โรงเรียนมัธยมวัดด่านสำโรง

พิกัด: 13°38′52″N 100°35′56″E / 13.647672°N 100.598847°E / 13.647672; 100.598847
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนมัธยมวัดด่านสำโรง
Mathayomwat Dansamrong School
ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนมัธยมด่านสำโรง
ที่ตั้ง
แผนที่
973 หมู่ 8 ซอยวัดด่านสำโรง ถนนสุขุมวิท ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 10270
ข้อมูล
ชื่ออื่นด.ส.
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญสุวิชาโน ภวํ โหติ
ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
สถาปนา3 กันยายน พ.ศ. 2500 (66 ปี 238 วัน)
ผู้ก่อตั้งพระสมุทรเมธาจารย์
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1001110103 (ใหม่)
01110103 (เก่า)
ผู้อำนวยการนายชัยเนตร ไวยคณี
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6
สี██████เขียว - เหลือง
เพลงเพลงประจำโรงเรียนมัธยมวัดด่านสำโรง
เว็บไซต์http://www.mdsr.ac.th

โรงเรียนมัธยมวัดด่านสำโรง เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 (ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ) (สังกัดเดิมคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่บริเวณซอยวัดด่านสำโรง ถนนสุขุมวิท ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา[1]

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนมัธยมวัดด่านสำโรง มีชื่อเดิมว่า โรงเรียนด่านสำโรงก่อตั้งโดยพระสมุทรเมธาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดด่านสำโรง ร่วมกับเจ้าคณะอำเภอเมืองสมุทรปราการ คณะสงฆ์วัดด่านสำโรง และประชาชนในตำบลสำโรงเหนือ เริ่มเปิดสอนเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2500[2] ใช้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนด่านสำโรง” มีนักเรียนรุ่นแรกทั้งสิ้น 32 คน เป็นนักเรียนชาย 21 คน และนักเรียนหญิง 11 คน ในปีแรกเปิดสอนเฉพาะชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1) ใช้อาคาร“ม่วงวัฒนะ” ของวัดด่านสำโรงเป็นสถานที่เรียนชั่วคราว

พ.ศ. 2502 ได้รับเงินงบประมาณจำนวน 90,000 บาท สมทบกับเงินบริจาคอีก 25,000 บาท ก่อสร้าง อาคารเรือนไม้ 2 ชั้น 4 ห้องเรียนขึ้นเป็นหลังแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 ได้รับเงินงบประมาณ จำนวน 357,000บาท ทำการต่อเติมอาคารเรือนไม้อีก 8 ห้องเรียน เป็นอาคารเรือนไม้ 2 ชั้นเต็มรูป 12 ห้องเรียน (อาคารนี้รื้อถอน เมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2521) พ.ศ. 2506 โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เข้าในโครงการปรับปรุงโรงเรียนมัธยมศึกษาในชนบทมีชื่อย่อโครงการว่า “ค.ม.ช.” โดยมีองค์การยูนิเซฟเป็นผู้ให้ความร่วมมือช่วยเหลือเกี่ยวกับอุปกรณ์ห้องสมุดเครื่องดนตรีไทยและอุปกรณ์ในวิชาศิลปปฏิบัติ

พ.ศ. 2507 ได้รับเงินงบประมาณตามโครงการ ค.ม.ช. จำนวน 90,000 บาท สร้างโรงฝึกงาน และโรงอาหารชั่วคราว (อาคารนี้รื้อ ถอนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521) เพื่อใช้เป็นที่ต่อเติมอาคารแบบ พ424 เต็มรูปและในปีเดียวกันนี้ได้รับเงินงบประมาณ  จำนวน  50,000  บาท  สร้างบ้านพักครู จำนวน 1 หลัง

พ.ศ. 2511ได้รับเงินงบประมาณปรับปรุงพื้นที่สร้างประตูและรั้วโรงเรียน3ด้านเป็นเงิน 248,000 บาท และในปีเดียวกันนี้ นางหมา จูใจบุญ ได้ยกที่ดินกองมรดกให้โรงเรียนเพื่อจำหน่ายนำเงินเข้าสมทบเพื่อสร้างอาคารประกอบเป็นจำนวนเงิน  480,000 บาท นอกจาก นี้คณะผู้ปกครองได้มอบเงิน รายได้จากการจัด “งานฤดูหนาวชาวสำโรง” อีก 38,891 บาท ให้โรงเรียนเพื่อซื้ออุปกรณ์ดนตรีเพื่อตั้งวงดุริยางค์ ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีความก้าวหน้าเป็นวงโยธวาฑิตของโรงเรียน

พ.ศ. 2515 ได้รับเงินงบประมาณ จำนวน 300,000 บาท สมทบกับเงินมรดกของ นางหมา จูใจบุญ เป็นเงิน400,000บาทก่อสร้างหอประชุม“จูใจบุญ”ปี2516

พ.ศ. 2517 ได้รับเงินงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ พ 424 ครึ่งหลัง เป็นเงิน 1,250,000 บาท และได้รับเงินงบประมาณจำนวน 50,000 บาท และได้มีการต่อเติมอาคารเรียนเต็มรูปในวงเงินงบประมาณจำนวน 2,300,000 บาทในปี 2522 นอกจากนี้ได้มีการสร้างสร้างบ้านพักครูหลังที่ 2 และสร้างบ้านพักสำหรับนักการภารโรงเป็นเงิน40,000บาท

พ.ศ. 2521 โรงเรียนเปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอนเป็น 2 รอบ พร้อมทั้ง รับฝากนักเรียนโรงเรียนบางเมืองเขียน ผ่องอนุสรณ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนเปิดใหม่อีก 6 ห้องเรียน โดยจัดให้มีการเรียนการสอนในรอบบ่าย

พ.ศ. 2523 ได้รับเงินงบประมาณ จำนวน 6,000,000บาท ก่อสร้างอาคารเรียนเรียนแบบพิเศษ 5 ชั้น ครึ่งแรก และได้รับงบประมาณ จำนวน 235,000 บาท ก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 5 ห้องเรียน (อาคารนี้รื้อถอนเมื่อ พ.ศ. 2529 เพื่อสร้างอาคารโรงฝึกงานแบบ 306/26) และสร้างอาคารเรียนชั่วคราวอีก 2 ห้อง ด้วยเงินบำรุงการศึกษา จำนวน 49,000 บาท (ปัจจุบันอาคารหลังนี้ได้รื้อถอนแล้วเพื่อคืนพื้นที่ให้วัดด่านสำโรง)

พ.ศ. 2524 โรงเรียนเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีทั้งแผนวิชาสามัญ และวิชาชีพ ซึ่งเปิดจัดการเรียนการสอนในระบบว.ช.

พ.ศ. 2525 บริษัทเฟลฟ์ดอด์จไทยแลนด์ จำกัด ได้ปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียนด่านสำโรง เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ โดยใช้อาคารแบบ พ 424 (ปัจจุบันคืออาคาร 1) ชั้น 2 เป็นห้องสมุด มีขนาดเท่ากับ 4 ห้องเรียน พร้อมวัสดุครุภัณฑ์ และหนังสือต่าง ๆ เป็นมูลค่า 282,029 บาท ใฃ้ชื่อว่า "ห้องสมุดเฟลฟ์ดอด์จอนุสรณ์สมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์"และในปีนี้ได้มีการต่อเติมอาคารเรียนแบบพิเศษ5ชั้นขึ้นเต็มรูปซึ่งเป็นอาคารแบบพ531

พ.ศ. 2529 ได้รับงบประมาณจำนวน 3,120,000 บาท สร้างอาคารโรงฝึกงานแบบ 306/26 คอนกรีตเสริมเหล็ก   3 ชั้น  ขนาด   6   ห้องเรียน

พ.ศ. 2535 ดำเนินการก่อสร้างหอพระจำนวน 2 หลัง คือหอพระรูปหล่อพระสุมทร เมธาจารย์ผู้ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมด่านสำโรง และหอพระพุทธรูปประจำโรงเรียนด้วยงบประมาณ 772,740 บาท

พ.ศ. 2536 ได้รื้อหอประชุม "จูใจบุญ" เพื่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ 9 ชั้น 1 หลัง พร้อมหอประชุม และโรงอาหารจากเงินงบประมาณ ปี 2536 – 2538 เป็นเงิน 39,915,638 บาท และเพื่อเป็นการระลึกถึง คหบดีผู้ใจบุญที่ได้สร้างหอประชุมหลังเก่าให้กับโรงเรียนเมื่อ พ.ศ. 2515 โรงเรียนมัธยมด่านสำโรง จึงได้ตั้งชื่อหอประชุมใหม่ซึ่งอยู่บริเวณชั้น  3  ของอาคารหลังนี้ว่า“หอประชุมจูใจบุญ"

พ.ศ. 2538 ดำเนินการปรับพื้นที่สนามของโรงเรียนโดยการถมทรายและเทพื้นคอนกรีต ตั้งแต่ประตูทางเข้าโรงเรียนด้านซอยวัดด่าน เพื่อปรับใช้เป็นลานอเนกประสงค์ของโรงเรียน มีขนาด 28 X 72 เมตร ใช้งบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น   268,368 บาท

พ.ศ. 2539 ดำเนินการจัดสร้างแท๊งน้ำเหล็กขนาดใหญ่ 2 ใบ พร้อมก่อสร้างฐานราก บริเวณด้านหลังอาคาร 4 เพื่อสำรองน้ำประปาจ่ายให้ทุกอาคารเรียน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 200,000 บาท และในปีเดียวกัน ได้ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ใต้อาคาร 2 เพื่อใช้เป็นสถานพยาบาลแก่บุคลากรและประชาชนทั่วไปเพื่อให้บริการด้านการตรวจรักษาโรคทั่วไป กายภาพบำบัด และบริการทางทันตกรรม โดยมีทีมแพทย์

จากโรงพยาบาลสมุทรปราการมาบริการทุกเย็นในวันราชการผู้มารับบริการสียค่าใช้จ่ายเพียงคนละ 19 บาท ภายใต้โครงการ“จิตสำนึกคุณคลินิก”ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณในการปรับปรุงสถานที่

เพื่อเป็นสถานพยาบาล จัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์ รวมถึงครุภัณฑ์สำนักงานจาก คุณพิเชษฐ์   นำตระกูลชัย ซึ่งเป็นกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนในการคืนกำไรสู่สังคม  ต่อมาเมื่อรัฐบาลมีนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค โครงการดังกล่าวจึงได้ปิดตัวลง ปัจจุบันโรงเรียนมัธยมด่านสำโรงยังคงใช้ชื่อ “จิตสำนึกคุณ” เป็นชื่อห้อง และใช้สถานที่ดังกล่าว เป็นห้องโสตทัศนศึกษาของโรงเรียน การจัดงานเลี้ยง การประชุมสัมมนา การประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษา และใช้จัดการเรียนการสอนในกรณีที่มีนักเรียนจำนวนมากที่มีจำนวนนักเรียนมากกว่า 1 ห้องเรียนปกติที่จะดำเนินการจัดการเรียนการสอนได้

พ.ศ. 2540 ดำเนินการสร้างหลังคาคลุมทางเดิน (Cover Way) คลุมทางเดินจากประตูเล็กหน้าโรงเรียนจนถึงหน้าห้องกิจการนักเรียนใช้งบประมาณทั้งสิ้น  75,000 บาท

พ.ศ. 2542 ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่หน้าห้องจิตสำนึกคุณโดยจัดทำหลังคาสแลน และปลูกต้นการเวกเพื่อเป็นไม้เลื้อยคลุมหลังคาและจัดโต๊ะม้าหินอ่อนไว้เป็นที่นั่งพักผ่อนสำหรับนักเรียน ในเวลาต่อมาได้ดำเนินการจัดทำหลังคาสแลน บริเวณหน้าอาคาร 1 และอาคาร 3 ในลักษณะเดียวกัน

พ.ศ. 2544 ได้ดำเนินการปรับปรุงประตูทางเข้าโรงเรียนเป็นประตูสแตนเลสด้วยงบประมาณ120,000บาท จัดซื้อศาลาเรือนไทยเพื่อใช้เป็นที่นั่งพักผ่อนของนักเรียนจำนวน 7 หลัง และจัดซื้อศาลาเรือนไทยเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติงานของครูเวรและยามของโรงเรียนอีก  1 หลังใช้งบประมาณทั้งสิ้น 360,000บาท นอกจากนี้ได้ดำเนินการเทคอนกรีตด้านข้างอาคาร 4 และปูกระเบื้องปูพื้นบริเวณทางขึ้นอาคาร 4 ด้วยงบประมาณทั้งสิน 70,000 บาท ในปีงบประมาณนี้ได้ดำเนินการปรับปรุงห้อง 231 ถึง 234 อาคาร 2 เพื่อเป็นห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ด้วยงบประมาณแผ่นดินจำนวนเงิน 200,000 บาท

พ.ศ. 2545 ได้ดำเนินการรื้ออาคารโรงจอดรถ และห้องน้ำนักเรียนชาย ข้างอาคาร 3 และจัดสร้างอาคารร้านค้าสหกรณ์ของโรงเรียน เป็นอาคารโครงเหล็กผนังกรุด้วยไม้ฝาเชลล่า เป็นอาคารชั้นเดียวด้วยงบประมาณ  470,000บาท

เดือนตุลาคม พ.ศ. 2547   โรงเรียนมัธยมด่านสำโรง  ได้ดำเนินการสร้างโครงหลังคาคลุมลานอเนกประสงค์ของโรงเรียน ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ ภายใต้

การบริหารงานของนายลือกฤติ์   เพชรบดี นายกเทศมนตรี  ในขณะนั้นด้วยงบประมาณจำนวน1,605,000 บาท  ลักษณะเป็นโครงหลังคาโค้งระหว่างอาคาร 2 และอาคาร 3 โครงหลังคาห่างจากเสาธง 10 เมตร ห่างจากอาคาร 4 เท่ากับ 13.50 เมตร ห่างจากอาคาร 2 เท่ากับ 3.20 เมตร ห่างจากอาคาร 3 เท่ากับ 3.60 เมตร ความสูงของโครงหลังคาจากพื้น 11 เมตร ดำเนินการแล้วเสร็จ

เมื่อวันที่4 กรกฎาคม 2548 ต่อมาได้มีการก่อสร้างโครงหลังคาเพิ่มเติมอีก 2ช่วงเสาโดยได้รับงบประมาณเพิ่มเติมจากเทศบาลตำบลสำโรงเหนืออีกเป็นเงิน 630,000 บาทดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2550 นอกจากนี้โรงเรียนได้ก่อสร้างโครงเหล็ก และหลังคาคลุมสนามเปตอง พร้อมติดตั้งรางน้ำฝน บริเวณหลังอาคาร    4      ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น    56,700  บาท

พ.ศ. 2552 ได้ติดตั้งหลังคาโค้ง เพื่อเชื่อมกันสาดอาคาร 2 กับหลังคาทางเดิน (Cover Way) ด้วยงบประมาณ 34,000 บาท

พ.ศ. 2553 ดำเนินการติดตั้งกันสาดโครงเหล็กบุแผ่นโพลี ขนาด 8.50 X 3.70 เมตร บริเวณหน้าห้องจิตสำนึกคุณ กันสาดทางเชื่อมชั้น 1 ระหว่างอาคาร 2 และอาคาร 1 บริเวณทางเข้าห้องพยาบาล และติดตั้งหลังคาโค้งเชื่อมกันสาดอาคาร 2 กับทางเดินหน้าห้องคอมพิวเตอร์ 218 ด้วยงบประมาณรวม 52,000 บาท

เดือนเมษายน2554โรงเรียนได้รับงบประมาณสนับสนุนจากเทศบาลตำบลสำโรงเหนือเป็นเงิน 370,000 บาท เพื่อดำเนินการปรับปรุงห้องปฏิบัติการการอาหาร สำหรับใช้ในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน และการจัดงานของโรงเรียน นอกจากนี้โรงเรียนได้ดำเนินการปรับปรุงสวนหย่อมของโรงเรียน โดยการปูพื้นกระเบื้องขนาดพื้นที่ 3 X 20 ตารางเมตร และย้ายศาลาทรงไทยจำนวน 7 หลัง จากบริเวณหน้าอาคาร 4 มาไว้ในบริเวณส่วนหย่อม เพื่อใช้เป็นที่พักผ่อนของนักเรียน และดำเนินการย้ายศาลตายาย (ศาลเจ้าที่)  จากบริเวณประตูโรงเรียนทางออกไปวัดด่านสำโรง ไปไว้บริเวณทางเข้าส่วนหย่อมดังกล่าวและได้ดำเนินทางพิธีศาสนาเมื่อ   วันที่  9 กันยายน2554

เดือน พฤษภาคม 2554 โรงเรียนมัธยมวัดด่านสำโรง ได้ดำเนินการปรับปรุงเสาธงของโรงเรียนโดยรื้อฐานรากเสาธงเก่าและดำเนินการก่อสร้างใหม่ในลักษณะเป็นเวทีพื้นหินแกรนิต พื้นเวทีขนาด8.50 X 10 เมตรตารางเมตร สูงจากพื้น 1.20 เมตร ด้านใต้เวทีใช้เป็นที่เก็บวัสดุอุปกรณ์ของโรงเรียน ลึกจากพื้น 0.50 เมตร ตัวเสาธงเป็นเสาธงสแตนเลส สูง 15 เมตร เสาธงเล็กประกอบเป็นเสาธงเหล็กจำนวน 7 ต้น ดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อเดือนตุลาคมพ.ศ. 2554ใช้งบประมาณดำเนินการทั้งสิ้นจำนวน1,285,000บาท

ปัจจุบันโรงเรียนมัธยมวัดด่านสำโรงมีอาคารเรียนจำนวน 4 หลัง (อาคาร 1 เป็นอาคารคอนกรีต 4 ชั้น อาคาร 2 เป็นอาคารคอนกรีต 5 ชั้น อาคาร 3 เป็นอาคารคอนกรีต 5 ชั้น และอาคาร 4 เป็นอาคารคอนกรีต 9 ชั้น)  หอพระพุทธรูป 2  หลังวิหารหอพระ 1 หลังศาลาเรือนไทยจำนวน 8 หลัง [3]

การเรียนการสอน[แก้]

ปัจจุบันโรงเรียนมัธยมวัดด่านสำโรงมีการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.1 - ม.6) ดังนี้

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-ม.3)[แก้]

  1. แผนการเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (Gifted)
  2. แผนการเรียนปกติ

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6)[แก้]

  1. แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
  2. แผนการเรียนศิลป์ภาษาจีน
  3. แผนการเรียนภาษาญี่ปุ่น
  4. แผนการเรียนคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  5. แผนการเรียนไทย - สังคม

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°38′52″N 100°35′56″E / 13.647672°N 100.598847°E / 13.647672; 100.598847