เอแนร์จีกา เอโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอแนร์จีกา เอโก
Energica Ego
white racing-style motorcycle with electric hook-up cable in an exhibition hall
เอแนร์จีกา เอโก แสดงที่สนามแข่งรถอาสเซิน ค.ศ. 2018
ผู้ผลิตบริษัท เอแนร์จีกา โมตอร์
ประเภทสปอร์ตไบก์
ความเร็วสูงสุด245 กม./ชม.
กำลังเครื่องยนต์107 kW (143 hp; 145 PS)
แรงบิด200 N·m (150 lbf·ft)
ระบบส่งกำลังไฟฟ้าพร้อมระบบช่วยจอด (สโลว์ ถอยหลัง และเดินหน้า)
ประเภทโครงรถเหล็กกล้าถัก (Steel trellis)
กันสะเทือนหน้า: 43 มม., ตัวหน่วงการสั่นสะเทือนปรับค่าการยุบและคืนตัวได้, สปริงปรับความแข็งสัมพันธ์กับน้ำหนักได้ หลัง: สวิงอาร์มแบบตัวหน่วงการสั่นสะเทือนเดี่ยวปรับค่าการคืนตัวได้, สปริงปรับความแข็งสัมพันธ์กับน้ำหนักได้
ห้ามล้อเบรมโบ

หน้า: ดิสก์คู่แบบ Radial Mount ขนาด 330 มม., คาลิเปอร์แบบ 4 สูบ,

หลัง: ดิสก์เดี่ยวขนาด 240 มม., คาลิเปอร์แบบ 2 สูบ
ยางรถพีเรลลี่ ดีอาโบล รอสโซ III

หน้า: 120/70 ขอบ 17

หลัง: 180/55 ขอบ 17
ฐานล้อ1,465 มม.
มิติรถL: 2,140 มม.
W: 870 มม.
H: 1,220 มม.
ความสูงเบาะ795 มม.
น้ำหนักรถ258–280 กิโลกรัม (น้ำหนักรถเปล่าไม่รวมของเหลว)
ความจุเชื้อเพลิง13.4 kWh (EGO), 21.5 kWh (EGO+ และ EGO+ RS)
ระยะทางที่วิ่งได้130–190 กม.
สิ่งเกี่ยวข้องเอแนร์จีกา เอวา (Energica Eva)

เอแนร์จีกา เอโก (Energica Ego) เป็นรถจักรยานยนต์ประเภทสปอร์ตสำหรับการขับขี่บนท้องถนนขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ออกแบบและทำการตลาดโดยบริษัทเอแนร์จีกา โมตอร์ (Energica Motor) โดยบริษัทอ้างว่าเป็นรถจักรยานยนต์สปอร์ตไฟฟ้าสัญชาติอิตาลีรุ่นแรกที่จดทะเบียนได้ตามกฎหมาย รถต้นแบบสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2556 และเปิดจำหน่ายใน พ.ศ. 2558[1][2] รถต้นแบบผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่เช่น CNC และการพิมพ์ 3 มิติซึ่งใช้ในการผลิตแผงหน้าปัดและไฟหน้า[3][4]

การออกแบบ[แก้]

เอโก เป็นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ขนาด 107 กิโลวัตต์พร้อมแรงบิด 200 นิวตันเมตร (ที่รอบต่ำ) ให้ความเร็วสูงสุดที่ 240 กม./ชม.[5][6] มอเตอร์ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาด 11.7 กิโลวัตต์ชั่วโมง เอโกมีน้ำหนักประมาณ 258–280 กิโลกรัม เนื่องจากแบตเตอรี่มีน้ำหนักมาก[7][8]

การเบรกด้วยเครื่องยนต์สามารถปรับได้สี่ระดับซึ่งสามารถใช้การเบรกเป็นการชาร์จไฟ[9] มอเตอร์ตั้งอยู่ใกล้กับสวิงอาร์มที่ทำจากอะลูมิเนียมหล่อมีตัวหน่วงการสั่นสะเทือนเดี่ยวติดตั้งด้านข้าง ไฟหน้าเป็นแบบโปรเจคเตอร์[10] แผงหน้าปัดเป็นจอแสดงผลแบบ TFT ขนาด 109.22 มิลลิเมตร[10]

ก่อน พ.ศ. 2560 เอโกใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 136 แรงม้า ที่มีแรงบิด 180 นิวตันเมตร[11] อย่างไรก็ตาม เอวา (Eva) รถรุ่นใกล้เคียงกันที่มีตัวถังเปลือย ผลิตกำลังได้ 108 แรงม้าจากที่ก่อนหน้าทำได้เพียง 95 แรงม้า และภายหลังปี 2560 ทั้งสองรุ่นได้ผ่านมาตรฐานยูโรสี่ (EURO IV)[11][12] ราคาได้ลดลงเหลือประมาณ 20,000 ปอนด์สเตอร์ลิง[13]

จักรยานยนต์รุ่นนี้มีโครงตัวถังท่อเหล็กกล้าถัก (steel trellis frame) ซึ่งมองเห็นได้บางส่วนแม้จะมีโครงสร้างภายนอก (fairing) ครอบอยู่ก็ตาม[14]

ในปี 2562 เอโกได้รับการปรับปรุงอีกครั้งโดยติดตั้งคันเร่งไฟฟ้าที่สามารถอ่านค่าการปรับได้ละเอียดถึงหนึ่งในสิบมิลลิเรเดียน (mrad) เพิ่มคุณสมบัติทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เช่น "การชาร์จแบบเงียบ" และมือจับแบบปรับความอุ่นได้[15]

ประสิทธิภาพ[แก้]

เอโกสามารถเร่งความเร็ว 0–100 กม./ชม. ได้ใน 3 วินาที มีระบบกันสะเทือนหน้าขนาด 43 มม. ของมาร์ซอกกี (Marzocchi) พร้อมด้วยระบบช่วยจอดและเบรกของเบรมโบ (Brembo) ที่มีคุณสมบัติเช่น ABS และระบบป้องกันการพลิกคว่ำ[7] ผู้ทำการทดสอบบางคนระบุว่าระบบกันสะเทือนได้รับการปรับตั้งค่อนข้างนุ่มนวล มีอุปกรณ์ควบคุมชื่อ "VCU" ผลิตโดยบริษัทเอแนร์จีกา ซึ่งคล้ายกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว (ESC) ซึ่งอ้างว่าควบคุมในทุกด้านตั้งแต่แบตเตอรี่ไปจนถึงเครื่องยนต์ (รวมถึงการเบรกด้วยเครื่องยนต์)

ในการใช้งานปกติ เอโกมีระยะทางใช้งานประมาณ 160 กิโลเมตร (190 กิโลเมตรในโหมด "eco")[7]

สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้ถึงร้อยละ 85 ใน 30 นาทีที่สถานีชาร์จด่วน (โหมด 4, ชาร์จเร็วกระแสตรง) หรือร้อยละ 100 ใน 3 ชั่วโมงครึ่ง (โหมด 2 หรือ 3, กระแสสลับ 240 โวลต์) อย่างไรก็ตามการชาร์จจนเต็มโดยใช้แหล่งจ่ายไฟมาตรฐาน 120 โวลต์ของสหรัฐจะใช้เวลา 8 ชั่วโมง อายุการใช้งานแบตเตอรี่คือ 1,200 รอบที่ร้อยละ 80 ของความจุ[16]

การผลิต[แก้]

รถต้นแบบคันแรกสร้างสำเร็จโดยบริษัทเอแนร์จีกาใน พ.ศ. 2556 และต่อมาเข้าสู่สายการผลิตโดยเริ่มจำหน่ายตั้งแต่ พ.ศ. 2558 จากข้อมูลของนิตยสาร ท็อป สปีด ในปัจจุบันกำลังเผชิญกับ "การขาดแคลนสินค้าคงคลัง" เนื่องจากกำลังการผลิตมีน้อยกว่าความต้องการ[17]

โมโตอี[แก้]

เอแนร์จีกา เอโก ที่รายการ The Fully Charged Show (2565)

รุ่นการแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า โมโตอี (MotoE) ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้รับการสนับสนุน ถูกเพิ่มในการแข่งรถมอเตอร์ไซค์กรังด์ปรีซ์ตั้งแต่ปี 2562[6] โดยเป็นรุ่นที่ใช้รถจากผู้ผลิตเดียว แตกต่างจากการแข่งขันรุ่นอื่น ๆ ที่ใช้รถที่แตกต่างกันจากทีมผู้ผลิตต่าง ๆ ซึ่งรถรุ่น เอโก กอร์ซา (Ego Corsa) เป็นรุ่นที่ปรับแต่งเน้นประสิทธิภาพสำหรับการแข่งขันโมโตอี[18][19]

เอโก คอร์ซา[แก้]

เป็นรุ่นของเอโก สำหรับแข่งขันในสนามแข่ง โดยใช้ยางมิชลินและทำการปรับแต่งสมรรถนะ จากข้อมูลของบริษัทเอแนร์จีกา มอเตอร์ของรุ่นนี้ผลิตกำลังต่อเนื่อง 120 กิโลวัตต์ (จากเดิม 110 กิโลวัตต์) และแรงบิด 200 นิวตันเมตร ทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 168 ไมล์ต่อชั่วโมง (จากเดิม 155 ไมล์ต่อชั่วโมง)[20] การเร่งความเร็วจาก 0 ถึง 60 ไมล์ต่อชั่วโมงนั้นน้อยกว่า 2.8 วินาที จากข้อมูลด้านกำลังและความเร็วสูงสุด เอโก คอร์ซา จะมีกำลังอย่างน้อย 149 แรงม้า และความเร็วสูงสุด 175 ไมล์ต่อชั่วโมง (281 กิโลเมตร/ชั่วโมง)[21]

เอโก คอร์ซา ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนขนาด 20 kWh เบากว่าและกะทัดรัดกว่ารถรุ่นมาตรฐาน

กำลังขับเทียบได้กับรถรุ่นโมโตทู (Moto2, เครื่องยนต์ 3 สูบ 765 ซีซี) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแบตเตอรี่มีน้ำหนักที่มากกว่า อัตราส่วนกำลังต่อน้ำหนักจึงค่อนข้างใกล้เคียงกับรุ่นโมโตทรี (Moto3, เครื่องยนต์กระบอกสูบเดียว 250 ซีซี) จากสี่สนามที่ใช้แข่งขันในปัจจุบันมีเพียงสนามเรดบูลริง (Red Bull Ring) ซึ่งมีสภาพเป็นเนินเขาเท่านั้นที่ส่งผลให้เวลาต่อรอบเร็วกว่ารุ่นโมโตทรี โดยในสนามอื่น เอโก คอร์ซา จะทำเวลาช้ากว่า 1–1.5 วินาทีต่อรอบ

จนถึงขณะนี้การแข่งขันที่ยาวที่สุดมีระยะทาง 29.582 กิโลเมตร (18.381 ไมล์)

เอโก 45[แก้]

ในวันครบรอบ 45 ปีของกลุ่มชิแอร์เรปี (CRP Group) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเอแนร์จีกา ได้มีการสร้างรุ่นพิเศษของเอแนร์จีกา เอโก ในชื่อเอโก 45 (Ego 45) ซึ่งได้เปิดตัวในงาน Top Marques Monaco ในปี 2557[22]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Energica Ego Electric Superbike Now Coming in 2015 - Asphalt & Rubber". Asphalt & Rubber (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 4 กุมภาพันธ์ 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2018.
  2. "The Energica Ego is Released: 100% Electric Motorcycle Prototyped with 3D Printing" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2018.
  3. "2015 Energica Ego Review - First Ride". Motorcycle.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 25 กันยายน 2013. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2018.
  4. Leadership, The Berlin School Of Creative. "Italian E-Motorcycle Maker Energica Challenges Harley Davidson". Forbes. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2018.
  5. "Energica's Ego is a 150MPH electric superbike". British GQ (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 27 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2019.
  6. 6.0 6.1 "Electric MotoGP class to race the Energica Ego in 2019". newatlas.com (ภาษาอังกฤษ). 13 ธันวาคม 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2018. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2018.
  7. 7.0 7.1 7.2 "Energica Ego Is The Electric Motorcycle Of The Year | CleanTechnica". cleantechnica.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 14 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2018.
  8. "2015 Energica Ego - Riding Impression". Cycle World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2018.
  9. "ENERGICA EGO (2016-on) Review". Motorcycle News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2018.
  10. 10.0 10.1 "Up-Close with the Energica Ego Electric Superbike - Asphalt & Rubber". Asphalt & Rubber. 17 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2018.
  11. 11.0 11.1 "2017 Energica Electric Bikes Get More Power - NDTV CarAndBike". CarAndBike (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มิถุนายน 2017. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2018.
  12. "2017 Energica Electric Motorcycles Upgrade | More Power and Euro 4 Status". Ultimate Motorcycling. 8 เมษายน 2017. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2018.
  13. "Energica Lowers Prices in U.S. | RideApart". RideApart. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2018.
  14. "2019 Energica Ego". www.topspeed.com. 18 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2019.
  15. Toll, Micah (7 ตุลาคม 2018). "Energica electric motorcycles' 2019 update with 150 mph Ego Sport Black". Electrek. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2019.
  16. "Review: Energica EGO Electric Motorcycle | Riding in the Zone". www.ridinginthezone.com. 31 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2018.
  17. "Energica Experiences Inventory Shortfall As Demand Outstrips Supply @ Top Speed". Top Speed (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2018.
  18. Brandt, Eric. "MotoE World Cup Electric Motorcycle Racing Details Announced". The Drive (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2018.
  19. Klein, Jamie. "MotoGP reveals electric bike for 2019 MotoE World Cup". Autosport.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2018.
  20. "FIM Enel MotoE World Cup. MyEgoCorsa". Energica (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2018. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2018.
  21. "Energica Becomes The Motorcycle Supplier For FIM Moto-E World Cup @ Top Speed". Top Speed (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2018.
  22. "Energica Ego 45 a Hit at Top Marques Monaco - Motorcycle USA". Motorcycle USA (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]