แม่ยั่วพระพี่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
​​แม่ยั่วพระพี่
(แม่หยัวพระพี่)
เจ้าแม่พื้นเมืองของศาสนาพื้นเมืองเดิมของไทย
สตรีผู้เป็นใหญ่เหนือพระมเหสีและนักสนมกำนัลของพระเจ้าแผ่นดินทั้งปวง
เป็นที่บูชาในเป็นเทพีอันเป็นประธานในพระราชพิธีเพาะบกของพระราชพิธีสิบสองเดือนสมัยอาณาจักรอยุธยา
ส่วนเกี่ยวข้องเจ้าแม่พื้นเมืองของศาสนาพื้นเมืองเดิมของไทย
พาหนะพระที่นั่งราเชนทรยาน
เป็นที่นับถือในศาสนาพื้นเมืองเดิมของไทย
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูแบบไทย
คู่ครองพระเจ้าแผ่นดินอาณาจักรอยุธยา

แม่ยั่วพระพี่ หรือ บางที่สะกดว่า แม่หยัวพระพี่[1] เป็นเทวีพื้นเมืองหรือผีสตรีอันได้รับการยกย่องเป็นนางบรรพชนสมัยอาณาจักรอยุธยา[2]เช่นเดียวกับ พระขพุงผีในสมัยอาณาจักรสุโขทัย เป็นเจว็ดทำเป็นรูปผู้สตรียืน เป็นเจว็ดก็คือเทวรูปในศาสนาพื้นเมืองเดิมของไทยอันเป็นตัวแทนเทพยดาของศาสนาพื้นเมืองเดิมของไทย[3][4]

ที่มาและบทบาท[แก้]

แม่ยั่วพระพี่ถูกเรียกว่าเป็นเจว็ดผีหลวง ในกฎมณเฑียรบาลสมัยอาณาจักรอยุธยา ปรากฏว่าแม่ยั่วพระพี่ประทับในตำหนัก (บางครั้งเรียกมณฑป) เรียกประหนึ่งเป็นตำหนักพระภรรยาเจ้า เช่นตำหนักสมเด็จพระอรรคมเหสีพระภรรยา และตำหนักแม่หยัวเมืองทั้ง ๒ ที่เหลือคือพระสนม เรียกเรือน และนางนั้นมีศักดามาก เป็นประธานที่สำคัญที่สุดในพระราชพิธีเพาะบกของพระราชพิธีสิบสองเดือนสมัยอาณาจักรอยุธยา และจะมารับไปประกอบพระราชพิธีบรรทมด้วยนั้น พระมเหสีและแม่หยัวเมืองทั้งหลายต้องมารับแต่ตีนปราสาทแล้วส่งเจว็ดกันเป็นทอด ๆ ไปให้บรรทมกับพระเจ้าแผ่นดิน แสดงว่าแม่หยัวพระพี่เป็นเมียผีใหญ่กว่าใคร[5][6] อันธรรมเนียมปฏิบัติในพระราชพิธีนี้คล้ายตำนานของพระเจ้าแผ่นดินกัมพูชาสมัยเมืองพระนครหลวงที่โจว ต้ากวานราชทูตจีนสมัยราชวงศ์หยวนบันทึกว่าพระเจ้าแผ่นดินกัมพูชาสมัยเมืองพระนครหลวงนั้นต้องบรรทมด้วยกับนางนาคที่ปราสาทพิมานอากาศทุกคืน นาคนี้ก็น่าจะเป็นผีหลวงเมืองพระนครเมืองพระนครก็ว่าได้[7][8][9] แม่ยั่วพระพี่ ก็อาจเป็นเจ้าที่มีเดชะปกครองโลกวิญญาณในดินแดนอยุธยา ตามหลักมานุษยวิทยานั้นเป็นการรำลึกถึงสตรีผู้นำคนท้องถิ่น แม่ยั่วพระพี่หมายถึงผู้หญิงที่เป็นพี่ หรือเป็นใหญ่มาก่อนในดินแดนสุวรรณภูมิ และแม่หยัวเมืองแปลว่าผู้หญิงผู้อยู่เหนือเมือง คือเป็นใหญ่มาก่อน[10][11][12]

พระราชพิธีเพาะบก[แก้]

ในสมัยอาณาจักรอยุธยา ในกฎมณเฑียรบาลตอนหนึ่งกล่าวถึงพระราชพิธีเบาะพก มีในเดือนแรม 11 ค่ำ ไม่ได้ระบุเดือนโดยในพิธีเริ่มด้วยการถวายบังคมสมโภช แม่หยัวพระพี่สามวัน แห่เครื่องพิธี เช่น เทียนทอง, สังข์, ปลาทอง, เต่าทอง, ตระพัง, พานข้าวตอก, มีดไพล เป็นต้นและอัญเชิญเจว็ดแม่ยั่วพระพี่มาโดยพระที่นั่งราเชนทรยาน[13] ต่อจากนั้นพระเจ้าแผ่นดินประกอบพิธีกรรมบรรทมด้วยแม่ยั่วพระพี่[14]ถึงไม่ปรากฏแน่ชัดว่าคือพิธีอะไรแต่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของแม่หยัวเมืองก่อนที่ความหมายจะกลายเป็นตำแหน่งของพระสนมในพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาแทนที่ต่อมา ในสมัยรัตนโกสินทร์ ไม่ปรากฏคติของแม่ยั่วพระพี่สืบต่อมาแล้ว ปรากฏแต่นามของพระราชพิธีและรายละเอียดของพิธีกรรมซึ่งแตกต่างจากสมัยอยุธยาในพระราชพิธีสิบสองเดือนสมัยรัตนโกสินทร์ในเดือนสี่แทน[15]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.sookjai.com/index.php?topic=153471.10;wap2
  2. https://voicetv.co.th/read/HJt3QrC1X
  3. http://academic.obec.go.th/web/images/document/1654654786_d_1.pdf
  4. https://www.gotoknow.org/posts/151017
  5. http://tartheer.blogspot.com/2012/10/blog-post_4014.html
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-27. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-27. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
  8. http://chalini.blogspot.com/2008/04/blog-post_17.html
  9. http://booksiambook.blogspot.com/2017/07/blog-post.html
  10. Hewitt, J. F. History and Chronology of the Myth-Making Age (ภาษาอังกฤษ). Рипол Классик. ISBN 9781143716454.
  11. https://www.matichon.co.th/columnists/news_237180
  12. https://www.academia.edu/37952687/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9_%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87_%E0%B9%81%E0%B8%A1_%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5_pdf
  13. https://archives.orst.go.th/pic/HcPic/royin-temp-0038/2020-04-15_14-13-59_ROYIN-TEMP-0038.pdf
  14. https://vajirayana.org/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2/%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%98-%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5
  15. http://www.sure.su.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/4353/fulltext.pdf?sequence=1&isAllowed=y