โชเน็งจัมป์รายสัปดาห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โชเนนจัมป์)
โชเน็งจัมป์
หน้าปกของหนังสือการ์ตูนโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ เล่ม 1
หน้าปกของหนังสือการ์ตูนโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ เล่ม 1
บรรณาธิการ โยชิฮิสะ เฮชิ
ประเภท โชเน็ง
นิตยสารราย รายปักษ์ (พ.ศ. 2511–พ.ศ. 2512)
รายสัปดาห์ (ตุลาคม พ.ศ. 2511–ปัจจุบัน)
ยอดพิมพ์ 2.4 ล้านเล่ม (พ.ศ. 2558)
ผู้พิมพ์ ชูเอชะ
วันจำหน่ายฉบับแรก 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511
บริษัท ชูเอชะ
ประเทศ ญี่ปุ่น
ภาษา ญี่ปุ่น
เว็บไซต์ shonenjump.com/e/

โชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ (ญี่ปุ่น: 週刊少年ジャンプโรมาจิShūkan Shōnen Janpu; อังกฤษ: Weekly Shōnen Jump) หนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ที่ขายดีที่สุดของประเทศญี่ปุ่น[1] ยอดจำหน่ายมากกว่า 3 ล้านเล่ม โชเน็งจัมป์จำหน่ายรายสัปดาห์ในประเทศญี่ปุ่น และจำหน่ายรายเดือนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป

ตลาดเป้าหมายหลักของโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์อยู่ที่เด็กผู้ชาย (โชเน็ง แปลว่า เด็กชาย หรือผู้ชาย) เนื้อหาภายในหนังสือการ์ตูนจะเป็นลักษณะการต่อสู้ และการผจญภัย โดยตัวละครหลักจะมีพลังพิเศษต่างๆ โชเน็งจัมป์เริ่มตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2511 โดยบริษัทชูเอชะ เคยมียอดจำหน่ายสูงถึง 6 ล้านเล่ม โชเน็งจัมป์ได้มีนำมาจำหน่ายภายใต้ชื่อโชเนนจัมป์ ในสหรัฐอเมริกา เยอรมัน สวีเดน นอร์เวย์ และการ์ตูนหลายเรื่องภายในเล่มได้มีการนำมาแปลและจำหน่ายในหลายประเทศในทวีปเอเชีย รวมทั้งประเทศเกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน และไทย

ช่วงกลางปีทศวรรษ 1980 ถึงกลางทศวรรษ 1990 เป็นยุคที่นิตยสารมีอัตราการเติบโตไหลเวียนสูงที่สุด อย่างไรก็ตามการเติบโตนั้นก็ได้ลดลงอย่างมากในเวลาต่อมาเมื่อเข้าทศวรรษ 2000

รายชื่อการ์ตูนที่ตีพิมพ์ในโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ในปัจจุบัน[แก้]

ชื่อการ์ตูน นักเขียนการ์ตูน ตีพิมพ์ตอนแรก
วันพีช (ญี่ปุ่น: ワンピースโรมาจิWan Pīsu; อังกฤษ: One Piece) เออิจิโร่ โอดะ กรกฎาคม 1997
ฮันเตอร์ x ฮันเตอร์ (ญี่ปุ่น: ハンター×ハンターโรมาจิHantā × Hantā; อังกฤษ: Hunter x Hunter) โยชิฮิโร โตกาชิ มีนาคม 1998
มายฮีโร่ อคาเดเมีย (ญี่ปุ่น: 僕のヒーローアカデミアโรมาจิBoku no Hīrō Akademia; อังกฤษ: My Hero Academia) โคเฮ โฮริโคชิ กรกฎาคม 2014
แบล็คโคลเวอร์ (ญี่ปุ่น: ブラッククローバーโรมาจิBurakku Kurōbā; อังกฤษ: Black Clover) ยูกิ ทาบาตะ กุมภาพันธ์ 2015
มหาเวทย์ผนึกมาร (ญี่ปุ่น: 呪術廻戦โรมาจิJujutsu Kaisen) เกะเกะ อาคุทามิ มีนาคม 2018
ปฏิบัติการลับบ้านโยซากุระ (ญี่ปุ่น: 夜桜さんちの大作戦โรมาจิYozakura-san Chi no Daisakusen) ฮิตสึจิ กนไดระ สิงหาคม 2019
ศึกโลกเวทมนตร์คนพลังกล้าม (ญี่ปุ่น: マッシュル-MASHLE-โรมาจิMasshuru) ฮาจิเมะ โคโมโตะ มกราคม 2020
อันเดด อันลัค (ญี่ปุ่น: アンデッドアンラックโรมาจิAndeddo Anrakku) โยชิฟูมิ โทซูกะ มกราคม 2020
ผมกับโรโบโกะ หุ่นเมดพันธุ์ซ่า (ญี่ปุ่น: 僕とロボコโรมาจิBoku to Roboko) ชูเฮ มิยาซากิ กรกฎาคม 2020
เบิร์นเดอะวิตช์ (อังกฤษ: Burn the Witch) ไทโตะ คูโบะ สิงหาคม 2020
ซากาโมโตะเดส์ (อังกฤษ: Sakamoto Days) เรียว นากามะ พฤศจิกายน 2020
นายน้อยจอมโกย ก้าวสู่เส้นทางแห่งวีรบุรุษ (ญี่ปุ่น: 逃げ上手の若君โรมาจิNige Jōzu no Wakagimi) ยูเซ มัตสึอิ มกราคม 2021
วิทช์วอทช์ (ญี่ปุ่น: ウィッチウォッチโรมาจิWitchi Wotchi) เค็นตะ ชิโนฮาระ กุมภาพันธ์ 2021
กล่องรักวัยใส (ญี่ปุ่น: アオのハコโรมาจิAo no Hako) โคจิ มิอูระ เมษายน 2021
อาคาเนะ พลิกตำนานวงการราคุโกะ (ญี่ปุ่น: あかね噺โรมาจิAkane-banashi) ยูกิ ซูเอนางะ, ทากามาสะ โมอุเอะ กุมภาพันธ์ 2022
รูริดรากอน (ญี่ปุ่น: ルリドラゴンโรมาจิRuridoragon; อังกฤษ: RuriDragon) มาซาโอกิ ชินโด มิถุนายน 2022
Ginka & Glüna (ญี่ปุ่น: ギンカとリューナโรมาจิGinka to Ryūna) ชินเปอิ วาตานาเบะ กันยายน 2022
Tokyo Demon Bride Story (ญี่ปุ่น: 大東京鬼嫁伝โรมาจิDai Tōkyō Oniyome Den) ทาไดจิ นากามะ กันยายน 2022
Cipher Academy (ญี่ปุ่น: 暗号学園のいろはโรมาจิAngō Gakuen no Iroha) Nisio Isin, Yuji Iwasaki พฤศจิกายน 2022
Ichigoki's Under Control!! (ญี่ปุ่น: イチゴーキ!操縦中โรมาจิIchigōki! Sōjūchū) Seiji Hayashi พฤศจิกายน 2022
The Ichinose Family's Deadly Sins (ญี่ปุ่น: 一ノ瀬家の大罪โรมาจิIchinose-ke no Taizai) Taizan 5 พฤศจิกายน 2022
Fabricant 100 (ญี่ปุ่น: 人造人間100โรมาจิJinzō Ningen 100) Daisuke Enoshima ธันวาคม 2022

อ้างอิง[แก้]

  1. "2010 Japanese Manga Magazine Circulation Numbers". Anime News Network. 2011-01-17. สืบค้นเมื่อ 2015-02-20. The bestselling manga magazine, Shueisha's Weekly Shonen Jump, rose in circulation again from 2,809,362 copies to 2,876,459.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]