การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ระบบทศนิยมดิวอี้)
ชั้นวางหนังสือในห้องสมุดที่ฮ่องกงจัดเรียงตามแผนการจำแนกประเภทสำหรับห้องสมุดจีนแบบใหม่ ซึ่งเป็นแบบแผนที่ดัดแปลงจากการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ (อังกฤษ: Dewey Decimal Classification; DDC) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดที่อนุญาตให้เพิ่มหนังสือใหม่ในห้องสมุดในตำแหน่งที่เหมาะสมตามหัวเรื่อง[Note 1] ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในสหรัฐโดยเมลวิล ดิวอีใน ค.ศ. 1876[1] นขณะที่เขา กำลังเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์อยู่ที่วิทยาลัยแอมเฮอร์ส (Amherst College)

การจัดหมวดหมู่ในจำนวนเลขฐานสิบแนะนำแนวคิดของ ตำแหน่งสัมพัทธ์ และ ดัชนีสัมพัทธ์ ก่อนหน้านี้ห้องสมุดได้จัดเตรียมตำแหน่งชั้นวางหนังสือถาวรที่เกี่ยวข้องกับลำดับการได้มามากกว่าหัวข้อ สัญกรณ์การจัดหมวดหมู่ใช้ตัวเลขสามหลักสำหรับชั้นหลัก โดยมีทศนิยมที่เป็นเศษส่วนเพื่อขยายดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ตัวเลขมีความยืดหยุ่นในระดับที่สามารถขยายได้ในลักษณะเส้นตรงเพื่อให้ครอบคลุมลักษณะพิเศษในวิชาทั่วไป[2] มีห้องสมุดที่ใช้การจัดหมวดหมู่แบบนี้ถึง 200,000 แห่งในอย่างน้อย 135 ประเทศ[3][4]

รูปแบบ[แก้]

การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้จัดระเบียบเนื้อหาในห้องสมุดตามระเบียบหรือสาขาวิชา โดยแบ่งออกเป็น10 หมวดหมู่ แต่ละหมวดหมู่แบ่งออกเป็น 10 หมวดหมู่ย่อย ซึ่งแบ่งออกเป็น 10 ส่วน สัญกรณ์ของระบบนี้ใช้ตัวเลขฮินดู-อารบิก โดยมีตัวเลขสามตัวประกอบขึ้นเป็นหมู่หลักและหมู่ย่อย กับทศนิยมเพิ่มเติม โครงสร้างการจำแนกเป็นแบบลำดับหมู่และสัญกรณ์ก็เป็นไปตามลำดับเดียวกัน ห้องสมุดไม่จำเป็นต้องให้รายละเอียดทั้งหมด โดยสามารถจำแนกประเภทด้วยการตัดทศนิยมด้านขวาสุดออกจากหมายเลขหมู่เพื่อให้ได้การจัดประเภททั่วไปมากขึ้น[5] ดังตัวอย่าง:

500 วิทยาศาสตร์ธรรมชาติและคณิตศาสตร์
510 คณิตศาสตร์
516 เรขาคณิต
516.3 เรขาคณิตวิเคราะห์
516.37 เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์เมตริก (Metric differential geometries)
516.375 เรขาคณิตฟินชเลอร์ (Finsler geometry)

เดิมทีการจำแนกประเภทนี้เป็นการแจกแจง นั่นหมายความว่ามีการระบุหมู่ทั้งหมดอย่างชัดเจนในตาราง เมื่อเวลาผ่านไป การจำแนนประเภทนี้เพิ่มแบบแผนระบบการจัดหมู่แบบแฟเซ็ทบางส่วนที่อนุญาตให้ตัวแยกประเภทสร้างตัวเลขจากการรวมหมายเลขหมู่สำหรับหัวข้อกับรายการจากตารางแยกต่างหาก ตารางต่าง ๆ ครอบคลุมองค์ประกอบที่ใช้กันทั่วไป เช่น ลักษณะทางภูมิศาสตร์และเวลา ภาษา และรูปแบบบรรณานุกรม เช่น เราสามารถสร้างหมายเลขหมู่ได้โดยใช้ 330 สำหรับเศรษฐศาสตร์ + .9 สำหรับการปฏิบัติทางภูมิศาสตร์ (geographic treatment) + .04 สำหรับทวีปยุโรป เพื่อสร้างหมู่ 330.94 เศรษฐศาสตร์ยุโรป หรืออาจรวมหมู่ 973 (สำหรับสหรัฐ) + .05 (สำหรับสิ่งพิมพ์รายคาบในหัวข้อ) เพื่อสร้างหมายเลข 973.05 สำหรับสิ่งพิมพ์รายคาบเกี่ยวกับสหรัฐโดยทั่วไป การจำแนกนี้ยังสามารถใช้นีโมนิคในบางหัวข้อได้ เช่น เลข 5 แทนประเทศอิตาลีในหมวดตัวเลขอย่าง 945 (ประวัติศาสตร์อิตาลี), 450 (ภาษาอิตาลี) และ 195 (ปรัชญาอิตาลี) การรวมกันระหว่างแฟเซ็ทกับนีโมนิคทำให้การจำแนกประเภทเป็น สังเคราะห์ ตามธรรมชาติ โดยความหมายนั้นสร้างขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของหมายเลขการจำแนกประเภท[6]

การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้มีตัวเลขสำหรับทุกประเภท รวมถึงงานแต่ง แม้ว่าห้องสมุดหลายแห่งจะแยกหมวดงานแต่งตามตัวอักษรในนามสกุลของผู้แต่ง แต่ละหมายเลขที่กำหนดประกอบด้วยสองส่วน: หมายเลขหมู่ (จากระบบดิวอี้) และหมายเลขหนังสือ ซึ่ง "ป้องกันความสับสนของหนังสือที่ต่างกันในหัวเรื่องเดียวกัน"[7] รูปแบบทั่วไปของหมายเลขหนังสือเรียกว่า เลขคัตเตอร์ ซึ่งแสดงผู้แต่งและทำให้หนังสือนั้นแตกต่างจากหนังสือเล่มอื่น ๆ ในหัวข้อเดียวกัน [8]

หมู่หนังสือ[แก้]

การจัดหมู่หนังสือตามระบบทศนิยมของดิวอี้ แบ่งหนังสือออกเป็นหมู่ต่าง ๆ เริ่มจากหมู่ใหญ่คือหลักร้อย ไปหาหมู่ย่อยคือหลักสิบ หลักหน่วย ตามลำดับ (จาก DDC 23[9])

  • น - นวนิยาย
  • ย - เยาวชน

ตาราง[แก้]

อิทธิพลและข้อวิจารณ์[แก้]

การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้มีพื้นฐานมาจากการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล (UDC) ที่รวมตัวเลขดิวอี้พื้นฐานกับเข้ากับเครื่องหมายวรรคตอนที่เลือกไว้ (จุลภาค ทวิภาค วงเล็บ ฯลฯ) การปรับระบบเฉพาะสำหรับภูมิภาคนอกพื้นที่ที่ใช้ภาษาอังกฤษ ได้แก่ การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมเกาหลี, แผนการจำแนกประเภทสำหรับห้องสมุดจีนแบบใหม่ และการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมนิปปงในประเทศญี่ปุ่น[10][11]

แม้ว่าจะมีการใช้งานแพร่หลาย การจัดหมู่หนังสือแบบนี้ถูกวิจารณ์ในด้านความซับซ้อนและความสามารถในการแก้ไขที่จำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดเรียงหัวข้อย่อยที่มีการอธิบายว่าล้าสมัยและมีอคติตามโลกทัศน์ของชาวแองโกล-อเมริกัน (Anglo-American)[12][13]

หัวข้อรักร่วมเพศ[แก้]

ใน ค.ศ. 1932 หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับรักร่วมเพศได้รับการบรรจุในหมู่ 132 (ความผิดปกติทางจิต) และ 159.9 (จิตวิทยาอปกติ) ต่อมาใน ค.ศ. 1952 หัวข้อรักร่วมเพศก็ถูกบรรจุในหมู่ 301.424 (การศึกษาเพศในสังคม) จากนั้นใน ค.ศ. 1989 จึงถูกบรรจุลงใน 363.49 (ปัญหาทางสังคม) และยังคงเป็นเช่นนั้นจนถึงปัจจุบัน[14]

ใน ค.ศ. 1996 หัวข้อรักร่วมเพศได้รับการบรรจุลงในหมู่ 306.7 (เพศสัมพันธ์) และยังคงอยู่ตำแหน่งนั้นจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะมีหนังสืออยู่ในหมู่ 616.8583 (พฤติกรรมทางเพศที่พิจารณาเป็นความผิดปกติทางการแพทย์) แนวทางอย่างเป็นทางการระบุว่า:[14]

ใช้หมู่ 616.8583 สำหรับรักร่วมเพศต่อเมื่อผลงานนั้นถือสิ่งนี้เป็นความผิดปกติทางการแพทย์ หรือมุ่งเน้นเรื่องประเด็นโต้แย้งต่อผู้ที่พิจารณาว่ารักร่วมเพศเป็นความผิดปกติทางการแพทย์ ... ถ้าสงสัย ให้ใช้หมายเลขใดก็ตามนอกจาก 616.8583

หัวข้อศาสนา[แก้]

หมู่หน้าสุดของศาสนาเข้าข้างศาสนาคริสต์มาก โดยใช้ช่อง 200 เกือบทั้งหมด ส่วนศาสนาอื่น ๆ ของโลกนับพันศาสนาได้รับการบรรจุในช่องที่ 290 ลงมา[15] เช่น ศาสนาอิสลามจัดไว้ใน DDC 297 แม้ว่าจะมีผู้นับถือเกือบเท่ากับศาสนาคริสต์ก็ตาม[16] หมู่ที่ 200 ทั้งหมดยังไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ DDC 1 เนื่องจากการปรับโครงสร้างจะทำให้เกิดงานจำนวนมากสำหรับห้องสมุดที่มีอยู่ แรงจูงใจสำหรับการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเชิงอุดมคติมากกว่าเชิงเทคนิค เนื่องจากการเพิ่มตัวเลขสำคัญสามารถเพิ่มช่องว่างได้ตามต้องการ[17]

หัวข้อผู้หญิง[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. "Introduction to the Dewey Decimal Classification" (PDF). OCLC. 2019. สืบค้นเมื่อ July 28, 2022. This Introduction explains the basic principles and structure of the Dewey Decimal Classification (DDC) system.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์) Section 4.14 of the article states the DDC is "arranged by discipline, not subject"

อ้างอิง[แก้]

  1. Dewey, Melvil (1876), Classification and Subject Index for Cataloguing and Arranging the Books and Pamphlets of a Library (Project Gutenberg eBook), เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 10, 2012, สืบค้นเมื่อ 31 July 2012
  2. Chapter 17 in Joudrey, Daniel N.; Taylor, Arlene G.; Miller, David P. (2015). Introduction to Cataloging and Classification (11th ed.). Santa Barbara, CA: Libraries Unlimited/ABC-CLIO. ISBN 978-1-59884-856-4.
  3. "Dewey Services". OCLC. 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 31, 2010. สืบค้นเมื่อ November 4, 2009. Offers library users familiarity and consistency of a time-honored classification system used in 200,000 libraries worldwide
  4. "Countries with libraries that use the DDC". OCLC. 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 14, 2010. สืบค้นเมื่อ November 4, 2009. Libraries in more than 135 countries use the Dewey Decimal Classification (DDC) system to organize their collections for their users. [135 countries are listed.]
  5. Chan (2007), pp. 326–331
  6. Chan (2007), p. 331
  7. Dewey, Melvil (1876), A Classification and Subject Index for Cataloguing and Arranging the Books and Pamphlets of a .., [s.n.], OCLC 78870163, OL 23422140M
  8. Chan (2007), pp. 333–362
  9. OCLC. "Introduction to the Dewey Decimal Classification". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 12, 2013. สืบค้นเมื่อ 8 December 2013.
  10. "A Brief Introduction to the Dewey Decimal Classification". OCLC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 3, 2013. สืบค้นเมื่อ 16 November 2013.
  11. Taylor, Insup; Wang, Guizhi. "Library Systems in East Asia". McLuhan Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 21, 2014. สืบค้นเมื่อ 16 November 2013.
  12. Kaplan, Tali Balas (April 17, 2012). "Done with Dewey". ALSC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 15, 2013. สืบค้นเมื่อ 15 December 2013.
  13. Fandino, Marta (2008). "UDC or DDC: A Note About the Suitable Choice for the National Library of Liechtenstein" (PDF). Extensions and Corrections to the UDC. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ September 14, 2012. สืบค้นเมื่อ 15 December 2013.
  14. 14.0 14.1 Sullivan, Doreen (July 23, 2015). "A brief history of homophobia in Dewey decimal classification". Overland. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 22, 2017. สืบค้นเมื่อ 19 December 2017.
  15. "DDC – 200 – Religion". bpeck.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 16, 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-03-20.
  16. "World's Muslim Population Will Surpass Christians This Century, Pew Says". NPR (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 22, 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-03-20.
  17. Olson (2002), p. 22.

แล่งข้อมูลอื่น[แก้]