ชัฏฏุลอะร็อบ

พิกัด: 30°24′26″N 48°09′06″E / 30.40722°N 48.15167°E / 30.40722; 48.15167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แม่น้ำชัตต์อัลอาหรับ)
ชัฏฏุลอะร็อบ
แอร์แวนรูด
ชัฏฏุลอะร็อบใกล้บัสรา ประเทศอิรัก
ที่ราบลุ่มแม่น้ำกับลำน้ำสาขาสองแห่ง
ที่ตั้ง
ประเทศอิรัก, อิหร่าน
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำแม่น้ำยูเฟรติส
 • ระดับความสูง4 เมตร (13 ฟุต)
แหล่งที่ 2แม่น้ำไทกริส
 • ระดับความสูง4 เมตร (13 ฟุต)
ปากน้ำ 
 • ตำแหน่ง
อ่าวเปอร์เซีย
 • ระดับความสูง
0 เมตร (0 ฟุต)
ความยาว
พื้นที่ลุ่มน้ำ884,000 ตารางกิโลเมตร (341,000 ตารางไมล์)
อัตราการไหล 
 • เฉลี่ย1,750 cubic metre per second (62,000 cubic foot per second)
ลุ่มน้ำ
ลำน้ำสาขา 
 • ขวาแม่น้ำคอรูน

ชัฏฏุลอะร็อบ (อาหรับ: شط العرب; แปลว่าแม่น้ำของชาวอาหรับ) มีชื่อท้องถิ่นว่า ดิจละตุลอะวะรออ์ (อาหรับ: دجلة العوراء)[1] หรือ แอร์แวนรูด (เปอร์เซีย: اروندرود; แปลว่าแม่น้ำฉับพลัน) เป็นแม่น้ำในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวราว 200 กม. (120 ไมล์) อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอิรัก ไหลไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ลงสู่อ่าวเปอร์เซีย เกิดจากแม่น้ำไทกริสไหลมาบรรจบกับแม่น้ำยูเฟรทีสที่เมืองอัลกุรนะฮ์ ไหลผ่านเมืองบัสราของอิรักไปยังเมืองโฆร์แรมแชฮร์และออบอดอนในประเทศอิหร่าน แล้วลงสู่อ่าวเปอร์เซียในประเทศอิรักใกล้เมืองท่าอัลฟาว ความกว้างของแม่น้ำมีหลายระดับ ตั้งแต่ 232 เมตร (761 ฟุต) ที่เมืองบัสรา ไปจนถึง 80 เมตร (2,600 ฟุต) บริเวณปากแม่น้ำ

แม่น้ำคอรูน ลำน้ำสาขาจากอิหร่านที่ไหลสมทบทางน้ำ นำทรายแป้งจำนวนมากลงในแม่น้ำ ทำให้ต้องขุดลอกคูคลองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เดินเรือได้[2]

พื้นที่นี้เคยเป็นบริเวณที่มีป่าอินทผลัมขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 ภูมิภาคนี้มีต้นอินทผลัม 17 ถึง 18 ล้านต้น ประมาณหนึ่งในห้าของต้นอินทผลัม 90 ล้านต้นทั่วโลก แต่ใน ค.ศ. 2002 ด้วยสภาวะสงคราม เกลือ และสัตว์รังควานกำจัดต้นอินทผลัมมากกว่า 14 ล้านต้น ซึ่งอยู่ในอิรักประมาณ 9 ล้านต้น และในอิหร่าน 5 ล้านต้น โดยต้นไม้ที่เหลืออยู่ 3 ถึง 4 ล้านต้นอยู่ในสภาพย่ำแย่[3]

ชอฮ์นอเม (แต่งขึ้นในช่วง ป. ค.ศ. 977 ถึง 1010) วรรณกรรมภาษาเปอร์เซียกลาง ใช้ชื่อ اروند แอร์แวนด์ สำหรับไทกริส ซึ่งเป็นแม่น้ำที่เป็นจุดบรรจบกันของชัฏฏุลอะร็อบ[4] ชาวอิหร่านยังคงใช้ชื่อนี้ระบุที่ตั้งของชัฏฏุลอะร็อบในสมัยปาห์ลาวีตอนปลาย และยังคงใช้อยู่นับตั้งแต่การปฏิวัติอิหร่านใน ค.ศ. 1979[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "local names of the rivers in Iraq". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-23. สืบค้นเมื่อ 2021-11-26.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. "Iraq – Major Geographical Features". country-data.com. สืบค้นเมื่อ 28 November 2015.
  3. "UNEP/GRID-Sioux Falls". unep.net. สืบค้นเมื่อ 28 November 2015.
  4. 4.0 4.1 M. Kasheff, Encyclopædia Iranica: Arvand-Rud. – Retrieved on 18 October 2007.

ข้อมูล[แก้]

  • Dougherty, Beth K.; Ghareeb, Edmund A. (2013). Historical Dictionary of Iraq (2 ed.). Scarecrow Press. ISBN 978-0810879423.
  • Kia, Mehrdad (2017). The Ottoman Empire: A Historical Encyclopedia. ABC-CLIO. ISBN 978-1610693899.
  • Mikaberidze, Alexander (2015). Historical Dictionary of Georgia (2 ed.). Rowman & Littlefield. ISBN 978-1442241466.
  • Potts, D. T. (2004). "SHATT AL-ARAB". Encyclopaedia Iranica.
  • Shaw, Stanford (1991). "Iranian Relations with the Ottoman Empire in the Eighteenth and Nineteenth Centuries". ใน Avery, Peter; Hambly, Gavin; Melville, Charles (บ.ก.). The Cambridge History of Iran (Vol. 7). Cambridge University Press. ISBN 978-0857451842.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

30°24′26″N 48°09′06″E / 30.40722°N 48.15167°E / 30.40722; 48.15167