โรคกุ้งตายด่วน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรคกุ้งตายด่วน หรือกลุ่มอาการตายด่วน (อังกฤษ: Shrimp Early Mortality Syndrome, ย่อ: EMS) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มอาการตับและตับอ่อนตายเฉียบพลัน (อังกฤษ: Acute Hepatopancreatic Necrosis Syndrome, ย่อ: AHPNS)[1] เป็นโรคระบาดส่งผลถึงตายในกุ้งเลี้ยง ซึ่งเป็นอาการที่พบว่าเซลล์ตับและตับอ่อนของกุ้งมีลักษณะการตายหรือถูกทำลายอย่างรุนแรง[2]

โรคกุ้งตายด่วน (EMS) หรือกลุ่มอาการตับและตับอ่อนตายเฉียบพลัน (AHPNS) เริ่มมีการระบาดครั้งแรกในรัฐเท็กซัสปี 2528 จากนั้นโรคนี้แพร่ระบาดไปยังฟาร์มกุ้งในทวีปอเมริกาใต้[3] ต่อมาในปี 2552 มีการแพร่มายังประเทศจีน และกระจายอย่างรวดเร็วสู่ประเทศเวียดนามในปี 2553 ในมาเลเซียปี 2554 และประเทศไทยปลายปี 2554 ตามลำดับ[4]

ในต้นปี 2556 พบว่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคนี้คือ Vibrio parahaemolyticus[5] อัตราการตายสูงสุดพบในกุ้งขาวแวนนาไม (Penaeus vannamei)ซึ่งเป็นกุ้งเลี้ยงที่ติดในสองอันดับแรกที่มีการเลี้ยงมากที่สุด[6] โดยกุ้งที่เกิดโรคกุ้งตายด่วน (EMS) หรือกลุ่มอาการตับและตับอ่อนตายเฉียบพลัน (AHPNS) จะเกิดภายใน 20 - 30 วันหลังการปล่อยลูกกุ้งลงบ่อ ในช่วงระยะแรกกุ้งในบ่อที่ป่วยจะไม่แสดงอาการผิดปกติอย่างเด่นชัด ไม่มีอาการเกยขอบบ่อ แต่จะเริ่มพบกุ้งตายในยอและตายที่ก้นบ่อ หลังจากนั้นจะพบซากกุ้งลอยขึ้นมา กุ้งเริ่มทยอยตาย[7] และหากไม่ได้รับการรักษาก็จะส่งผลกระทบต่อกุ้งระยะโพสท์ลาวาซึ่งจะมีอัตราตายถึง 90% ภายใน 30 วัน[8]

ภาพตัวอย่างการเกิดโรคตายด่วนในกุ้งที่เกิดภายในเซล์ตับ

จากงานวิจัยพบว่าโรคกุ้งตายด่วนไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพคน เนื่องจากเชื้อ V.parahaemolyticus บางสายพันธุ์ที่พบได้ยากเท่านั้นที่มียีนชนิดพิเศษ 2 ตัวซึ่งสามารถก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารของคนได้และมีเพียง 1-2% ของสายพันธุ์ของเชื้อ V.parahaemolyticus ที่พบได้ในธรรมชาติทั่วโลกเท่านั้นที่มียีนพิเศษ 2 ชนิดนี้[9]

อาการและอาการแสดง[แก้]

ช่วงแรกที่กุ้งเริ่มป่วยจะยังไม่แสดงอาการผิดปกติ แต่ต่อมา กุ้งจะมีอาการ ดังนี้[10]

  • ว่ายน้ำเฉื่อย
  • เซื่องซึม
  • กินอาหารน้อยลง
  • ซีดหรือสีคล้ำเพราะถูกทำลายจากการติดเชื้อแบคทีเรีย[11]
  • ตับมีสีขาวซีด เนื่องจากสูญเสียเม็ดสีในชั้นแคปซูลของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
  • ตับฝ่อลีบอย่างเห็นได้ชัด
  • เปลือกนิ่ม ลำไส้ไม่มีอาหาร หรือขาดช่วง
  • อาจมีจุดหรือเส้นสีดำที่ตับ
  • ตับเหนียว บี้ด้วยนิ้วมือยาก
  • จมลงก้นบ่อ

พยาธิสภาพ[แก้]

อาการเสื่อมสภาพของตับและตับอ่อน จะเริ่มจาก R-cell, B-cell และ F-cell ในตับและตับอ่อนมีจำนวนลดลง จากนั้นการแบ่งตัวของนิวเคลียสใน E-cell ก็ต่ำลงเช่นกัน จึงทำให้ R, B, F-cell และ E-cell เริ่มทำงานผิดปกติตามลำดับ ส่งผลให้ส่วนต้นของท่อของเซลล์ตับและตับอ่อนเริ่มมีการเสื่อมสภาพไปจนถึงส่วนปลายของท่อ ซึ่งจะพบความผิดปกติของนิวเคลียส รวมถึงเซลล์ตับและตับอ่อนหลุดลอก[12][13]

เนื้อเยื่อบริเวณตับและตับอ่อนมีความผิดปกติ โดยเริ่มจากเซลล์เยื่อบุ (epithelial cell) ของตับและตับอ่อนถูกทำลายอย่างรุนแรงคล้ายกับถูกสารพิษ ตับอ่อนมีการสะสมไขมันทั้งในรูปของ fat storage cell vesicle และ oil droplet ลดต่ำลง การทำงานของเซลล์ที่หลั่งสารมีประสิทธิภาพลดลงด้วย ซึ่งกุ้งที่มีอาการติดเชื้ออย่างรุนแรงพบว่าไขมัน, เซลล์ของตับและตับอ่อน และเซลล์ที่ทำหน้าที่หลั่งสารถูกทำลายรุนแรงมากยิ่งขึ้นและหลุดสู่ช่องของท่อตับ ในระยะท้ายของโรคมีการติดเชื้อซ้ำ (secondary infection) อย่างรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นโดยการฉวยโอกาสของเชื้อ Vibrio parahaemolyticus และในที่สุดกุ้งที่ติดเชื้อจะตาย เป็นผลมาจากการที่ตับและตับอ่อนล้มเหลว[14]

สาเหตุ[แก้]

สาเหตุหลักที่ทำให้กุ้งตายเป็นผลมาจากตับและตับอ่อนถูกทำลาย เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio parahaemolyticus เป็นเชื้อที่สร้างสารพิษจะอยู่เฉพาะที่ (localized infection) พบในกระเพาะอาหาร เมื่อตับและตับอ่อนของกุ้งถูกทำลายจึงจะพบเชื้อแบคทีเรียที่บริเวณตับและตับอ่อนเป็นจำนวนมาก[15] ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มจำนวนของเชื้อ “Vibrio parahaemolyticus” ได้แก่ น้ำที่มีออกซิเจนต่ำ สารอินทรีย์สูง, การหมักหมมของอุปกรณ์, อาหารกุ้งตกค้างในบ่อ และเศษตะกอนอินทรีย์คงค้าง[16] ซึ่งเชื้อก่อโรคจะชอบน้ำที่มีอุณหภูมิสูง (เกิน 29 °C) และมีระดับความเค็มสูง (กว่า 20–38 ppt) การหลีกเลี่ยงภาวะเหล่านี้ในบ่อเลี้ยงจึงมีความสำคัญต่อมาตรการควบคุมโรค[17] แต่ไม่ทนกรด อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะทราบสาเหตุของโรค แต่การควบคุมและป้องกันแบคทีเรียนี้เป็นไปได้ยาก เนื่องจากยังขาดวิธีการตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคที่มีความจำเพาะและรวดเร็ว[18]

วิทยาการระบาด[แก้]

พบในกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon) และกุ้งขาวแวนนาไม (Penaeus vannamei)[19] และ Litopenaeus stylirostris (กุ้งน้ำเงินตะวันตก) เป็นหลัก แต่มีรายงานเพิ่มอีกสามชนิดในทวีปอเมริกา ได้แก่ Farfantepenaeus aztecus, Farfantepenaeus californiensis, และ Litopenaeus setiferus[3]

การป้องกันและควบคุมโรค[แก้]

ให้มีฆ่าเชื้อโรคทั้งในบ่อและเชื้อที่อาจมากับไข่กุ้ง นอร์เพลียสทั้งของกุ้งและของไรอาร์ทีเมีย รวมถึงต้องมีการพักบ่อระหว่างการเลี้ยงแต่ละครั้ง การเลี้ยงต้องมีการควบคุมสภาพแวดล้อม นอกจากนั้น โรงเพาะควรมีการใช้โปรไบโอติกและใช้ยาต้านจุลชีพเมื่อจำเป็นอีกด้วย ตลอดจนควบคุมการเพิ่มจำนวนของแพลงก์ตอน การให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสม การใช้ปูนขาวโรยบ่อ มีการพักบ่อ เป็นต้น[20]

อาจใช้สารกลุ่มโพลีฟีนอล (Polyphenol) ซึ่งเป็นสารสกัดจากพืชธรรมชาติมีสาร Bioactive Flavonoids เป็นส่วนประกอบหลัก สารกลุ่มนี้สามารถควบคุมปริมาณเชื้อแบคทีเรีย Vibrio parahaemolyticus ได้ รวมทั้งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระก็เป็นส่วนส่งเสริมให้เซลล์ของตับและตับอ่อนของกุ้งแข็งแรง และฟื้นตัวได้ดีขึ้น[21]

การป้องกันการเกิดโรคกุ้งตายด่วนเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ลดความเสียหายที่เกิดจากโรคดังกล่าวได้ด้วยวิธีการตรวจลูกกุ้งก่อนปล่อยลงบ่อเลี้ยงและการสุ่มตรวจตลอดทุกช่วงอายุการเลี้ยงกุ้งดังนั้นถ้ามีวิธีที่ตรวจวัดเชื้อก่อโรคได้เร็วและมีประสิทธิภาพสูงจึงมีประโยชน์กับอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งเป็นอย่างมาก จากรายงานการวิจัยของ Arunrut et al. 2016 ได้พัฒนาชุดตรวจแบบใหม่ขึ้นโดยอาศัยเทคนิค Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) ที่ใช้เพียงเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Heating block) ที่ราคาไม่แพง ร่วมกับการอ่านผลด้วยตาเปล่าโดยใช้ตัวตรวจจับดีเอ็นเอที่ติดฉลากด้วย Gold nanoparticle มาประยุกต์ใช้ในการตรวจหาเชื้อ V. parahaemolyticus ที่เป็นสาเหตุของโรคตับตายเฉียบพลันสาเหตุหนึ่งของโรคกุ้งตายด่วน โดยการออกแบบไพรเมอร์แลมป์ที่จำเพาะต่อ toxin gene ของเชื้อ V. parahaemolyticus ในการตรวจหาเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นแนวทางป้องกันและควบคุมโรคกุ้งตายด่วนที่สะดวก ง่าย รวดเร็ว และแม่นยำได้ [22]

ในประเทศไทย[แก้]

อุตสาหกรรมกุ้งของไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโรคกุ้งตายด่วน ส่งผลให้ผลผลิตกุ้งลดลงถึง 50% โดยปี 2556 มีผลผลิตลดลงเหลือประมาณ 270,000 ตัน ในขณะที่ภาพรวมของผลกระทบจากการระบาดของโรคกุ้งตายด่วนในอีกหลายประเทศ ทำให้การผลิตกุ้งเลี้ยงของโลกลดลงประมาณ 11% ปัญหาโรคกุ้งตายด่วน สร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งมากทั้งต่อเกษตรกรและอุตสาหกรรมส่งออก ส่งผลให้ผู้นำเข้าเริ่มหากุ้งจากประเทศอื่นทดแทน และผู้เลี้ยงเองไม่มีความมั่นใจในการลงกุ้งเลี้ยง[23]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-16. สืบค้นเมื่อ 2016-01-13.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-16. สืบค้นเมื่อ 2016-01-13.
  3. 3.0 3.1 Melba G. Bondad-Reantaso, S. E. McGladdery, I. East & R. P. Subasinghe (บ.ก.). "Chapter 4". Asia Diagnostic Guide to Aquatic Animal Diseases (PDF). FAO Fisheries Technical Paper 402/2, NACA/FAO 2001. ISBN 92-5-104620-4.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-06. สืบค้นเมื่อ 2016-02-24.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-06. สืบค้นเมื่อ 2016-02-24.
  6. FAO (2013) Report of the FAO/MARD Technical Workshop on Early Mortality Syndrome (EMS) or Acute Hepatopancreatic Necrosis Syndrome (AHPND) of Cultured Shrimp (under TCP/VIE/3304). Hanoi, Viet Nam, 25–27 June 2013. FAO Fisheries and Aquaculture Report No. 1053. Rome. 54 pp.
  7. http://www.fisheries.go.th/cf-songkhla/index.php?option=com_content&view=article&id=8:ems
  8. FAO (2013) Report of the FAO/MARD Technical Workshop on Early Mortality Syndrome (EMS) or Acute Hepatopancreatic Necrosis Syndrome (AHPND) of Cultured Shrimp (under TCP/VIE/3304). Hanoi, Viet Nam, 25–27 June 2013. FAO Fisheries and Aquaculture Report No. 1053. Rome. 54 pp.
  9. http://www.fisheries.go.th/ems/images/15.05.56/FAO%20Cause%20of%20AHPNS_p.pdf
  10. http://www.fisheries.go.th/fpo-samutpra/index.php?option=com_weblinks&view=category&id=42&Itemid=128
  11. http://www.aquathai.org/z27ou-7m.html?&section=download&file_id=979[ลิงก์เสีย]
  12. https://docs.google.com/file/d/0B2nVWfalCX3NbXgtaF9BbFZScGs/edit
  13. http://www.aquathai.org/ubpz9egk-3.html?&Page=ArticlePlay&Article=307[ลิงก์เสีย]
  14. http://www.aquathai.org/z27ou-7m.html?&section=download&file_id=979[ลิงก์เสีย]
  15. http://www.shrimpaqua.com/download/EMS/EMS&Troubleshooting.pdf[ลิงก์เสีย]
  16. Jun, J. W., J. E. Han, et al. "Potential application of bacteriophage pVp-1: Agent combating Vibrio parahaemolyticus strains associated with acute hepatopancreatic necrosis disease (AHPND) in shrimp." Aquaculture.
  17. Donald V. Lightner, บ.ก. (1996). A Handbook of Shrimp Pathology and Diagnostic Procedures for Disease of Cultured Penaeid Shrimp. Baton Rouge: World Aquaculture Society. ISBN 0-9624529-9-8.
  18. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-06. สืบค้นเมื่อ 2016-02-24.
  19. http://www.fisheries.go.th/cf-songkhla/index.php?option=com_content&view=article&id=8:ems
  20. คู่มือการตรวจและวินิจฉัยโรคในกุ้งทะเล โดย นายสัตวแพทย์ ดร.ทินรัตน์ ศรีสุวรรณ์ ศูนย์วิจัยและชันสูตรโรคสัตว์น้ำ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ เผยแพร่ใน Thai-NIAH eJournal : ISSN 1905-5048, http://www.dld.go.th/niah เก็บถาวร 2014-01-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, V3 N2 (September – December 2008) หน้า 89 - 121.
  21. http://www.technologychaoban.com/news_detail.php?tnid=773[ลิงก์เสีย]
  22. http://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0151769
  23. http://www.nstda.or.th/news/17770-biotec-workshops-shrimp-ems-and-analysis-solutions[ลิงก์เสีย]