ดรูว์ ไวส์แมน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดรูว์ ไวส์แมน
ไวส์แมนเมื่อปี 2022
เกิด (1959-09-07) 7 กันยายน ค.ศ. 1959 (64 ปี)
เล็กซิงตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ
การศึกษามหาวิทยาลัยแบรนไดส์ (BA, MA)
มหาวิทยาลัยบอสตัน (MD, PhD)
มีชื่อเสียงจากเทคโนโลยี mRNA ที่ปรับมาใช้สำหรับวัคซีนโควิด-19
รางวัลราววัลรอสเซินสตีล (2020)
รางวัลการวิจัยทางคลินิกแลสเคอร์ - ดีบาคี (2021)
รางวัลวินฟิวเชอร์ (2022)
รางวัลความก้าวหน้าในวิทยาศาสตร์ชีวิต (2022)
รางวัลฮาร์วีย์ (2023 สำหรับปี 2021)
รางวัลโนเบลสาขาการแพทย์และสรีรวิทยา (2023)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
วิทยานิพนธ์Regulation of B lymphocytes with reagents that cross-link surface immunoglobulin (1987)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกAnn Marshak-Rothstein

ดรูว์ ไวส์แมน (อังกฤษ: Drew Weissman; 7 กันยายน 1959) เป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน และผู้รับราวัลโนเบลสาขาการแพทย์ เป็นที่รู้จักดีจากส่วนร่วมในชีววิทยาอาร์เอ็นเอ ชิ้นงานของเขาได้ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัคซีนโรค COVID-19 ของ ไบออนเท็ก/ไฟเซอร์ และ มอเดอร์นา[1] เขาเป็นศาสตราจารย์รอเบิตส์แฟมิลีด้านการวิจัยวัคซีน (Roberts Family Professor in Vaccine Research) คนแรก, ผู้อำนวยการสถาบันเพนน์เพื่อนวัตกรรมอาร์เอ็นเอ (Penn Institute for RNA Innovation) และอาจารย์แพทย์ประจำวิทยาลัยแพทยศาสตร์เพเรลแมน มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย เขาและเพื่อนร่วมวิจัย คอตอลิน คอริโคว ได้รับรางวัลร่วมกันจำนวนมาก รวมถึงรางวัลวิจัยทางคลินิกแลสเคอร์-ดีบาคี และในปี 2023 ทั้งคู่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์และสรีรวิทยา[2][3]

การยอมรับ[แก้]

ไวส์แมนและกอริกอได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์และสรีรวิทยาในปี 2023 จากผลงานที่เกี่ยวกับเอ็มอาร์เอ็นเอ,[2] รางวัลรอสเซนสตีล ในปี 2020,[4] รางวัลลูยซา กรอว ฮอร์วิตซ์,[5] รางวัลศูนย์การแพทย์แอลบานี,[6] รางวัลวิจัยคลินิกแลสเคอร์-ดีบาคี,[7] รางวัลแนวหน้าความรู้ มูลนิธิ BBVA[8]

ไวส์แมนได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเดร็กเซิล[9] และในปี 2021 เขาได้รับรางวัลเจ้าหญิงแห่งแอสตูเรียส ในสาขาการวิจัยทางวิทยาศาสตร์[10] ในปี 2022 เขาได้รับรางวัลความก้าวหน้าด้านวิมยาศาสตร์ชีวิต, เหรียญเจสซี สตีเวนสัน คอวาเลนโค,[11] จากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติร่วมกับกอตอลิน และรางวัลญี่ปุ่น[12] รางวัลรอเบิร์ต ค็อก[13] กับรางวัลทังสำหรับสาขาวิทยาศาสตร์ชีวเภสัชวิทยา, รางวัลจานทองจากสถาบันความสำเร็จอเมริกัน[14] และได้รับเลือกตั้งเข้าสู่สถาบันแพทยศาสตร์แห่งชาติอเมริกัน และสถาบันศิลปศาสตร์และวิทยาการแห่งชาติอเมริกัน[15][16] ในปี 2023 เขาได้รับรางวัลฮาร์วีย์ของเท็กไอนอนในอิสราเอล รางวัลสำหรับปี 2021[17]

อ้างอิง[แก้]

  1. "This Philly Scientist's Technology Helped Make the Pfizer COVID-19 Vaccine Possible". November 12, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 13, 2020.
  2. 2.0 2.1 "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2023". NobelPrize.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ October 2, 2023.
  3. "Covid | Premio Nobel de Medicina 2023: qué es el ARN mensajero por el que premiaron a Katalin Karikó y Drew Weissman". BBC News Mundo (ภาษาสเปน). 2023-10-02. สืบค้นเมื่อ 2023-10-02.
  4. "Lewis S. Rosenstiel Award for Distinguished Work in Basic Medical Research". www.brandeis.edu (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 8, 2021. สืบค้นเมื่อ January 23, 2021.
  5. "The Louisa Gross Horwitz Prize". Columbia University Irving Medical Center. June 14, 2018. สืบค้นเมื่อ December 13, 2021.
  6. Albany Medical Center Prize 2021
  7. Hofschneider, Mark. "Modified mRNA vaccines". Lasker Foundation. สืบค้นเมื่อ December 13, 2021.
  8. "Find out about the BBVA Foundation Frontiers of Knowledge Award". Premios Fronteras.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Johnson
  10. IT, Developed with webControl CMS by Intermark. "Katalin Karikó, Drew Weissman, Philip Felgner, Uğur Şahin, Özlem Türeci, Derrick Rossi and Sarah Gilbert – Laureates – Princess of Asturias Awards". The Princess of Asturias Foundation. สืบค้นเมื่อ December 13, 2021.
  11. "Jessie Stevenson Kovalenko Medal". www.nasonline.org.
  12. "The Japan Prize Foundation". The Japan Prize Foundation.
  13. "Aktuelle Presse-Informationen". www.robert-koch-stiftung.de.
  14. "Golden Plate Awardees of the American Academy of Achievement". www.achievement.org. American Academy of Achievement.
  15. "Tang Prize | Media | 2022 Tang Prize in Biopharmaceutical Science Honors Three Scientists for Developing COVID-19 mRNA Vaccines". www.tang-prize.org.
  16. "Awards and Accolades | The Weissman Lab | Perelman School of Medicine at the University of Pennsylvania". www.med.upenn.edu.
  17. "Harvey Prize 2021". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-01. สืบค้นเมื่อ 2023-10-03.