Extrafusal muscle fiber

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Extrafusal muscle fiber
รายละเอียด
ส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อโครงร่าง
ตัวระบุ
ภาษาละตินmyofibra extrafusalis
THH3.03.00.0.00007
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์
ภาพแสดงกล้ามเนื้อโครงร่างในระดับการขยายต่าง ๆ "muscle fiber" เป็นคำเหมือนกับ "extrafusal muscle fiber"

extrafusal muscle fibers แปลว่า เส้นใยกล้ามเนื้อนอกกระสวย เป็นเส้นใยกล้ามเนื้อโครงร่างธรรมดาที่ได้เส้นประสาทจากเซลล์ประสาทสั่งการอัลฟาและสร้างแรงตึงโดยหดเกร็ง จึงทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ ในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่โตแล้วโดยมาก เส้นใยกล้ามเนื้อหนึ่ง ๆ จะได้แอกซอนจากเซลล์ประสาทสั่งการเพียงเซลล์เดียว[1] และเพราะร่างกายมีเซลล์ประสาทสั่งการน้อยกว่าเส้นใยกล้ามเนื้อมาก แอกซอนหนึ่ง ๆ ของเซลล์ประสาทสั่งการจะแตกสาขาส่งไปยังเส้นใยกล้ามเนื้อหลายเส้นภายในกล้ามเนื้อเดียวกัน ซึ่งปกติจะกระจายไปในกล้ามเนื้อ โดยเชื่อว่าเพราะทำให้การออกแรงกระจายไปทั่ว ๆ กันและช่วยให้กล้ามเนื้อยังสามารถทำงานแม้เซลล์ประสาทสั่งการหนึ่ง ๆ จะเสียหาย[2] ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนมาก กล้ามเนื้อโครงร่างเป็นมวลร่างกาย 55% และมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเคลื่อนที่ การสร้างความร้อนเมื่อหนาว และเมแทบอลิซึมโดยทั่วไป[3] มันเป็นเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อโครงร่างโดยมาก และยึดอยู่กับกระดูกด้วยเอ็น

เซลล์ประสาทสั่งกาอัลฟาแต่ละตัวบวกกับเส้นใยกล้ามเนื้อนอกกระสวยทั้งหมดที่เซลล์ส่งเส้นประสาทไปถึงเรียกว่า หน่วยสั่งการ (motor unit) เป็นหน่วยการทำงานพื้นฐานที่ระบบประสาทใช้ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย[2] ส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทสั่งกาอัลฟากับเส้นใยกล้ามเนื้อนอกกระสวยเรียกว่า แผ่นเชื่อมประสาทสั่งการและกล้ามเนื้อ (neuromuscular junction) เป็นบริเวณที่กระแสประสาทของเซลล์ดำเนินต่อโดยเป็นสารสื่อประสาทคือ acetylcholine ไปยังเส้นใยกล้ามเนื้อ

เส้นใยกล้ามเนื้อนอกกระสวยไม่ควรสับสนกับ intrafusal muscle fiber (เส้นใยกล้ามเนื้อในกระสวย) ซึ่งมีเส้นประสาทรับความรู้สึกไปยุติอยู่ที่ส่วนตรงกลางซึ่งหดเกร็งไม่ได้ และมีเส้นประสาทสั่งการจากเซลล์ประสาทสั่งการแกมมาที่ส่วนปลายทั้งสองซึ่งหดเกร็งได้ เส้นใยกล้ามเนื้อในกระสวยทำหน้าที่เป็นตัวรับรู้อากัปกิริยา (proprioceptor) ในระบบรับความรู้สึก

เส้นใยกล้ามเนื้อนอกกระสวยสามารถทำในจานทดลอง (in vitro) จากเซลล์ต้นกำเนิดแบบ pluripotent stem cell ผ่านกระบวนการทางวิศวกรรมชีวภาพคือ directed differentiation[4] ซึ่งช่วยให้สามารถศึกษาการเกิดและสรีรภาพของมัน

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Enoka & Pearson (2013), A Motor Unit Consists of a Motor Neuron and Multiple Muscle Fibers, pp. 768-770
  2. 2.0 2.1 Purves et al (2018), The Motor Unit, pp. 361-363
  3. "Skeletal Muscles Fibers". Fitness Products Reviews. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-03.
  4. Chal J, Oginuma M, Al Tanoury Z, Gobert B, Sumara O, Hick A, Bousson F, Zidouni Y, Mursch C, Moncuquet P, Tassy O, Vincent S, Miyanari A, Bera A, Garnier JM, Guevara G, Hestin M, Kennedy L, Hayashi S, Drayton B, Cherrier T, Gayraud-Morel B, Gussoni E, Relaix F, Tajbakhsh S, Pourquié O (September 2015). "Differentiation of pluripotent stem cells to muscle fiber to model Duchenne muscular dystrophy". Nature Biotechnology. 33 (9): 962–9. doi:10.1038/nbt.3297. PMID 26237517. S2CID 21241434. Closed access

อ่านเพิ่ม[แก้]