แขวงทรายกองดิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แขวงทรายกองดิน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhwaeng Sai Kong Din
แผนที่เขตคลองสามวา เน้นแขวงทรายกองดิน
แผนที่เขตคลองสามวา เน้นแขวงทรายกองดิน
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
เขตคลองสามวา
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด11.396 ตร.กม. (4.400 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[2]
 • ทั้งหมด13,401 คน
 • ความหนาแน่น1,175.94 คน/ตร.กม. (3,045.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10510
รหัสภูมิศาสตร์104604
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ทรายกองดิน เป็นแขวงหนึ่งในเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นเขตเกษตรกรรม ยกเว้นด้านตะวันตกเฉียงใต้ของท้องที่ซึ่งเป็นเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

แขวงทรายกองดินตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขตคลองสามวา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[3]

ที่มาของชื่อแขวง[แก้]

ชุมชนมุสลิมในท้องที่ที่เป็นแขวงทรายกองดินใต้และแขวงแสนแสบปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีบรรพบุรุษเป็นชาวมลายูจากเมืองไทรบุรีซึ่งถูกเทครัวขึ้นมาในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์[4] ชาวมลายูกลุ่มนี้ได้เข้ามาหักร้างถางพง จับจองที่ดินทำกิน และสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยตามแนวคลองแสนแสบหลังจากที่ถูกเกณฑ์มาร่วมขุดคลองสายนี้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระยะแรกชาวมุสลิมในบริเวณดังกล่าวใช้บ้านของคหบดีคนหนึ่งเป็นสถานที่ประกอบกิจทางศาสนา ต่อมาได้ร่วมกันสร้างเรือนไม้ขึ้นเพื่อใช้เป็นสุเหร่าหรือมัสยิด[5] เมื่อเวลาผ่านไปได้ประมาณ 70 ปี ชุมชนนี้มีประชากรมากขึ้น บรรดาสัปปุรุษลงมติว่าจะขยายพื้นที่สุเหร่าให้กว้างขึ้นโดยสร้างเป็นอาคารปูนให้มั่นคงถาวร จึงช่วยกันซื้อทรายมากองไว้บนดินเพื่อรอให้มีปริมาณมากพอ จากนั้นก็มีผู้นำทรายมาสมทบอีกเรื่อย ๆ จนกลายเป็นกองใหญ่ค้างอยู่นาน ผู้คนที่เดินทางผ่านไปมาเห็นกองทรายนี้ทุกครั้งจึงเรียกกันติดปากว่า "ทรายกองดิน"[5] ภายหลังเมื่อมีการจัดการปกครองท้องที่ตามระบบมณฑลเทศาภิบาล ทางราชการจึงนำชื่อนี้มาใช้เป็นชื่อตำบล โดยปรากฏเอกสารเกี่ยวข้องกับตำบลนี้ในราชกิจจานุเบกษาอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ. 2448[6]

ยังมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาอีกว่า ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จกลับจากเมืองฉะเชิงเทราผ่านทางคลองแสนแสบ เมื่อเข้าเขตสุเหร่าของชุมชน พระองค์ก็เสด็จขึ้นฝั่ง ทรงแวะเยี่ยมเยียนสุเหร่า และมีพระราชดำรัสถามว่า "กองทรายกองดินเหล่านี้มีไว้ทำไม"[7] เมื่อทรงได้รับคำตอบจากผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นว่าจะใช้สร้างอาคารสุเหร่า จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ทหารขนอิฐ หิน และทรายมาทางเรือกลไฟอย่างละหลายลำเพื่อพระราชทานสมทบสร้างสุเหร่าหลังใหม่ พร้อมทั้งพระราชทานที่ดินจำนวน 40 ไร่ เป็นใบเดินทุ่งให้กับทรัสตีสุเหร่าแห่งนี้ด้วย นับแต่นั้นมาชาวบ้านก็เรียกสุเหร่าแห่งนี้ว่า "สุเหร่าทรายกองดิน"[a][5]

ภายหลังทางราชการได้แบ่งและจัดตั้งเขตการปกครองในระดับตำบลขึ้นใหม่ ส่งผลให้บริเวณชุมชนสุเหร่าทรายกองดิน (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "ทรายกองดิน") ทางฝั่งเหนือของคลองแสนแสบ ย้ายจากตำบลทรายกองดินไปขึ้นกับตำบลทรายกองดินใต้แทน

ประวัติ[แก้]

เดิมแขวงทรายกองดินเป็นมีฐานะเป็น ตำบลทรายกองดิน ขึ้นกับอำเภอเมือง (อำเภอคลองสามวาเดิม) จังหวัดมีนบุรี จนกระทั่ง พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร[8] อำเภอเมืองซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของจังหวัดมีนบุรีจึงเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอมีนบุรี ต่อมาใน พ.ศ. 2505 กระทรวงมหาดไทยได้แยกหมู่ที่ 1–10, 15 และ 16 ของตำบลทรายกองดินไปจัดตั้งเป็นตำบลทรายกองดินใต้[9] และในปีถัดมาได้ขยายเขตสุขาภิบาลมีนบุรีให้ครอบคลุมตำบลทรายกองดินด้วย[10]

ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมกับจังหวัดธนบุรีแล้วเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[11] จากนั้นใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[12] ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่ ตำบลทรายกองดินจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงทรายกองดิน และอยู่ในเขตการปกครองของเขตมีนบุรี ก่อนจะย้ายมาขึ้นกับเขตคลองสามวาซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 2540[13]

การคมนาคม[แก้]

ถนนสายหลักในพื้นที่แขวงทรายกองดิน ได้แก่

ถนนสายรองและทางลัดในพื้นที่แขวงทรายกองดิน ได้แก่

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ปัจจุบันมีชื่อทางการว่า "มัสยิดกมาลุลอิสลาม" อยู่ในแขวงทรายกองดินใต้

อ้างอิง[แก้]

  1. กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล. กรุงเทพมหานคร. "จำนวนประชากร พื้นที่ ความหนาแน่น จำนวนบ้าน จำแนกตามแขวง ในเขตกรุงเทพมหานคร 2563." สถิติกรุงเทพมหานครประจำปี 2563.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติจำนวนประชากรและบ้าน ข้อมูล ปี 2566 พื้นที่ เขตคลองสามวา." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate4/Area/statpop?yymm=66&ccDesc=กรุงเทพมหานคร&topic=statpop&ccNo=10&rcodeNo=1046&rcodeDesc=เขตคลองสามวา 2566. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2567.
  3. "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง พื้นที่แขวงสามวาตะวันตก แขวงสามวาตะวันออก แขวงทรายกองดินใต้ และเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบางชันและแขวงทรายกองดิน เขตคลองสามวา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 121 ง): 66–73. 24 ธันวาคม 2540.
  4. สุนทร ทิมะเสน. (2523). มัสยิดผดุงอิสลาม. กรุงเทพฯ : เจริญผล, 5–16. อ้างถึงใน ชัยวัฒน์ มีสันฐาน. (2559). "ทบทวนความสัมพันธ์สยาม-มลายู และการเข้ามาของชาวมลายูในภาคกลางของประเทศไทย." รูสมิแล, 37 (2), 57.
  5. 5.0 5.1 5.2 "ประวัติมัสยิดกมาลุลอิสลาม." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://kamalulislam.blogspot.com/p/blog-page.html [ม.ป.ป.]. สืบค้น 4 สิงหาคม 2562.
  6. "ประกาศบอกล่วงหน้าจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน [ตำบลบางชัน อำเภอเมือง เมืองมีนบุรี, ตำบลทรายกองดิน อำเภอเมือง เมืองมีนบุรี และตำบลบางจากฝั่งใต้ อำเภอภาษีเจริญ แขวงเมืองกรุงเทพฯ]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (42): 992. 14 มกราคม 2448.
  7. สำนักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์. กระทรวงมหาดไทย. "นายกรัฐมนตรีเดินทางไปตรวจราชการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (เขตบางกะปิ เขตสะพานสูง เขตคลองสามวา และเขตมีนบุรี) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.ins.moi.go.th/Download/command/bangkok.docx 2561. สืบค้น 4 สิงหาคม 2562.
  8. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48: 576–578. 21 กุมภาพันธ์ 2474. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2019-08-04.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลภายในท้องที่อำเภอมีนบุรี จังหวัดพระนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (46 ง): 1239–1241. 15 พฤษภาคม 2505.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลมีนบุรี จังหวัดพระนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (38 ง): 1199–1200. 23 เมษายน 2506.
  11. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (พิเศษ 144 ก): 816–824. 21 ธันวาคม 2514. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2019-08-04.
  12. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตมีนบุรี และตั้งเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 25–30. 18 พฤศจิกายน 2540.