล์ม นอก Trondheim

นอกจากกิจการทำนองที่ว่านี้แล้วเท่าที่ทราบแม็ทธิวก็อุทิศตนเองในการเขียนงานประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นกิจการที่นักบวชของสำนักสงฆ์เซนต์อัลบันมีชื่อเสียง หลักจากการรับศีลบวชในปี ค.ศ. 1217 แล้วแม็ทธิวก็ได้รับหน้าที่เป็นนักบันทึกประวัติศาสตร์ประจำสำนักสงฆ์ผู้มีหน้าที่บันทึกเหตุการณ์ต่างของสำนักสงฆ์ต่อจากโรเจอร์แห่งเวนโดเวอร์ในปี ค.ศ. 1236 แม็ทธิวทำการแก้ไขงานเขียนของโรเจอร์และของเจ้าอาวาสจอห์นแห่งวอลลิงฟอร์ด (John of Wallingford) หรือ จอห์น เดอ เซลลา โดยเพิ่มเติมเนื้อหาเพื่อให้รวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยของตนเองด้วย บันทึกประวัติศาสตร์ “Chronica Majora” เป็นงานเขียนทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญโดยเฉพาะสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1235 จนถึง ค.ศ. 1259 และสิ่งที่น่าสนใจพอๆ กันเนื้อหาคือภาพที่แม็ทธิวเขียนประกอบ

ลักษณะอุปนิสัย หรือความเกี่ยวพันกับงานเขียน หรือการใช้งานเขียนของแม็ทธิวแสดงให้เห็นได้ในโน้ตที่เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสกำกับบันทึก “Life of Saint Alban” และอื่นฉบับที่รักษาไว้ที่หอสมุดของวิทยาลัยทรินิทีในดับลิน ที่เขียนระหว่างราวปี ค.ศ. 1230 ถึง ปี ค.ศ. 1250:

  • “ถ้าท่านทำได้ก็ช่วยเก็บหนังสือเล่มนี้ไว้ให้จนถึงอีสเตอร์”
  • “จี ช่วยไปหาเลดี้เคานเทสอรันเดล, อิซาเบล และไปแจ้งว่าให้ส่งหนังสือเกี่ยวกับนักบุญทอมัส เบ็คเค็ท (Thomas Becket) และ นักบุญเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพที่ข้าก็อปปี (แปล?) และเขียนภาพประกอบ ที่เลดี้เคานเทสแห่งคอร์นวอลล์เก็บไว้ได้จนถึงวันเซนต์วิทซัน”
  • ...ข้อเขียน...
  • “ในหนังสือของเคานเทสแห่งวินเชสเตอร์ เพิ่มภาพสองภาพบนแต่ละหน้า” (ข้อเขียนบรรยายนักบุญสิบสามองค์)

จากโน้ตสุดท้ายอาจจะทำให้สรุปได้ว่าแม็ทธิวอาจจะมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของเคานเทสแห่งวินเชสเตอร์ร่วมกับจิตรกรอื่นผู้เขียนภาพประกอบ

การที่สามารถให้งานเขียนยืมแก่สำนักของเจ้านายต่างๆ เป็นเวลาครั้งละหลายอาทิตย์หรือหลายเดือนทำให้อาจจะสันนิษฐานได้ว่าแม็ทธิวคงจะเขียนบันทึกภาพประกอบหลายเวอร์ชัน

งานเขียน[แก้]

  • Life of Saint Alban” และอื่นๆ, ราวระหว่าง ค.ศ. 1230-ค.ศ. 1250 (หอสมุดดับลิน, วิทยาลัยทรินิ, ดับลิน, Ms E.I.40. 77 ff พร้อมด้วยจุลจิตรกรรม 54 ภาพส่วนใหญ่ครึ่งหน้า. 240 x 165 mm.) -
  • Abbreviatio chronicorum” (ไทย: บันทึกประวัติศาสตร์ฉบับย่อ), บันทึกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ระหว่าง ค.ศ. 1067 ถึง ค.ศ. 1253
  • Liber additamentorum” (ไทย: บันทึกเพิ่มเติม), (ห้องสมุดบริติช Cotton MS Nero D I, ff202 ด้วยกันทั้งหมด, ประกอบด้วยแผนที่, “Vitae duorum Offarum” (ไทย: พระราชประวัติของกษัตริย์ออฟฟาสองพระองค์) (ภาพประกอบ) และอื่นๆ)
  • Flores Historiarum” (ห้องสมัดเชทแธม, โรงพยาบาลเชทแธม, แมนเชสเตอร์, MS 6712) -
  • Flores Historiarum” (ห้องสมุดฮันทิงทัน, เบิร์คคลีย์, แคลิฟอร์เนีย, HM 30319[2]) -

อ้างอิง[แก้]

  1. Peter Jackson, Mongols and the West, p. 58
  2. "Digital Scriptorium". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 2009-11-12.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แม็ทธิว แพริส