เรือหลวงกระบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือหลวงกระบุรี (FFG-457) ในปี 2553
ประวัติ
ประเทศไทย
ชนิดเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา (ฟริเกต ไทป์ 053 เฮชที ชั้นเจียงหู III)
ชื่อเรือหลวงกระบุรี
ตั้งชื่อตามแม่น้ำกระบุรี
อู่เรืออู่ต่อเรือหูต่ง, เซี่ยงไฮ้
เดินเรือแรก28 ธันวาคม พ.ศ. 2533
เข้าประจำการ16 มกราคม พ.ศ. 2535
รหัสระบุ
ลักษณะเฉพาะ
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 1,676 ตัน (1,650 long ton) ปกติ
1,924 ตัน (1,894 long ton) เต็มที่
ความยาว: 103.2 เมตร (338 ฟุต 7 นิ้ว)
ความกว้าง: 11.3 เมตร (37 ฟุต 1 นิ้ว)
กินน้ำลึก: 3.1 เมตร (10 ฟุต 2 นิ้ว)
ระบบขับเคลื่อน: 4 × เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 20V1163 TB83
2 × ใบจักร ควบคุมด้วยระบบปรับพิทช์ใบจักร
ความเร็ว: 30 นอต (56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) สูงสุด
พิสัยเชื้อเพลิง: 3,500 ไมล์ทะเล (6,500 กิโลเมตร) ที่ 18 นอต (33 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
อัตราเต็มที่: 168
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ:
  • ตอนที่ต่อเรือ
  • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ แบบ 354 Eye Shield
  • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ แบบ 352C Square Tie
  • เรดาร์ควบคุมการยิง แบบ 343 Sun Visor (สำหรับปืน 100 มม.)
  • เรดาร์ควบคุมการยิง แบบ 341 Rice Lamp (สำหรับปืน 37 มม.)
  • เรดาร์เดินเรือ Racal-Decca 1290 A/D ARPA
  • เรดาร์เดินเรือ Anritsu RA 71CA
  • ระบบพิสูจน์ฝ่าย (IFF) แบบ 651
  • ระบบอำนวยการรบ แบบ ZKJ-3 หรือ STN Atlas mini COSYS
  • โซนาร์ แบบ SJD-5A
สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง:
  • ESM แบบ 923-1 intercept
  • ECM แบบ 981-3 deception jammer
  • 2 × แท่นยิงเป้าลวง สะท้อนคลื่นเรดาร แบบ 945 GPJ
  • ยุทโธปกรณ์:
  • 1–2 × ปืนใหญ่เรือ 100 มม./56 แบบ 79 แท่นคู่
  • 4 × ปืนใหญ่กล 37 มม. แท่นคู่
  • 8 × แท่นปล่อย C-802A SSM
  • 2 × แท่นยิงจรวดปราบเรือดำน้ำ แบบ 86
  • 2 × จรวดปราบเรือดำน้ำ BMB
  • อากาศยาน: 1 × เบลล์ 212
    อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: ดาดฟ้าบิน
    คำขวัญ: เราจะทำเพื่อส่วนรวม

    เรือหลวงกระบุรี (FFG-457) (อังกฤษ: HTMS Kraburi) เป็นเรือลำที่สามในเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา สังกัดกองเรือฟริเกตที่ 2[2] กองเรือยุทธการ ของกองทัพเรือไทย โดยใช้แบบของเรือฟริเกต แบบ 053 เฮชที ชั้นเจียงหู III ของจีน โดยเรือหลวงกระบุรี มีคำขวัญว่า เราจะทำเพื่อส่วนรวม[3]

    การออกแบบ[แก้]

    เรือหลวงกระบุรี มีความยาว 103.2 เมตร (339 ฟุต) ความกว้าง 11.3 เมตร (37 ฟุต) กินน้ำลึก 3.1 เมตร (10 ฟุต) ระวางขับน้ำปกติ 1,840.57 ตัน ระวางขับน้ำเต็มที่ 1961 ตัน มีใบพัดสองเพลาและขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล MTU 20V1163 TB83 สี่เครื่องที่มีกำลัง 29,440 แรงม้า (21,950 กิโลวัตต์) เรือมีระยะทำการ 3,500 ไมล์ทะเล (6,500 กม.) ขณะแล่นด้วยความเร็ว 18 นอต (33 กม./ชม.) และมีความเร็วสูงสุด 30 นอต (56 กม./ชม.) เรือหลวงกระบุรี ใช้กำลังพลทั้งหมด 168 นาย ซึ่งรวมถึงนายทหาร 22 นาย[4]

    ชั้นเรือแบบ 053 เฮชที ซึ่งเป็นแบบเรือของเรือหลวงกระบุรีนั้น ติดตั้งปืนใหญ่เรือขนาด 100 มม./56 แบบ 79 แท่นคู่ ที่บริเวณส่วนหน้า และปืนใหญ่กลแบบ 76 ขนาด 37 มม. แท่นคู่ จำนวนสี่กระบอก สำหรับการทำสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ นอกจากนี้เรือได้แท่นยิงจรวดปราบเรือดำน้ำ แบบ 86 จำนวนสองแท่น และจรวดปราบเรือดำน้ำ BMB น้ำลึก จำนวนสองแท่น สำหรับสงครามผิวน้ำ เรือหลวงกระบุรีนั้นได้ติดตั้งเครื่องยิงขีปนาวุธต่อต้านเรือ C-801 แปดแท่นเป็นอาวุธหลักประจำเรือ[4] พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับดาดฟ้าบิน และสามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ได้หนึ่งลำ[4]

    การปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ[แก้]

    เรือแบบ 053 เฮชที (เฮช) อีกสองลำ คือ เรือหลวงกระบุรี และเรือหลวงสายบุรี ได้รับการปรับปรุงระบบให้ทันสมัยขึ้นในปี พ.ศ. 2552 การปรับปรุงนี้นี้รวมถึงการเปลี่ยนระบบอาวุธและระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบไปด้วยปืนใหญ่เรือแบบ 100 มม./56 แบบ 79A และเรดาร์ควบคุมการยิงแบบ TR47C และแบบ FCU17C-2, ระบบอำนวยการรบ Poseidon III แทนที่ระบบเก่าคือ ZKJ-3, ปืนใกญ่กล 37 มม. แบบ 76A แท่นคู่ ควบคุมระยะไกลด้วยเรดาร์ควบคุมการยิง TR47C พร้อมระบบควบคุมการยิง FCU17C-1, ระบบระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (ESM) ES-3601-10 แทนที่ ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ แบบ 923-1 และ แบบ 981-3, เรดาร์ตรวจการพื้นน้ำ/อากาศ SR-60 และติดตั้งขีปนาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำใหม่ คือ C-802A[4][3]

    การต่อเรือ[แก้]

    เรือหลวงกระบุรี ได้รับการสั่งต่อพร้อมกันกับเรือลำอื่น ๆ ในเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา รวม 4 ลำ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ณ อู่ต่อเรือหูต่ง เซี่ยงไฮ้ โดยปล่อยลงน้ำในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2533 เพื่อทดสอบและส่งมอบ

    เมื่อเรือเดินทางมาถึงประเทศไทยเพื่อส่งมอบ ได้มีการตรวจสอบคุณภาพและพบว่าตัวเรือยังไม่เป็นที่น่าพอใจในการทำไปใช้งานและจำเป็นจะต้องแก้ไขปรับปรุงเกี่ยวกับการควบคุมความเสียหายของตัวเรือ[5] เมื่อได้ปรับปรุงในส่วนของส่วนควบคุมความเสียหายและส่วนอื่น ๆ ที่ต่ำกว่ามาตรฐานให้ได้มาตรฐาน[5]แล้วจึงได้นำเรือเข้าประจำการในกองทัพเรือไทยเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2535[5][4]

    ภารกิจ[แก้]

    เรือหลวงกระบุรีระหว่างการฝึกผสม CARAT 2011

    เรือหลวงกระบุรีมักจะได้รับภารกิจร่วมกับเรือน้องสาวในการฝึกประจำวงรอบและสับเปลี่ยนกำลังไปปฏิบัติหน้าที่ยามฝั่งเป็นประจำทุก ๆ เดือน[5]

    ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2540 เรือหลวงกระบุรีพร้อมกับเรือหลวงนเรศวรถูกส่งไปยังเมืองโรตา ประเทศสเปนเพื่อคุ้มกันเรือหลวงจักรีนฤเบศรในช่วงทดสอบการบินของอากาศยาน และเรือทั้งสอบได้คุ้มกันเรือหลวงจักรีนฤเบศรในการเดินทางกลับมายังประเทศไทย โดยเดินทางมาถึงเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2540[6]

    ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เรือหลวงกระบุรีได้รับความเสียหายจากการถูกคลื่นยักษ์ซัดตัวเรือเข้ามาบนฝั่ง ซึ่งหลังจากเหตุการณ์นั้นเรือได้รับการซ่อมแซมและกลับมาประจำการอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548[5]

    เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เรือหลวงกระบุรีได้ร่วมทำการฝึก PASSEX ร่วมกับเรือหลวงริชมอนด์กองทัพเรือสหราชอาณาจักรบริเวณทะเลอันดามันช่วงน่านน้ำประเทศไทยด้านใต้เกาะสิมิลัน ห่างจากบ้านทับละมุ อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา 40 ไมล์ เพื่อฝึกการแปรขบวน การชักประมวลธงสากล การส่งสัญญาณไฟ การจัดกระขบวนถ่ายรูป ประมาณเวลา 14.00 - 15.00 น.[7] ระยะเวลา 1 ชั่วโมง[8]

    เรือหลวงกระบุรีและเรือการ์มุค (INS Karmuk) ได้ปฏิบัติการร่วมกันในการลาดตระเวนร่วมระหว่างอินเดียและไทย (Indo-Thai CORPAT) ครั้งที่ 30 ระหว่างวันที่ 18 - 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565[9] เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เรือหลวงสุโขทัยได้ประสบอุบัติเหตุจากพายุทำให้เกิดน้ำเข้าท่วมตัวเรือ และมีคำสั่งให้สละเรือ ที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรือหลวงกระบุรีเป็นเพียงเรือลำเดียวที่เข้าถึงที่เกิดเหตุเพื่อให้ความช่วยเหลือลูกเรือและเจ้าหน้าที่[10]ก่อนที่ตัวเรือจะจมลงในเวลาเที่ยงคืน[11] และเข้าร่วมภารกิจค้นหาและกู้ภัย[12]

    อ้างอิง[แก้]

    1. https://www.marinetraffic.com/en/ais/details/ships/shipid:3925125/mmsi:567015800/imo:0/vessel:KRABURI457
    2. "ฉะเชิงเทรา - 'ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ' ตรวจเยี่ยมการฝึกทบทวนเรือที่จะไปปฏิบัติราชการ ทัพเรือภาคที่ 3 และการยิงอาวุธของเรือในกองเรือฟริเกตที่ 2". THESTATESTIMES (ภาษาอังกฤษ).
    3. 3.0 3.1 "ร.ล.กระบุรี". fleet.navy.mi.th. 8 October 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-26. สืบค้นเมื่อ 26 December 2022.
    4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Saunders 2004, p. 735.
    5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Saunders 2009, p. 803.
    6. Saunders 2009, p. 801–803.
    7. "ทร.แจงเรือรบอังกฤษฝึกร่วมกับไทยเพิ่มทักษะทั่วไป ปัดคานอำนาจจีน". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
    8. "ทร.แจงเรือรบอังกฤษฝึกร่วมกลางอันดามัน ไม่ได้ขึ้นฝั่งไทย". Thai PBS.
    9. "Indo-Thai Coordinated Patrol (CORPAT)". modernshrines.in. 20 November 2020. สืบค้นเมื่อ 27 December 2022.
    10. Nilnakorn, Phanit. "วินาทีชีวิต! เปิดคลิปนาทีระทึก 'เรือหลวงกระบุรี' ช่วยลูกเรือ 'เรือหลวงสุโขทัย' ลอยคอกลางทะเล". เดลินิวส์.
    11. "Thailand warship capsizes leaving 31 sailors missing". BBC.com. 19 December 2022. สืบค้นเมื่อ 27 December 2022.
    12. "เรือหลวงสุโขทัย : ค้นหาวันที่ 4 ยังไม่พบผู้สูญหายเพิ่ม". BBC News ไทย. 2022-12-19.

    บรรณานุกรม[แก้]

    • Gardiner, Robert; Chumbley, Stephen, บ.ก. (1995). Conway's All the World's Fighting Ships 1947–1995. Annapolis, Maryland, USA: Naval Institute Press. ISBN 1-55750-132-7.
    • Saunders, Cdre. Stephen (2004). Jane's Fighting Ships 2004-2005. Jane's Information Group. ISBN 978-0710626233.
    • Saunders, Stephen, บ.ก. (2009). Jane's Fighting Ships 2009-2010. Jane's Information Group. ISBN 9780710628886.