โรตีจอห์น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรตีจอห์น
มื้ออาหารหลัก (มื้อเช้า), บ้างจัดว่าเป็นขนม
แหล่งกำเนิดประเทศสิงคโปร์[1][2]
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และสิงคโปร์)
อุณหภูมิเสิร์ฟอุณหภูมิห้อง
ส่วนผสมหลักเนื้อวัวสับ, หัวหอม, ไข่, ซอสพริกผสมมะเขือเทศ และบาแก็ต

โรตีจอห์น (มลายู: Roti john, روتي جون) เป็นแซนด์วิชไข่เจียว เชื่อว่าถือกำเนิดครั้งแรกที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อราวคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึง 1970 ต่อมาได้กลายเป็นอาหารข้างถนนที่แพร่หลายไปทั่วบริเวณคาบสมุทรมลายู ปัจจุบันคือประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย[2][3][4][5]

ประวัติ[แก้]

โรตี มาจากคำสันสกฤตว่า โรติกา (rotikā) แปลว่า ขนมปัง โดยทั่วไปจะหมายถึงอาหารที่ทำจากขนมปังหรือคล้ายขนมปัง ซึ่งรวมไปถึงแซนด์วิช และแพนเค้ก[2][3][4] ส่วนชื่อ จอห์น นั้นไม่ทราบที่มาว่าอยู่ในชื่ออาหารนี้ได้อย่างไร แต่อาจจะมาจากการที่ชาวสหราชอาณาจักรจะเรียกชื่อบุคคลชายใด ๆ ว่าจอห์นไว้ก่อน ในกรณีที่ไม่รู้จักกัน จำชื่อไม่ได้ หรือชื่อออกเสียงยากเกินไป จนอาจกลายเป็นชื่อที่กองทัพสหราชอาณาจักรใช้เรียกพ่อค้าแม่ขายซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในบริติชมาลายา[2][3]

มีมุขปาฐะอ้างว่าอาหารดังกล่าวมีต้นกำเนิดมาจากพ่อครัวชาวมลายูในสิงคโปร์เมื่อช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึง 1970[6] และมีเรื่องเล่าทำนองนี้อีกหลายเรื่อง แต่มุขปาฐะเรื่องสุดท้าย กล่าวถึงการขายโรตีจอห์นที่ศูนย์การค้าหาบเร่ตามันเซอราซี ที่เริ่มขายอาหารจานนี้ใน ค.ศ. 1976 หลังได้สูตรจากพ่อค้าหาบเร่คนหนึ่ง ที่ต่อมาร้านค้าแผงดังกล่าวได้ย้ายไปขายที่ตลาดสวนเซอรังกูนใน ค.ศ. 2001[7]

อย่างไรก็ตามโรตีจอห์นได้แพร่หลายไปทั่วคาบสมุทรมลายูเป็นที่เรียบร้อย และในยุคปัจจุบันผู้คนนิยมรับประทานโรตีจอห์นหน้าปลาซาร์ดีน มากกว่าเนื้อสัตว์อื่น

ส่วนประกอบ[แก้]

วัตถุดิบในการทำโรตีจอห์น ประกอบด้วย ขนมปังบาแก็ต ไข่ เนื้อสับ (อาจเป็นเนื้อไก่ ปลาซาร์ดีน หรือเนื้อแกะ) หัวหอม และเสิร์ฟพร้อมซอสพริกผสมมะเขือเทศ

อ้างอิง[แก้]

  1. Naleeza Ebrahim; Yaw Yan Yee (2006). Singapore. Marshall Cavendish. p. 232. ISBN 978-981-232-922-6.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Bonny Tan. "Roti John". National Library Board, Singapore. สืบค้นเมื่อ 22 October 2018.
  3. 3.0 3.1 3.2 Jaime Koh; Stephanie Ho (22 June 2009). Culture and Customs of Singapore and Malaysia. ABC-CLIO. pp. 98–. ISBN 978-0-313-35116-7.
  4. 4.0 4.1 Wendy Hutton (15 November 2013). The Little Malaysian Cookbook. Marshall Cavendish International Asia Pte Ltd. pp. 45–. ISBN 978-981-4516-92-1.
  5. Jean Duruz; Gaik Cheng Khoo (18 December 2014). Eating Together: Food, Space, and Identity in Malaysia and Singapore. Rowman & Littlefield Publishers. pp. 93–. ISBN 978-1-4422-2741-5.
  6. Rajagopal, Pakirisamy. "Oral History Interview On The Origins Of 'Roti John', Recorded in 2002". Archivist Pick of the Week. National Archives of Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-21. สืบค้นเมื่อ 21 August 2019.
  7. "Roti John | Infopedia". eresources.nlb.gov.sg. สืบค้นเมื่อ 2021-09-22.