เอมีล อาด็อล์ฟ ฟ็อน เบริง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เอมิล อดอล์ฟ ฟอน เบริง)
เอมีล อาด็อล์ฟ ฟ็อน เบริง
เอมีล อาด็อล์ฟ ฟ็อน เบริง
เกิด15 มีนาคม ค.ศ. 1854
ฮันส์ดอร์ฟ
เสียชีวิต31 มีนาคม ค.ศ. 1917(1917-03-31) (63 ปี)
มาร์บวร์ค เฮ็สเซิน-นัสเซา
สัญชาติเยอรมัน
มีชื่อเสียงจากวัคซีนคอตีบ
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (ค.ศ. 1901)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาสรีรวิทยา, วิทยาภูมิคุ้มกัน

เอมีล อาด็อล์ฟ ฟ็อน เบริง (เยอรมัน: Emil Adolf von Behring; 15 มีนาคม ค.ศ. 1854 – 31 มีนาคม ค.ศ. 1917) เป็นนักสรีรวิทยาชาวเยอรมันซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ใน ค.ศ. 1901

ประวัติ[แก้]

เบริงถือกำเนิดที่ฮันส์ดอร์ฟ ไครส์โรเซินแบร์ค จังหวัดปรัสเซีย โดยมีชื่อ อาด็อล์ฟ เอมีล เบริง (Adolf Emil Behring)

ระหว่าง ค.ศ. 1874 และ ค.ศ. 1878 เบริงศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ที่ Akademie für das militärärztliche Bildungswesen เมืองเบอร์ลิน เขาทำงานหลักเป็นแพทย์ทหาร และต่อมาเป็นศาสตราจารย์ด้านสุขศาสตร์ในคณะแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมาร์บวร์ค ภายใต้แรงต่อต้านในช่วงแรกจากสภาคณะ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เขารับไว้ตลอดช่วงชีวิต

เบริงเป็นผู้ค้นพบสารต้านชีวพิษ (antitoxin) ต่อคอตีบ และมีชื่อเสียงอย่างมากจากการค้นพบดังกล่าว รวมทั้งจากการอุทิศตนเพื่อศึกษาด้านภูมิคุ้มกัน เขาเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์เป็นคนแรกใน ค.ศ. 1901 จากการพัฒนาการรักษาด้วยซีรัมเพื่อต้านคอตีบ (ซึ่งเป็นผลงานร่วมกับเอมีล รู) และบาดทะยัก เนื่องจากโรคคอตีบนั้นได้คร่าชีวิตประชาชนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็ก และบาดทะยักเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักในสงคราม ในสภาวัณโรคนานาชาติ (International Tuberculosis Congress) เมื่อ ค.ศ. 1905 เบริงได้ประกาศว่าเขาค้นพบ "สารซึ่งนำมาจากไวรัสเชื้อวัณโรค" สารดังกล่าวที่เบริงตั้งชื่อว่า "T C" มีบทบาทสำคัญในการสร้าง "โบวิวัคซีน" ของศาสตราจารย์เบริง ซึ่งช่วยป้องกันวัณโรควัว

เบริงเสียชีวิตที่มาร์บวร์ค เฮ็สเซิน-นัสเซา เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1917 ชื่อของท่านได้นำไปเพื่อรำลึกถึงตามสถาบันหรือบริษัทต่าง ๆ เช่น Dade Behring บริษัททำงานเกี่ยวกับการสินิจฉัยทางคลินิกขนาดใหญ่ของโลก, CSL Behring ผู้ผลิตสารชีวรักษาจากพลาสมา, Behringwerke AG ในมาร์บวร์ค, Novartis Behring และในรางวัลเอมีล ฟ็อน เบริง (Emil von Behring Prize) แห่งมหาวิทยาลัยมาร์บวร์คซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดด้านการแพทย์ในประเทศเยอรมนี

เหรียญรางวัลโนเบลของเบริงปัจจุบันได้รับการเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สภากาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศในนครเจนีวา

ผลงานตีพิมพ์[แก้]

  • Die Blutserumtherapie (1892)
  • Die Geschichte der Diphtherie (1893)
  • Bekämpfung der Infektionskrankheiten (1894)
  • Beiträge zur experimentellen Therapie (1906)

อ้างอิง[แก้]

  • Karoline Grundmann (3 December 2001). "Emil von Behring: The founder of serum therapy". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2008-07-21.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]