แผลบูรูลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Buruli ulcer
แผลบูรูลีที่ตาตุ่มของชาวกาน่าผู้หนึ่ง
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10A31.1 (ILDS A31.120)
ICD-9031.1
DiseasesDB8568
MeSHD009165

แผลบูรูลี (หรือที่รู้จักในชื่อของ แผลแบนสเดล แผลเซอลส์ หรือ แผลเดนทรี[1][2][3]) เป็นโรคติดเชื้อ สาเหตุมาจากแบคทีเรียที่ชื่อ ไมโคแบคทีเรียม อัลเซอแรนส์.[4] อาการเริ่มแรกของการติดเชื้อจะมีตุ่มเล็กหรือบวมที่ผิวแต่ไม่รู้สึกเจ็บ[4] ตุ่มนี้จะกลายเป็น แผลเปื่อย.[4] แผลเปื่อยใต้ชั้นผิวหนังจะมีขนาดใหญ่กว่าบริเวณผิวหนัง [5] และบริเวณรอบๆ แผลจะมีอาการบวม [5] เมื่ออาการหนักยิ่งขึ้น จะมีการติดเชื้อที่กระดูก [4] แผลบูรูลีส่วนมากจะพบการติดเชื้อในบริเวณแขนหรือขา [4] ปกติจะไม่มีไข้ [4]

เชื้อแบคทีเรีย เอ็ม อัลเซอแรนส์ จะปล่อยสารพิษที่มีชื่อว่า ไมโคแลกโทน ซึ่งจะลด การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และส่งผลให้เนื้อเยื่อตาย การตาย.[4] แบคทีเรียจากตระกูลเดียวกันนี้เป็นสาเหตุของ วัณโรค และ โรคเรื้อน (เอ็ม ทูเบอร์คูโลซิส และ เอ็ม เลแปรตามลำดับ)[4] วิธีการกระจายของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด [4] แหล่งน้ำอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระจายของโรค[5] จนถึงปี 2013 ยังไม่พบวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรค[4][6]

หากได้รับการรักษาในช่วงแรกของการติดเชื้อ โดยการรับประทานยาปฏิชีวนะ เป็นเวลาแปดสัปดาห์จะได้ผลถึง 80%[4] การรักษามักจะใช้ยา ไรแฟมพิซิน และ สเตรปโตมัยซิน[4] บางครั้งอาจจะใช้ยาคลาริโธมัยซิน หรือ มอกซิฟลอกซาซิน แทนสเตรปโตมัยซิน[4] การรักษาวิธีอื่น ได้แก่ การตัด แผลเปื่อยออกไป[4][7] หลังจากได้รับการรักษาแผลที่ติดเชื้อ โดยทั่วไปบริเวณผิวหนังจะเป็นแผลเป็น [6]

แผลบูรูลีจะเกิดในพื้นที่ชนบทโดยส่วนใหญ่ของ แอฟริกาใต้สะฮารา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศ โกตดิวัวร์และยังเกิดขึ้นในเอเชีย แปซิฟิกตะวันตกและทวีปอเมริกา[4] พบการเกิดโรคในประเทศต่างๆ มากกว่า 32 ประเทศ [5] ในแต่ละปีจะพบผู้ติดเชื้อประมาณ ห้าถึงหกพันราย [4] ยังพบว่าโรคนี้นอกจากจะเกิดขึ้นมนุษย์แล้วยังเกิดขึ้นสัตว์ด้วยเช่นกัน [4] อัลเบิร์ต รัสกิน คุก เป็นบุคคลแรกที่อธิบายเกี่ยวกับโรคแผลบูลูรีในปี 1897[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. James, William D.; Berger, Timothy G.; และคณะ (2006). Andrews' Diseases of the Skin: clinical Dermatology. Saunders Elsevier. p. 340. ISBN 0-7216-2921-0.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Rapini, Ronald P.; Bolognia, Jean L.; Jorizzo, Joseph L. (2007). Dermatology: 2-Volume Set. St. Louis: Mosby. Chapter 74. ISBN 1-4160-2999-0.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. Lavender CJ, Senanayake SN, Fyfe JA; และคณะ (January 2007). "First case of Mycobacterium ulcerans disease (Bairnsdale or Buruli ulcer) acquired in New South Wales". Med. J. Aust. 186 (2): 62–3. PMID 17223764.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 4.13 4.14 4.15 4.16 "Buruli ulcer (Mycobacterium ulcerans infection) Fact sheet N°199". World Health Organization. June 2013. สืบค้นเมื่อ 23 February 2014.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Nakanaga, K; Yotsu, RR; Hoshino, Y; Suzuki, K; Makino, M; Ishii, N (2013). "Buruli ulcer and mycolactone-producing mycobacteria". Japanese journal of infectious diseases. 66 (2): 83–8. PMID 23514902.
  6. 6.0 6.1 Einarsdottir T, Huygen K (November 2011). "Buruli ulcer". Hum Vaccin. 7 (11): 1198–203. doi:10.4161/hv.7.11.17751. PMID 22048117.
  7. Sizaire V, Nackers F, Comte E, Portaels F (2006). "Mycobacterium ulcerans infection: control, diagnosis, and treatment". Lancet Infect Dis. 6 (5): 288–296. doi:10.1016/S1473-3099(06)70464-9. PMID 16631549.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)