โจโจส์บิซาร์แอดเวนเจอร์ (วิดีโอเกม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โจโจส์บิซาร์แอดเวนเจอร์
ใบปลิวสำหรับเกมอาร์เคดดั้งเดิมซึ่งเปิดตัวในชื่อโจโจส์เวนเจอร์นอกประเทศญี่ปุ่น
ผู้พัฒนาแคปคอม
ผู้จัดจำหน่ายแคปคอม
อำนวยการผลิตโคจิ นากาจิมะ
ออกแบบชินจิอิโร โอบาตะ
โยชิฟูมิ ฟูกูดะ
มาโมรุ โอฮาชิ
โคจิ ชิมิซุ
แต่งเพลงยูโกะ ทาเกฮาระ
เซ็ตสึโอะ ยามาโมโตะ
เอนจินเอ็มที เฟรมเวิร์ก (เวอร์ชันความคมชัดสูง)
เครื่องเล่นอาร์เคด, เพลย์สเตชัน, ดรีมแคสต์, เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360
วางจำหน่าย
ธันวาคม ค.ศ. 1998
แนวต่อสู้
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น
ระบบอาร์เคดซีพี ซิสเตม III

โจโจส์บิซาร์แอดเวนเจอร์[a] (อังกฤษ: JoJo's Bizarre Adventure; ญี่ปุ่น: ジョジョの奇妙な冒険) เป็นวิดีโอเกมต่อสู้ที่พัฒนาโดยบริษัทแคปคอมโดยอิงจากมังงะของฮิโรฮิโกะ อารากิ ในชื่อเรื่องเดียวกัน เกมนี้พัฒนาโดยทีมเดียวกับที่รับผิดชอบซีรีส์สตรีทไฟเตอร์ III

เกมนี้เดิมเปิดตัวในอาร์เคดใน ค.ศ. 1998 บนแผงวงจรอาร์เคดซีพี ซิสเตม III (CPS-3) โดยเวอร์ชันนี้เป็นที่รู้จักนอกประเทศญี่ปุ่นในชื่อโจโจส์เวนเจอร์ (อังกฤษ: JOJO's Venture) ส่วนเกมเวอร์ชันอัปเดตเปิดตัวใน ค.ศ. 1999 โจโจส์บิซาร์แอดเวนเจอร์: เฮอริทิจฟอร์เดอะฟิวเจอร์ (ジョジョの奇妙な冒険 未来への遺産, JoJo no Kimyō na Bōken Mirai e no Isan) โดยกลายเป็นเกมที่หกและเป็นเกมสุดท้ายที่วางจำหน่ายสำหรับบอร์ดซีพี ซิสเตม III รวมถึงพอร์ตเครื่องเล่นสำหรับเพลย์สเตชันและดรีมแคสต์ก็เปิดตัวในปีนั้นเช่นกัน นอกจากนี้ เกมเวอร์ชันความคมชัดสูงได้วางจำหน่ายในรูปแบบดิจิทัลสำหรับเพลย์สเตชัน 3 และเอกซ์บอกซ์ 360 ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2012[2]

เกมดังกล่าวผสมผสานกราฟิกที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอนิเมะของบริษัทแคปคอม ดังที่เห็นในซีรีส์ดาร์กสตอล์กเกอส์ เข้ากับตัวละครสีสันสดใสและเหตุการณ์ต่าง ๆ จากการสร้างสรรค์ของฮิโรฮิโกะ อารากิ ส่งผลให้มีรูปแบบภาพที่ดูมีสไตล์และมีรายละเอียดสูง นอกจากนี้ ยังมีกลไกรูปแบบการเล่นจำนวนมากที่เห็นได้จากเกมต่อสู้ของแคปคอมเกมก่อน ๆ เช่น การใช้เกจวัดพลังสำหรับท่าไม้ตายสุดยอด เช่นเดียวกับโหมดสแตนด์ใหม่ล่าสุด ซึ่งประกอบด้วยวิญญาณผู้พิทักษ์อันเป็นเอกลักษณ์ของซีรีส์นี้ที่มาพร้อมกับตัวละครเกือบทุกตัว และสามารถเรียกหรือยกเลิกตามความประสงค์ของผู้เล่น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรายการท่าและความสามารถของตัวละคร

ฮิโรฮิโกะ อารากิ ผู้เขียนต้นฉบับทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาสำหรับเกมและสร้างงานศิลปะเฉพาะตัวสำหรับการโปรโมตและบรรจุภัณฑ์ ที่โดดเด่นที่สุดคือเขาได้พัฒนาการออกแบบตัวละครใหม่สำหรับมิโดร่าตั้งแต่ต้น เนื่องจากทางแคปคอมสนใจที่จะใช้เธอในเกม และในมังงะต้นฉบับมีการแสดงเธอตั้งแต่เอวลงมาเท่านั้น

โครงเรื่อง[แก้]

เกมดังกล่าวสร้างจากเรื่องราวหลักที่สามของมังงะเรื่องนักรบประกายดาว โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวัยรุ่นชาวญี่ปุ่นชื่อคูโจ โจทาโร่ ผู้ซึ่งได้พัฒนาความสามารถเหนือธรรมชาติที่เรียกว่า "สแตนด์" เมื่อโจเซฟ โจสตาร์ ผู้เป็นตาของเขาติดต่อมา โจทาโร่จึงรู้ว่าพลังนี้เป็นผลมาจากอิทธิพลของศัตรูคู่อาฆาตของตระกูลโจสตาร์ ที่เป็นแวมไพร์ชื่อดีโอ และขณะที่ชีวิตของแม่ของเขาตกอยู่ในอันตรายเมื่อเธอเริ่มพัฒนาสแตนด์ที่เธอควบคุมไม่ได้ โจทาโร่กับโจเซฟจึงออกเดินทางเพื่อทำลายดีโอเพื่อให้พวกเขาสามารถรักษาเธอได้

รูปแบบการเล่น[แก้]

รูปแบบการเล่นในโจโจส์บิซาร์แอดเวนเจอร์เป็นไปตามเกมต่อสู้ขั้นพื้นฐาน โดยนักสู้สองคนจะต่อสู้กันเองโดยใช้การโจมตี, เทคนิค และท่าไม้ตายที่หลากหลายเพื่อทำให้แถบพลังชีวิตของคู่ต่อสู้หมดลง ส่วนซูเปอร์มิเตอร์ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเมื่อนักสู้จัดการและรับความเสียหายสามารถใช้เพื่อทำสุดยอดท่าไม้ตายเฉพาะตัวละครนั้นได้

คุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของเกมนี้คือการมี "พวกสแตนด์" ซึ่งเป็นการปล่อยพลังงานอันทรงพลังที่เป็นเอกลักษณ์ของนักสู้แต่ละคนออกมา โดยทั่วไปแล้ว สแตนด์จะรวมเข้ากับท่าของนักสู้ ตัวละครส่วนใหญ่จะมีสแตนด์ที่ใช้งาน พวกเขาสามารถนำเข้าและออกจากการต่อสู้ได้โดยใช้ปุ่ม "สแตนด์" ในขณะที่สแตนด์ไม่อยู่ นักสู้นั้นสามารถเพิ่มพลังการโจมตี, ใช้เทคนิคเฉพาะตัว, ได้มาซึ่งการทำให้ดีขึ้น เช่น การกระโดดสองจังหวะ และแม้แต่การโจมตีของสแตนด์แยกจากตัวละครนักสู้นั้น อย่างไรก็ตาม การโจมตีสแตนด์ของนักสู้จะสร้างความเสียหายให้แก่นักสู้นั้นด้วย ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการใช้สแตนด์ และความเสียหายที่เกิดขึ้นจะเพิ่มเป็นสองเท่าหากสแตนด์อยู่ห่างจากผู้ใช้ ส่วนการปรากฏตัวของสแตนด์บนสมรภูมิจะถูกกำหนดโดยมาตรวัดสแตนด์ ซึ่งจะลดลงหากสแตนด์ถูกโจมตีและเพิ่มใหม่ในขณะที่สแตนด์ถูกถอนตัว หากมาตรวัดดังกล่าวหมดลง จะเกิด "สแตนด์แครช" ขึ้น ซึ่งจะทำให้นักสู้ติดสถานะมึนงงชั่วคราวและเปิดให้โจมตีได้ นอกจากนี้ คุณสมบัติอื่น ๆ ของสแตนด์ ได้แก่ แมตช์ "เบลซิงฟิตส์" ซึ่งสแตนด์สองตัวปะทะกัน โดยกำหนดให้นักสู้ต้องกดปุ่มเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ และความสามารถในกำหนดการสแตนด์ให้ทำการโจมตีต่อเนื่องกัน เพื่อทำการโจมตีแบบต่าง ๆ ซึ่งสามารถใช้ร่วมกับการโจมตีของผู้เล่นเองสำหรับบรรดาคอมโบที่ครอบคลุม โดยตัวละครบางตัวจะมีสแตนด์แบบ "แพสซีฟ" แทน ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในจำนวนท่าของพวกเขา ทว่าโจเซฟวัยหนุ่มยังขาดสแตนด์โดยสิ้นเชิง

นอกเหนือจากโหมดทั่วไป เช่น เวอร์ซัส เกมดังกล่าวยังมีโหมดสตอรี ซึ่งเป็นศึกสำหรับผู้เล่นเดี่ยวที่ติดตามตัวละครแต่ละตัวในขณะที่พวกเขาเผชิญหน้ากับคู่ต่อสู้ต่าง ๆ โดยเดินตามเรื่องราวของมังงะอย่างหลวม ๆ ในระหว่างแมตช์บางแมตช์ ฉากพิเศษพิเศษอาจเกิดขึ้นตามฉากในมังงะ เช่น เลื่อนด้านข้างที่ผู้เล่นต้องค้นหาและเอาชนะผู้ลอบสังหารที่มีนามว่าเอ็นดอล ในขณะที่หลีกเลี่ยงการโจมตีของสแตนด์เกบที่ใช้น้ำ หรือการต่อสู้พิเศษกับสแตนด์เดธ 13 ส่วนโหมดซูเปอร์สตอรีเป็นโหมดผู้เล่นเดี่ยวที่มีเฉพาะในพอร์ตเพลย์สเตชันของเกมนี้ โหมดดังกล่าวจะทำตามเรื่องราวของมังงะ โดยนำผู้เล่นผ่านการต่อสู้แบบต่อเนื่องในขณะที่เรื่องราวดำเนินไป โหมดนี้ยังมีมินิเกมต่าง ๆ ที่ผู้เล่นจะต้องทำให้สำเร็จเพื่อที่จะรุดหน้า เช่น ขับรถหรือเล่นเกมเสี่ยงโชค ส่วนเวอร์ชันความคมชัดสูงมีตัวกรองกราฟิกเสริมและหลายผู้เล่นออนไลน์

ตัวละครที่เล่นได้[แก้]

เกมอาร์เคดดั้งเดิมมีตัวละครให้เล่นได้ 13 ตัว ในขณะที่เวอร์ชันเฮอริทิจฟอร์เดอะฟิวเจอร์ และพอร์ตต่อมาจะเพิ่มตัวละครเพิ่มเติมอีกเก้าตัว ทำให้มีทั้งหมด 22 ตัว ส่วนในเวอร์ชันภาษาอังกฤษ ตัวละครบางตัวจะถูกเปลี่ยนชื่อเพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์ในดินแดนตะวันตก:

  • อเลสซี่ (เวอร์ชันภาษาอังกฤษใช้ชื่ออเลสซี)
  • โปลนาเรฟกับดาบอนูบิส[i]
  • ชากะ (เวอร์ชันภาษาอังกฤษใช้ชื่อชาคา)
  • เดโบผู้ต้องสาป (เวอร์ชันภาษาอังกฤษใช้ชื่อดีโบ)
  • ดีโอ[ii]
  • ฮอลฮอร์สกับโบอิงโกะ (เวอร์ชันภาษาอังกฤษใช้ชื่อโวอิง)[i]
  • ฮอลฮอร์ส[i]
  • อิกกี้ (เวอร์ชันภาษาอังกฤษใช้ชื่ออิกกี)
  • ฌอง ปิแอร์ โปลนาเรฟ
  • โจเซฟ โจสตาร์
  • คูโจ โจทาโร่
  • ข่าน (เวอร์ชันภาษาอังกฤษใช้ชื่อคาน)[i]
  • มาไรยาห์ (เวอร์ชันภาษาอังกฤษใช้ชื่อมาห์ราเฮีย)[i]
  • มิโดร่า
  • มูฮัมหมัด อับดุล
  • นิวคะเคียวอิน[i]
  • คะเคียวอิน โนริอากิ
  • เพ็ตช็อป[i]
  • รับเบอร์โซล (เวอร์ชันภาษาอังกฤษใช้ชื่อรอบเบอร์โซล)[i]
  • ชาโดว์ดีโอ[ii]
  • วานิลลาไอซ์ (เวอร์ชันภาษาอังกฤษใช้ชื่อไอด์)[i]
  • โจเซฟวัยหนุ่ม (เวอร์ชันภาษาอังกฤษใช้ชื่อโจโจ้)[ii]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 เปิดตัวในเวอร์ชันเฮอริทิจฟอร์เดอะฟิวเจอร์
  2. 2.0 2.1 2.2 ตัวละครบอส

เวอร์ชันต่าง ๆ[แก้]

อาร์เคด[แก้]

การเปิดตัวอาร์เคดครั้งแรกของโจโจส์บิซาร์แอดเวนเจอร์คือเดือนธันวาคม ค.ศ. 1998 ส่วนเวอร์ชันแปลภาษาอังกฤษได้รับการเผยแพร่ในเอเชียภายใต้ชื่อย่อคือโจโจส์เวนเจอร์ซึ่งเกิดขึ้นก่อนการดัดแปลงมังงะและอนิเมะต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษที่ได้รับลิขสิทธิ์อย่างเป็นทางการ (จึงเปลี่ยนชื่อ) ตามมาด้วยเวอร์ชันแก้ไขอย่างเต็มที่ในชื่อโจโจส์บิซาร์แอดเวนเจอร์: เฮอริทิจฟอร์เดอะฟิวเจอร์ ซึ่งวางจำหน่ายเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1999 โดยมีตัวละครที่สามารถเล่นได้เพิ่มเติมอีกแปดตัว ส่วนเวอร์ชันภาษาอังกฤษที่วางจำหน่ายในทวีปยุโรปมีชื่อว่าโจโจส์บิซาร์แอดเวนเจอร์ ซึ่งเป็นชื่อเดิมของญี่ปุ่น

เครื่องเล่น[แก้]

ภาพหน้าปกของเวอร์ชันดรีมแคสต์ในอเมริกาเหนือ

มีการผลิตสองเวอร์ชันเครื่องเล่น โดยเวอร์ชันเพลย์สเตชัน ค.ศ. 1999 มีพื้นฐานมาจากโจโจส์เวนเจอร์ แต่มีตัวละครเพิ่มเติมจากเวอร์ชันที่สองของเกมอาร์เคด และ "โหมดซูเปอร์สตอรี" ที่ผูกขาด ซึ่งครอบคลุมเรื่องราวนักรบประกายดาวทั้งหมด ส่วนเวอร์ชันดรีมแคสต์ ซึ่งเปิดตัวใน ค.ศ. 1999 มีทั้งเกมอาร์เคดเวอร์ชันดั้งเดิมและเวอร์ชันปรับปรุงในรูปแบบดั้งเดิม กระทั่งใน ค.ศ. 2012 พอร์ตความละเอียดสูงของเวอร์ชันดรีมแคสต์ที่พัฒนาโดยบริษัทแคปคอมได้รับการเผยแพร่แบบดิจิทัลในเพลย์สเตชัน 3 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม และเอกซ์บอกซ์ 360 ในวันต่อมา[2] ซึ่งลักษณะเฉพาะของเวอร์ชันนี้ประกอบด้วยตัวกรองกราฟิกและหลายผู้เล่นออนไลน์ แม้ว่าจะไม่มีโหมดซูเปอร์สตอรีของพอร์ตเพลย์สเตชันก่อนหน้าก็ตาม[3] กระทั่งเกมดังกล่าวถูกเพิกถอนออกจากหน้าร้านเพลย์สเตชัน เน็ตเวิร์ก และเอกซ์บอกซ์ไลฟ์อาร์เคดเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2014 ไม่กี่เดือนหลังจากการเปิดตัวภาคออลสตาร์แบตเทิล[4]

การตอบรับ[แก้]

การตอบรับ
คะแนนรีวิว
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
เพลย์สเตชันเพลย์สเตชัน 3ดรีมแคสต์เอกซ์บอกซ์ 360
เดสทรักทอยด์ไม่มี5.5/10[12]ไม่มีไม่มี
อิเล็กทรอนิกเกมมิงมันทลีไม่มีไม่มี7.625/10[13][b]ไม่มี
ยูโรเกมเมอร์ไม่มี7/10[15]8/10[14]ไม่มี
เกมแฟน87 เปอร์เซ็นต์[19]ไม่มี85 เปอร์เซ็นต์[18]ไม่มี
เกมอินฟอร์เมอร์8/10[17]ไม่มี8/10[16]ไม่มี
เกมเรโวลูชันไม่มี4/10[20]ไม่มีไม่มี
เกมสปอต8/10[22]7/10[23]8.3/10[21]7/10[23]
เกมสปายไม่มีไม่มี7.5/10[24]ไม่มี
ไอจีเอ็น7/10[26]7/10[27]8.5/10[25]7/10[27]
เนกซ์เจเนอเรชัน2/5 stars[28]ไม่มีไม่มีไม่มี
ออฟฟิเชียลเพลย์สเตชันแมกกาซีน (สหรัฐ)4.5/5 stars[29]ไม่มีไม่มีไม่มี
ออฟฟิเชียลเอกซ์บอกซ์แมกกาซีนไม่มีไม่มีไม่มี6/10[30]
เพลย์สเตชันแมกกาซีน3.5/5 stars[31]7/10[32]ไม่มีไม่มี
เดอะดิจิทัลฟิกซ์ไม่มี5/10[33]ไม่มีไม่มี
คะแนนการรวม
เกมแรงกิงส์74 เปอร์เซ็นต์[6]62 เปอร์เซ็นต์[7]76 เปอร์เซ็นต์[5]63 เปอร์เซ็นต์[8]
เมทาคริติกไม่มี64/100[9]ไม่มี68/100[10]

ในประเทศญี่ปุ่น นิตยสารเกมแมชชีนฉบับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 ได้จัดอันดับเวอร์ชันอาร์เคดในฐานะเกมอาร์เคดที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของเดือน[34] และนิตยสารดังกล่าวฉบับวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 ยังระบุว่าเวอร์ชันเฮอริทิจฟอร์เดอะฟิวเจอร์เป็นเกมอาร์เคดที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของเดือนเช่นกัน[35] โดยกลายเป็นซอฟต์แวร์อาร์เคดที่ทำรายได้สูงสุดเป็นอันดับสามของ ค.ศ. 1999 ในประเทศญี่ปุ่น รองจากเวอร์ชัวสไตรเกอร์ 2 และสตรีทไฟเตอร์ซีโร 2[36] ส่วนเครื่องเล่นภายในบ้าน เกมดังกล่าวเป็นเกมขายดีในญี่ปุ่น โดยขายได้มากกว่า 300,000 ยูนิตภายในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2000[37][38]

เวอร์ชันดรีมแคสต์ได้รับทวิจารณ์เชิงนิยมชมชอบ ในขณะที่เวอร์ชันเพลย์สเตชันและเวอร์ชันความละเอียดสูงได้รับ "บทวิจารณ์แบบผสมหรือปานกลาง" ตามเว็บไซต์รวบรวมบทวิจารณ์อย่างเกมแรงกิงส์ และเมทาคริติก[5][6][9][10]

สกอต สไตน์เบิร์ก จากดิอิเล็กทริกเพลย์กราวด์ให้คะแนนดรีมแคสต์และเพลย์สเตชันเวอร์ชันละ 7.5 เต็ม 10 โดยกล่าวว่า "เป็นเกมต่อสู้ 2 มิติที่ทันสมัยที่สุด (และแปลกที่สุด) ของแคปคอมอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ก็ไม่ได้ทำให้ติดใจที่สุด"[39] ส่วนดี. สมิธ จากเกมเมอส์รีพลับลิกยกย่องเวอร์ชันดรีมแคสต์ โดยเรียกเวอร์ชันนี้ว่าเป็นพอร์ตที่ดีที่สุดของเกม เขายกย่องตัวละครที่หลากหลายและแปลกประหลาดของเกม โดยเปรียบเทียบความแปลกประหลาดของเกมว่าเทียบได้กับเกมต่อสู้อย่างกรูฟออนไฟต์ แม้ว่าเขาจะกล่าวว่าเกมนี้ "ไม่ได้เป็นเหล่านักสู้ที่มีเทคนิคมากที่สุด" แต่ก็ยังสามารถเป็นทางเลือกที่ถูกต้องสำหรับเกมสตรีทไฟเตอร์ III[40] และท็อกซิก ทอมมี จากนิตยสารเกมโปรกล่าวในฉบับเดือนมีนาคม ค.ศ. 2000 ว่าเวอร์ชันเพลย์สเตชัน "ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านความบันเทิงได้ดีที่สุด คุณจะไม่พบว่ามันท้าทายเท่ากับเกมต่อสู้มุมมองด้านข้างของแคปคอมอื่น ๆ แต่อย่างน้อยคุณและเพื่อน ๆ ของคุณควรหัวเราะออกมาบ้างระหว่างสนามต่อสู้สุดป่วนของโจโจ้"[41][c] ในฉบับต่อมา เจกเดอะสเนกกล่าวถึงเวอร์ชันดรีมแคสต์ว่า "แฟนเกมต่อสู้จะรักหรือเกลียดตัวละครและการโจมตีแปลก ๆ ของเกมนี้ ดังนั้น ควรเช่าก่อนซื้อ"[42][d] อย่างไรก็ตาม นิตยสารเอดจ์ ให้คะแนนเวอร์ชันเครื่องเล่นเดียวกันห้าเต็มสิบโดยกล่าวว่า: "เกือบทุกแง่มุม [เกม] นั้นเป็นการบรรยายสำหรับผู้ศรัทธา ด้วยเหตุนี้ นี่จึงเป็นเกมสำหรับผู้คลั่งไคล้เพียงอย่างเดียว บางทีนั่นอาจเป็นความตั้งใจของแคปคอม"[43] และไคล์ ไนต์ จากออลเกมให้สองดาวสำหรับเวอร์ชันเครื่องเล่นเดียวกัน โดยระบุว่า "เป็นเกมที่น่าสนใจในการเล่น หากเพียงเพราะรูปลักษณ์และความรู้สึกที่แปลกอย่างไม่ต้องสงสัย แต่เกมไม่มีการปรับแต่งแบบละเอียดที่ทำให้กลายเป็นเกมต่อสู้ในฐานะส่วนถาวรของการสะสมของแฟนนักสู้คนหนึ่ง เกมนี้ดีสำหรับการทำให้หัวเราะเล็กน้อย แต่ไม่คุ้มค่าในระยะยาว"[44] ส่วนโจ ออตโตสัน จากเว็บไซต์เดียวกันให้คะแนนเวอร์ชันเพลย์สเตชันสองดาวครึ่ง โดยกล่าวว่า "แม้ว่าความยิ่งใหญ่อาจจะไม่ได้อยู่ในไพ่ทาโรต์ของโจโจ้ในครั้งนี้ก็ตาม แต่อย่างน้อยเขาก็ได้ต่อสู้กับทาวเวอร์และเอมเพรสของเดอะเวิลด์ ปัญหาเดียวคือเขาจะถูกละเลยในระหว่างการสับไพ่"[45] ซึ่งเจฟ ลันดริแกน จากนิตยสารเนกซ์เจนได้ระบุถึงเพลย์สเตชันเวอร์ชันเดียวกันในบทวิจารณ์ช่วงแรกของเขาว่า "เป็นสิ่งที่แปลกสำหรับผู้เล่นที่จบเกมของแคปคอมเท่านั้น"[28] และในประเทศญี่ปุ่น นิตยสารแฟมิซือให้คะแนนเวอร์ชันดรีมแคสต์กับเพลย์สเตชันเวอร์ชันละ 31 คะแนน จากคะแนนเต็ม 40[46][47]

อเล็กซ์ โรดส์ จากเกมโซนให้คะแนนเวอร์ชันความละเอียดสูงหกเต็มสิบ โดยกล่าวว่าเกมนี้ "มีโอกาสที่จะฉายแววในการครบรอบ 25 ปีของมัน น่าเสียดายที่ราคาที่สูงเกินไปเมื่อรวมกับความน่าดึงดูดใจของตลาดเฉพาะกลุ่มแล้ว ย่อมจะพินาศไปตั้งแต่เริ่ม แม้ว่ารูปแบบการเล่นจะแทบไม่ถูกแตะต้องจากเวอร์ชันดรีมแคสต์ แต่มีเพียงแฟนมังงะตัวยงเท่านั้นที่จะเลือกเกมนี้"[48] อย่างไรก็ตาม โจ วอล์กเกอร์ จากพุชสแควร์ให้ห้าดาวแก่เวอร์ชันเพลย์สเตชัน 3 จากสิบดาว โดยกล่าวว่า "โจโจส์บิซาร์แอดเวนเจอร์ เอชดี เวอร์. เป็นเรื่องน่าเศร้าในทางหนึ่ง เพราะถึงแม้ตัวเกมจะยังคงสมบูรณ์และสนุกสนานในการเล่น แต่ก็มีข้อเสนอน้อยเกินไปที่จะปรับราคาให้เหมาะสม"[49]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ジョジョの奇妙な冒険 JoJo no Kimyō na Bōken
  2. ในช่วงต้นบทวิจารณ์เวอร์ชันดรีมแคสต์ของนิตยสารอิเล็กทรอนิกเกมมิงมันทลี นักวิจารณ์คนหนึ่งให้คะแนน 8.5 เต็ม 10, อีกสองคนให้คะแนนคนละ 8 เต็ม 10 และอีกคนให้คะแนน 6 เต็ม 10
  3. นิตยสารเกมโปรให้คะแนนเวอร์ชันเพลย์สเตชัน 4 คะแนนเต็ม 5 สองรายการสำหรับกราฟิกและการควบคุม และ 3.5 คะแนนเต็ม 5 สองรายการสำหรับส่วนประกอบด้านเสียงและความสนุกในบทวิจารณ์เบื้องต้น
  4. นิตยสารเกมโปรให้คะแนนเวอร์ชันดรีมแคสต์ 3 คะแนนเต็ม 5 สองรายการสำหรับกราฟิกและเสียง, 4 คะแนนเต็ม 5 สำหรับการควบคุม และ 3.5 คะแนนเต็ม 5 สำหรับส่วนประกอบด้านความสนุกสนาน

อ้างอิง[แก้]

  1. "Japanese Comics Come Alive in JoJo's Bizarre Adventure!". Capcom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2000.
  2. 2.0 2.1 Loo, Egan (July 14, 2012). "1st Jojo's Bizarre Adventure Fighting Game Remade in HD". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2012. สืบค้นเมื่อ July 15, 2012.
  3. Loo, Egan (August 1, 2012). "Jojo's Bizarre Adventure HD Fighting Game's Trailer Posted". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 4, 2012. สืบค้นเมื่อ October 1, 2012.
  4. Matulef, Jeffrey (September 11, 2014). "JoJo's Bizarre Adventure HD has been removed from Xbox Live and EU PSN". Eurogamer. Gamer Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 13, 2016. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
  5. 5.0 5.1 "Jojo's Bizarre Adventure for Dreamcast". GameRankings. CBS Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2019. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
  6. 6.0 6.1 "Jojo's Bizarre Adventure for PlayStation". GameRankings. CBS Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2019. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
  7. "JoJo's Bizarre Adventure HD Ver. for PlayStation 3". GameRankings. CBS Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2019. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
  8. "JoJo's Bizarre Adventure HD Ver. for Xbox 360". GameRankings. CBS Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2019. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
  9. 9.0 9.1 "JoJo's Bizarre Adventure HD Ver. critic reviews (PS3)". Metacritic. Fandom. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 13, 2015. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
  10. 10.0 10.1 "JoJo's Bizarre Adventure HD Ver. critic reviews (X360)". Metacritic. Fandom. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2019. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
  11. Franklin, Eric (May 17, 2000). "Jojo's Bizarre Adventure [sic] (DC)". Gamecenter. CNET. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 24, 2000. สืบค้นเมื่อ September 29, 2023.
  12. Hancock, Patrick (September 6, 2012). "Review: JoJo's Bizarre Adventure HD Version (PSN)". Destructoid. Gamurs. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 1, 2023. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
  13. Chou, Che; Hsu, Dan "Shoe"; Smith, Shawn; Johnston, Chris (March 2000). "JoJo's Bizarre Adventure (DC)" (PDF). Electronic Gaming Monthly. No. 128. Ziff Davis. p. 141. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ May 17, 2023. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
  14. Bramwell, Tom (April 27, 2000). "JoJo's Bizarre Adventure (Dreamcast)". Eurogamer. Gamer Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 7, 2001. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
  15. Edwards, Matt (September 3, 2012). "Jojo's Bizarre Adventure HD Ver. Review (PS3)". Eurogamer. Gamer Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 20, 2015. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
  16. Reppen, Erik; Fitzloff, Jay; Reiner, Andrew (March 2000). "JoJo's Bizarre Adventure - Dreamcast". Game Informer. No. 83. FuncoLand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2000. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
  17. Reppen, Erik (April 2000). "JoJo's Venture [sic] - PlayStation". Game Informer. No. 84. FuncoLand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2000. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
  18. Rodriguez, Tyrone "Cerberus" (February 2000). "JoJo's Venture (DC; Japan Import)". GameFan. Vol. 8 no. 2. Shinno Media. p. 64. สืบค้นเมื่อ September 14, 2020.
  19. Rodriguez, Tyrone "Cerberus" (January 2000). "JoJo's Venture (PS; Japan Import)". GameFan. Vol. 8 no. 1. Shinno Media. pp. 76–77. สืบค้นเมื่อ November 13, 2020.
  20. Schaller, Kevin (September 5, 2012). "JoJo's Bizarre Adventure HD Ver. Review (PS3)". GameRevolution. CraveOnline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 28, 2023. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
  21. Mielke, James (December 10, 1999). "Jojo's Bizarre Adventure Review (DC; Japan Import)". GameSpot. Fandom. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 17, 2014. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
  22. Mielke, James (December 10, 1999). "Jojo's Bizarre Adventure Review (PS; Japan Import) [date mislabeled as "May 2, 2000"]". GameSpot. Fandom. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2011. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
  23. 23.0 23.1 McGee, Maxwell (August 29, 2012). "JoJo's Bizarre Adventure HD Ver. Review". GameSpot. Fandom. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 11, 2022. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
  24. BenT (May 8, 2000). "JoJo's Bizarre Adventure". PlanetDreamcast. IGN Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 31, 2009. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
  25. Dunham, Jeremy (May 2, 2000). "JoJo's Bizarre Adventure Review (DC)". IGN. Ziff Davis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 27, 2022. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
  26. Nix, Marc (April 11, 2000). "Jojo's Bizarre Adventure (PS)". IGN. Ziff Davis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 11, 2022. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
  27. 27.0 27.1 Ingenito, Vince (September 3, 2012). "JoJo's Bizarre Adventure HD Review". IGN. Ziff Davis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 14, 2023. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
  28. 28.0 28.1 Lundrigan, Jeff (March 2000). "JoJo's Bizarre Adventure (PS)". NextGen. No. 63. Imagine Media. p. 91. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
  29. Maruyama, Wataru (April 2000). "Jojo's Bizarre Adventure [sic]". Official U.S. PlayStation Magazine. Vol. 3 no. 7. Ziff Davis. p. 96. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
  30. Kemps, Heidi (August 22, 2012). "JoJo's Bizarre Adventure HD Ver. Review". Official Xbox Magazine. Future US. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 24, 2012. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
  31. "Jojo's Bizarre Adventure [sic]". PSM. No. 31. Imagine Media. March 2000. p. 44. สืบค้นเมื่อ September 29, 2023.
  32. "Review: JoJo's Bizarre Adventure HD Ver". PlayStation: The Official Magazine. No. 65. Future plc. December 2012. p. 87.
  33. Harwood, Edd (September 28, 2012). "JoJo's Bizarre Adventure HD Review (PS3)". The Digital Fix. Poisonous Monkey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 22, 2012. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
  34. "Game Machine's Best Hit Games 25 - TVゲーム機ーソフトウェア (Video Game Software)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 580. Amusement Press, Inc. February 1, 1999. p. 21.
  35. "Game Machine's Best Hit Games 25 - TVゲーム機ーソフトウェア (Video Game Software)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 599. Amusement Press, Inc. November 15, 1999. p. 17.
  36. Akagi, Masumi, บ.ก. (February 1, 2000). "Sega's CG Videos Top Game Charts" (PDF). Game Machine. No. 603. Amusement Press, Inc. p. 18. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2023. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
  37. "Dengeki Charts". Official UK PlayStation Magazine. No. 53. Future Publishing. December 25, 1999. p. 23.
  38. "Tommo Inks Deal With Capcom to Exclusively Distribute Japanese Hit Game JoJo's Bizarre Adventure". Business Wire. Berkshire Hathaway. March 2, 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 15, 2000. สืบค้นเมื่อ June 17, 2019 – โดยทาง Yahoo.com.
  39. Steinberg, Scott (May 3, 2000). "Jojo's Bizarre Adventure [sic] (DC, PS)". The Electric Playground. Greedy Productions Ltd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 30, 2003. สืบค้นเมื่อ September 29, 2023.
  40. Smith, D. (March 2000). "World Republic Review: JoJo's Bizarre Adventure (DC)". Gamers' Republic. Vol. 2 no. 10. Millennium Publications. p. 145.
  41. Toxic Tommy (March 2000). "JoJo's Bizarre Adventure (PS)" (PDF). GamePro. No. 138. IDG. p. 93. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ November 19, 2022. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
  42. Jake The Snake (April 2000). "JoJo's Bizarre Adventure (DC)" (PDF). GamePro. No. 139. IDG. p. 118. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ September 25, 2023. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
  43. Edge staff (February 2000). "Jo Jo's Bizarre Adventure [sic] (DC; Japan Import)" (PDF). Edge. No. 81. Future Publishing. p. 82. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2023. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
  44. Knight, Kyle. "JoJo's Bizarre Adventure (DC) - Review". AllGame. All Media Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 16, 2014. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
  45. Ottoson, Joe. "JoJo's Bizarre Adventure (PS) - Review". AllGame. All Media Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 16, 2014. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
  46. "ドリームキャスト - ジョジョの奇妙な冒険 未来への遺産". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. 915. Enterbrain. June 30, 2006. p. 50. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 8, 2020. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
  47. "プレイステーション - ジョジョの奇妙な冒険". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. 915. Enterbrain. June 30, 2006. p. 22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 23, 2020. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
  48. Rhoades, Alex (August 23, 2012). "JoJo's Bizarre Adventure HD Ver. review". GameZone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 27, 2012. สืบค้นเมื่อ September 13, 2012.
  49. Walker, Joe (September 1, 2012). "JoJo's Bizarre Adventure HD Ver. Review". Push Square. Hookshot Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 26, 2023. สืบค้นเมื่อ September 29, 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]