โรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์ II

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์ II
โรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์ II
หน้าปกเกมสำหรับเวอร์ชันนินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม
ผู้พัฒนาโคอิ
ผู้จัดจำหน่ายโคอิ
ชุดโรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์
เครื่องเล่นเอ็มเอส-ดอส, พีซี-8801, พีซี-9801, เอ็มเอสเอกซ์2, อามิกา, แฟมิคอม, ซูเปอร์แฟมิคอม, เมกาไดรฟ์, วันเดอร์สวอน, เพลย์สเตชัน, วินโดวส์ 95
วางจำหน่าย
  • ญี่ปุ่น: 15 กันยายน ค.ศ. 1991 (ซูเปอร์แฟมิคอม)
  • อเมริกาเหนือ: กันยายน ค.ศ. 1991 (ซูเปอร์นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม)
แนววางแผนผลัดกันเล่น
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น (สูงสุด 8 คน (12 คนในวินโดวส์))

โรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์ II (อังกฤษ: Romance of the Three Kingdoms II; ญี่ปุ่น: 三國志II) เป็นเกมที่สองในซีรีส์โรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์ของเกมกลยุทธ์ผลัดกันเล่นที่ผลิตโดยบริษัทโคอิ และอิงจากนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก

รูปแบบการเล่น[แก้]

เมื่อเริ่มเกม ผู้เล่นเลือกจากหนึ่งในหกสถานการณ์ที่กำหนดรูปแบบเริ่มต้นของอำนาจในจีนสมัยโบราณ บทเกมแสดงให้เห็นภาพความจงรักภักดีและดินแดนที่ควบคุมโดยขุนศึกอย่างคร่าว ๆ ตามนวนิยาย แม้ว่ารูปแบบการเล่นจะไม่เป็นไปตามเหตุการณ์ในนวนิยายหลังจากที่เกมเริ่มต้นขึ้น

เกมมีหกสถานการณ์ได้รับการระบุไว้ดังต่อไปนี้:

  1. ตั๋งโต๊ะเข้ายึดอำนาจของลกเอี๋ยง (ค.ศ. 189)
  2. เหล่าขุนศึกต่อสู้เพื่ออำนาจ (ค.ศ. 194)
  3. เล่าปี่หาที่พักพิงในเกงจิ๋ว (ค.ศ. 201)
  4. โจโฉปรารถนาอำนาจสูงสุดเหนือประเทศจีน (ค.ศ. 208)
  5. อาณาจักรแบ่งออกเป็นสาม (ค.ศ. 215)
  6. กำเนิดวุยก๊ก, ง่อก๊ก และจ๊กก๊ก (ค.ศ. 220)

หลังจากเลือกสถานการณ์แล้ว ผู้เล่นจะตัดสินว่าขุนศึกคนใดที่พวกเขาจะควบคุม เหล่าตัวละครที่กำหนดเองอาจแทรกซอนเข้าไปในดินแดนที่ไม่มีกองกำลังอื่นครอบครองเช่นกัน เกมนี้มีมณฑลต่าง ๆ ทั้งหมด 41 มณฑล และมีตัวละครที่ไม่ซ้ำกันมากกว่า 200 ตัว ตัวละครแต่ละตัวมีสามค่าสถิติ ซึ่งมีตั้งแต่ 10 ถึง 100 (ยิ่งสูงยิ่งดี) สติปัญญา ความสามารถในการทำสงคราม และความดึงดูดใจของขุนศึกมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของเขาหรือเธอเมื่อทำภารกิจบางอย่าง เช่น การดวล หรือการเพิ่มมูลค่าที่ดินในมณฑล

ผู้เล่นชนะเกมด้วยการพิชิตดินแดนทั้งหมดในประเทศจีน ซึ่งทำได้โดยการควบคุมทุกมณฑลบนแผนที่

คุณสมบัติใหม่[แก้]

  • ระบบชื่อเสียงที่ส่งผลต่ออัตราความจงรักภักดีของผู้ปฏิบัติงานต่อเจ้านายของตน
  • เพิ่มสมบัติและไอเทมพิเศษที่สามารถเพิ่มสถานะของผู้ปฏิบัติงาน
  • เหล่ากุนซือสามารถช่วยเจ้านายของตนคาดการณ์โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการดำเนินการตามแผน ซึ่งกุนซือที่มีค่าสถิติความฉลาด 100 จะคาดการณ์ผลลัพธ์ได้อย่างแม่นยำเสมอ
  • การสกัดกั้นผู้ส่งสาร
  • ความสามารถในการสร้างขุนนางใหม่บนแผนที่ตามตัวละครที่สร้างขึ้นโดยผู้เล่น

การตอบรับ[แก้]

นิตยสารคอมพิวเตอร์เกมมิงเวิลด์ระบุว่าโรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์ II "ทำเรื่องราวได้ดีกว่าจำลองความโกลาหล" ของจีนในคริสต์ศตวรรษที่สองมากกว่าภาคก่อนของเกมดังกล่าว[1] ซึ่งในการสำรวจเกมกลยุทธ์ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อ ค.ศ. 1993 ทางนิตยสารให้เกมนี้สี่ดาวจากห้าดาว[2] ส่วนช่วงวางจำหน่าย ทางนิตยสารแฟมิคอมซือชินได้ให้คะแนนเกมเวอร์ชันแฟมิคอมที่ 30 คะแนนจาก 40 คะแนน[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. White, Roger (April 1992). "Ancient China Syndrome". Computer Gaming World. No. 93. pp. 80, 82. สืบค้นเมื่อ 24 November 2013.
  2. Brooks, M. Evan (June 1993). "An Annotated Listing of Pre-20th Century Wargames". Computer Gaming World. p. 136. สืบค้นเมื่อ 7 July 2014.
  3. 30 Point Plus: 三國志II. Weekly Famicom Tsūshin. No.336. Pg.31. 26 May 1995.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]