ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น  
หน้าปกหนังสือ ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น
ผู้ประพันธ์สม สุจีรา
ชื่อเรื่องต้นฉบับศาสนาแห่งจักรวาล
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ชุดปรัชญา
ฉบับที่
1
หัวเรื่องวิทยาศาสตร์ พุทธศาสนา
พิมพ์10 บท
สำนักพิมพ์อมรินทร์, สนพ.
วันที่พิมพ์พ.ศ. 2549
ชนิดสื่อปกแข็งและปกอ่อน
หน้า200 หน้า
ISBN978-616-18-0906-5
OCLC9789749985854
294.3375
LC Classb ส-อ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น เป็นหนังสือแต่งโดย ทันตแพทย์สม สุจีรา มีเนื้อหาทั้งทางวิทยาศาสตร์และหลักการทางพุทธศาสนา จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์อมรินทร์ ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2549

หนังสือได้รับการพิมพ์ซ้ำถึง 40 ครั้ง ยอดพิมพ์ไม่ต่ำกว่า 100,000 เล่ม ต่อมา ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ได้ท้วงติงเนื้อหาที่ผิดพลาดในเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น จักรวาลวิทยา (cosmology) ในหน้า 31 ทฤษฎีสตริง (string theory) ในหน้า 39 ทฤษฎีเคออส (chaos theory) ในหน้า 128 และทฤษฎีสัมพัทธภาพ (relativity) ซึ่งปรากฏอยู่ทั่วไปในเล่มเมื่อกล่าวถึงแสงและเวลา เป็นต้น[1]

ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ออกมาทักท้วงว่าเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาไม่ถูกต้องตามหลักการทางวิทยาศาสตร์หลายจุด[2]

เนื้อหา[แก้]

แบ่งออกได้เป็น 10 บท [3]

  • บทที่ 2 “จักรวาลกับพุทธศาสนา” พุทธศาสนาบอกไว้ว่า เรื่องความเร้นลับของจักรวาลเป็นเรื่องอจินไตยไม่ควรคิด แต่ความรู้ทางพุทธศาสนามีเรื่องราวที่ตรงกับการค้นพบและการพิสูจน์ของนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
  • บทที่ 3 “ทฤษฎีสัมพัทธภาพ” เรื่องความเร็วของแสงที่คงที่เสมอ แต่แสงก็ตกอยู่ภายใต้กฎของแรงโน้มถ่วง ดังนั้นจึงเดินทางเป็นเส้นโค้งได้ ตามแรงโน้มถ่วงของดวงดาว ไอน์สไตน์พิสูจน์ให้เห็นว่า เวลาสามารถยืดหด และเดินช้า เดินเร็วได้ ขึ้นอยู่กับสถานที่แต่ละแห่ง เช่นเวลาของคนที่อยู่บนยานอวกาศที่เดินทางด้วยความเร็วสูงจะเดินช้ากว่าเวลาของคนอาศัยอยู่บนโลก
  • บทที่ 4 “ความว่างภายในอะตอม” เนื้อหากล่าวถึงทฤษฎีควอนตัมซึ่งทฤษฎีนี้ช่วยอธิบายส่วนที่เล็กที่สุดที่บรรจุอยู่ภายในอะตอม อันเป็นการช่วยยืนยันว่า ไม่มีสิ่งใดคงที่ มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ
  • บทที่ 5 “พุทธกับวิทยาศาสตร์” มีการเปรียบเทียบความรู้และคำสอนทางพุทธศาสนาที่ต่างกันเพียงวิทยาศาสตร์พยายามค้นคว้าและพิสูจน์ในทางวัตถุหรือรูปธรรม แต่พุทธศาสนาได้ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งรวมไปถึงเรื่องทางนามธรรมหรือเรื่องราวของจิตด้วย
  • บทที่ 6 “ปัญญาญาณ” ความรู้ ไม่จำเป็นว่าต้องเกิดขึ้นจากการค้นคว้าเสมอไป แต่การรวมจิตให้เป็นหนึ่งก็สามารถทำให้เกิดความรู้ในเรื่องราวที่ลึกซึ้งได้เหมือนกัน
  • บทที่ 7 “ความมหัศจรรย์ของจิต” กล่าวถึงความลึกลับซับซ้อนของจิต ที่พระพุทธเจ้าได้สอนเรื่องของจิตนี้มาแต่สมัยพุทธกาลแล้ว และเป็นความจริงที่จริงแท้ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน และจิตเป็นสิ่งที่เร็วกว่าแสงมาก
  • บทที่ 8 “เกิด-ดับ” ทุกสิ่งมีการเกิดดับ ไม่เว้นแม้แต่จักรวาล รวมไปถึงทฤษฎีความรู้ต่างๆ ของนักวิทยาศาสตร์ซึ่งเมื่อความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้น ทฤษฎีเก่าก็ล้าสมัยไป ต่างจากสัจธรรมของพระพุทธเจ้าที่ยังคงจริงแท้ตลอดมา
  • บทที่ 9 “มิติที่ 4 มิติของเวลา” ไอน์สไตน์ยืนยันว่านอกจากเวลาจะยืดหด เวลายังย้อนกลับได้ด้วย ตรงกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทางพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อรวมอารมณ์ให้เป็นหนึ่งเดียว มีสมาธิแน่วแน่แล้ว สามารถย้อนเวลาไปหาอดีต หรือล่วงรู้เรื่องราวในอนาคตได้ หรือ มิติที่ 4 เรื่องเวลานี้สามารถเปรียบได้กับนิพพานซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ยาก
  • บทที่ 10 “ความสุขและความจริงแท้” สรุปเนื้อหาพุทธศาสนามีความรู้ที่ครอบคลุมมากกว่าวิทยาศาสตร์ และนอกจากความรู้แล้วยังนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตอีกด้วย

อ้างอิง[แก้]