โรงเรียนการไปรษณีย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนการไปรษณีย์
ที่ตั้ง
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
ข้อมูล
ชื่ออื่นคปท.
ประเภทสถาบันวิชาชีพเฉพาะ
คำขวัญซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย
และสำนึกในการให้บริการที่ดี
สถาปนา22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2432
หน่วยงานกำกับฝ่ายพัฒนาบุคลากร
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
ผู้อำนวยการประเสริฐ ชัยพรตระกูลกิจ
สี███ แดง
เพลงมาร์ชไปรษณีย์

โรงเรียนการไปรษณีย์ เป็นสถาบันวิชาชีพเฉพาะในความควบคุมของฝ่ายพัฒนาบุคลากร บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด รัฐวิสาหกิจในสังกัด กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อผลิตบุคลากรทางด้านงานไปรษณีย์โดยเฉพาะซึ่งบรรจุเข้าทำงานเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยในอดีตนั้นตั้งอยู่ที่ไปรษณียาคาร ปัจจุบันได้ตั้งอยู่ภายในสำนักงานใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนการไปรษณีย์ หรือในชื่อเดิมในช่วงก่อตั้งว่า โรงเรียนกรมไปรษณีย์โทรเลข ได้สถาปนาก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2432 ตามพระดำริของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ที่ต้องการให้มีการผลิตบุคลากรที่ทำงานในด้านนี้โดยเฉพาะ เนื่องจากทรงเล็งเห็นความสำคัญของการไปรษณีย์โทรเลขซึ่งมีการเติบโตมากขึ้นในขณะนั้น จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้ากรมพระยาภารุพันธุวงศ์วรเดช หรือสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ เป็นพระราชโอรส ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระเทพศิรินทรามาตย์ ร่วมพระอุทรเดี่ยวกันกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านสถาปนาโรงเรียนไปรษณีย์โทรเลขขึ้น

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2432 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธ์วงศ์วรเดช ทรงดำริให้จัดตั้ง โรงเรียนไปรษณีย์โทรเลข ขึ้นแต่ไม่มีอาคารเรียนเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ ได้ย้ายที่เรียนไปตามที่ต่างๆหลายแห่ง เช่นช่วง พ.ศ. 2487 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนบ้านสมเด็จ ต่อมา พ.ศ. 2487 เรียนที่แพร่งนราโดยการเช่าอาคารของวังกรมพระนราธิปพงศ์ประพันธ์

พ.ศ. 2496 ปรับปรุงสถานที่ตึกไปรษณียาคาร 1 ที่วัดเลียบ (ใช้อาคารเดียวกันกับสถานีวิทยุกระจายเสียง 1 ป.ณ.) เป็นที่ตั้งโรงเรียนกรมไปรษณีย์โทรเลข

พ.ศ. 2506 โรงเรียนกรมไปรษณีย์โทรเลข มีสถานที่เรียนเป็นสัดส่วน สร้างอาคารเรียน ที่ซอยสายลม ถนนพหลโยธิน (เมื่อ จัดตั้งการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจ ได้แยกฝ่าย ปฏิบัติการออกไป ฝ่ายบริหารความถี่วิทยุ สำนักงานเลขานุการกรมไปรษณีย์โทรเลข ได้ไปใช้ ตึกที่ทำการกรมไปรษณีย์โทรเลข และต่อมาทุบตึกทิ้ง สร้างเป็นตึกสำนักงาน กทช. (ปัจจุบันคือ กสทช. ตั้งอยู่ซอยสายลม เยื้องกองบัญชาการตำรวจตระเวณชายแดน ถนนพหลโยธิน)

พ.ศ. 2519 มีการปรับปรุงกิจการไปรษณีย์และโทรคมนาคม ให้มีความคล่องตัว ในระบบการบริหาร เพื่อให้เกิดการบริการที่มีประสิทธิภาพ จนเกิดการพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของ กรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อมีประกาศใช้พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 เพื่อแยกงานระดับปฏิบัติการออกไป และจัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีชื่อว่า "การสื่อสารแห่งประเทศไทย" สังกัดกระทรวงคมนาคม จึงทำให้โรงเรียนกรมไปรษณีย์โทรเลข เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนการไปรษณีย์และโทรคมนาคม" โดยมีการจัดการเรียนการสอนแผนกวิชาไปรษณีย์และแผนกวิชาโทรคมนาคม


พ.ศ. 2528 ได้หยุดการสอนในแผนกวิชาโทรคมนาคม อย่างถาวร

พ.ศ. 2522 ทำการย้ายที่ตั้งโรงเรียนไปสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ ณ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ (ในปัจจุบัน) มีชื่อว่า "โรงเรียนการไปรษณีย์และโทรคมนาคม"

พ.ศ. 2546 คณะรัฐมนตรี ได้มีมิติแปลงสภาพการสื่อสารแห่งประเทศไทย มาจัดตั้งเป็นบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจภายใต้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2546

พ.ศ. 2547 โรงเรียนการไปรษณีย์และโทรคมนาคม ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนการไปรษณีย์" โดยมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะระบบงานไปรษณีย์และหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง จนถึงปัจจุบัน

เมื่อนักเรียนโรงเรียนไปรษณีย์ได้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรแล้ว จะได้รับการบรรจุเข้าทำงานเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตำแหน่ง พนักงานไปรษณีย์ 2 ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

ทำเนียบอาจารย์ใหญ่โรงเรียนการไปรษณีย์[แก้]

1. ขุนวิทยุวากยวิจารณ์ (เขียน พลรัตน์)

2. นายระเบียบ (พิชิต) คมสัน

3. นายสว่าง สงวนวงศ์

4. นายอวบ พงษ์ปรีชา (พ.ศ. 2486-2504)

5. นายนินนาท สุขะจาติ (พ.ศ. 2505-2516)

6. นายวีระ เตชะภัทร (พ.ศ. 2517-2521)

7. นายสงวน สังขชาติ (พ.ศ. 2522-2536)

8. นายสมศักดิ์ มาพบสุข (พ.ศ. 2537-2541)

9. นายวัฒนไชย สุวรรณโณ (พ.ศ. 2546-2547)

10. นายสมชาย ไกรทอง (พ.ศ. 2547-2551)

11. นายไมตรี สังข์สุข (พ.ศ. 2552-2558)

12. นายประเสริฐ ชัยพรตระกูลกิจ (พ.ศ. 2558-ปัจจุบัน)

หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรของโรงเรียนการไปรษณีย์ ในปัจจุบันได้มีการแบ่งหลักสูตรการเรียนเป็นการเรียนภาคปกติ และภาคปฏิบัติ ใช้ระยะเวลาการศึกษา 1 ปี

คุณสมบัติ[แก้]

ผู้สมัครเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนการไปรษณีย์ จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  • สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ (สายสามัญ/กศน.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พาณิชกรรม
  • คุณสมบัติของผู้สมัคร
    • มีสัญชาติไทย
    • มีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปี และไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันปิดรับสมัคร (เกิดระหว่างวันที่ 16 กันยายน 2541-15 กันยายน 2549)
    • เพศชายต้องพ้นจากการรับราชการทหารกองประจำการแล้ว โดยมีหลักฐานของทางราชการรับรองว่าพ้นจากการรับราชการทหารกองประจำการ หรือพ้นจากการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการแล้ว และไม่ต้องเป็นทหารหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าไม่ต้องเป็นทหารมาแสดง
    • สามารถเข้าศึกษาในโรงเรียนการไปรษณีย์ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้เต็มเวลา
    • มีใจรักในการให้บริการ
    • เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญไทย
    • เป็นผู้มีร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นผู้ไร้ความสามารถหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือเป็นโรคดังต่อไปนี้
      • โรคเรื้อน
      • วัณโรคในระยะอันตราย
      • โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฎอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
      • โรคยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง
    • ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี
    • ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
    • ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
    • ไม่เคยถูกลงโทษให้ออก ไล่ออกจากสถานศึกษาใด ๆ
    • ไม่เป็นผู้คยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก ไล่ออก จากหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือบริษัท มหาชน จำกัด เพราะกระทำผิดวินัย หรือทุจริตต่อหน้าที่
    • ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างพักราชการ พักงาน หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ ออกจากงานไว้ก่อนหรือต้องหาคดีอาญาอันมิใช่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
    • ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้จากการกระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
    • ผู้สมัครที่นำเอกสารปลอมมายื่นเพื่อประกอบการสมัครสอบคัดเลือก หากตรวจพบภายหลังจะถือว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ โดยบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จะให้ออกทันทีและจะดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายต่อไป[1]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]