เรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือหลวงกระบุรี (FFG-457) ระหว่างเดินเรือในปี 2553
ภาพรวมชั้น
ผู้สร้าง: อู่ต่อเรือหูต่ง, เซี่ยงไฮ้, จีน
ผู้ใช้งาน: Naval flag of ไทย กองทัพเรือไทย
ก่อนหน้าโดย: เรือหลวงมกุฎราชกุมาร
ตามหลังโดย: เรือฟริเกตชุดเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ชั้นย่อย:
  • เรือฟริเกต แบบ 053
  • เรือฟริเกต แบบ 053 เฮชที
  • เรือฟริเกต แบบ 053 เฮชที (เฮช)
สร้างเมื่อ: พ.ศ. 2532–2535
ในประจำการ: พ.ศ. 2534–ปัจจุบัน
เสร็จแล้ว: 4 ลำ
ใช้การอยู่: 4 ลำ
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือฟริเกตอาวุธปล่อยนำวิถี
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 1,676 ตัน (1,650 long ton) ปกติ
1,924 ตัน (1,894 long ton) เต็มที่
ความยาว: 103.2 เมตร (338 ฟุต 7 นิ้ว)
ความกว้าง: 11.3 เมตร (37 ฟุต 1 นิ้ว)
กินน้ำลึก: 3.1 เมตร (10 ฟุต 2 นิ้ว)
ระบบขับเคลื่อน:
  • 4 × เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 20V1163 TB83
  • 2 × ใบจักร ควบคุมด้วยระบบปรับพิทช์ใบจักร
ความเร็ว: 30 นอต (56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) สูงสุด
พิสัยเชื้อเพลิง: 3,500 ไมล์ทะเล (6,500 กิโลเมตร) ที่ 18 นอต (33 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
กำลังพล:
  • นายทหาร 22 นาย
  • ประจำเรือ 146 นาย
อัตราเต็มที่: 168 นาย
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ:
  • ตอนที่ต่อเรือ
  • 1 × เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ แบบ 354 Eye Shield
  • 1 × เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ แบบ 352C Square Tie
  • 1 × เรดาร์ควบคุมการยิง แบบ 343 Sun Visor (สำหรับปืน 100 มม.)
  • 1 × เรดาร์ควบคุมการยิง แบบ 341 Rice Lamp (สำหรับปืน 37 มม.)
  • 1 × เรดาร์เดินเรือ Racal-Decca 1290 A/D ARPA
  • 1 × เรดาร์เดินเรือ Anritsu RA 71CA
  • 1 × ระบบพิสูจน์ฝ่าย (IFF) แบบ 651
  • 1 × ระบบอำนวยการรบ แบบ ZKJ-3 หรือ STN Atlas mini COSYS
  • 1 × โซนาร์ แบบ SJD-5A
สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง:
  • ESM แบบ 923-1 intercept
  • ECM แบบ 981-3 deception jammer
  • 2 × แท่นยิงเป้าลวง สะท้อนคลื่นเรดาร แบบ 945 GPJ
ยุทโธปกรณ์:
  • 1–2 × ปืนใหญ่เรือ 100 มม./56 แบบ 79 แท่นคู่
  • 4 × ปืนใหญ่กล 37 มม. แท่นคู่
  • 8 × แท่นปล่อย C-801 SSM
  • 2 × แท่นยิงจรวดปราบเรือดำน้ำ แบบ 86
  • 2 × จรวดปราบเรือดำน้ำ BMB
อากาศยาน: 1 × เบลล์ 212 (แบบ 053 เฮชที (เฮช) เท่านั้น)
อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: ดาดฟ้าบิน (แบบ 053 เฮชที (เฮช) เท่านั้น)

เรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา (อังกฤษ: Chao Phraya-class frigate) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แบบ 053 เฮชที และ แบบ 053 เฮชที (เฮช) คือรุ่นของเรือฟริเกต แบบ 053 เฮช 2 ที่สร้างโดยประเทศจีน สำหรับใช้งานโดยกองทัพเรือไทย

การออกแบบ[แก้]

เรือชั้นเจ้าพระยามีความยาว 103.2 เมตร (339 ฟุต) ความกว้าง 11.3 เมตร (37 ฟุต) กินน้ำลึก 3.1 เมตร (10 ฟุต) ระวางขับน้ำปกติ 1,676 ตัน ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,924 ตัน มีใบพัดสองเพลาและขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล MTU 20V1163 TB83 สี่เครื่องที่มีกำลัง 29,440 แรงม้า (21,950 กิโลวัตต์) เรือมีระยะทำการ 3,500 ไมล์ทะเล (6,500 กม.) ขณะแล่นด้วยความเร็ว 18 นอต (33 กม./ชม.) และมีความเร็วสูงสุด 30 นอต (56 กม./ชม.) เรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา ใช้กำลังพลทั้งหมด 168 นาย ซึ่งรวมถึงนายทหาร 22 นาย[1]

ชั้นเรือแบบ 053 เฮชที ติดตั้งปืนใหญ่เรือขนาด 100 มม./56 แบบ 79 แท่นคู่ ที่บริเวณส่วนหน้าและท้ายเรือ และปืนใหญ่กลแบบ 76 ขนาด 37 มม. แท่นคู่ จำนวนสี่กระบอก สำหรับการทำสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ นอกจากนี้เรือได้แท่นยิงจรวดปราบเรือดำน้ำ แบบ 86 จำนวนสองแท่น และจรวดปราบเรือดำน้ำ BMB น้ำลึก จำนวนสองแท่น สำหรับสงครามผิวน้ำ เรือชั้นนี้ติดตั้งเครื่องยิงขีปนาวุธต่อต้านเรือ C-801 แปดแท่น[1]

ส่วนชั้นเรือแบบ 053 เฮชที (เฮช) มีการติดอาวุธที่แตกต่างกันเล็กน้อย โดยปืนใหญ่เรือขนาด 100 มม. แท่นคู่ บริเวณท้ายเรือถูกแทนที่ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับดาดฟ้าบิน และสามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ได้หนึ่งลำ[1]

สเป็กแรกเริ่มตั้งแต่ต่อเรือ เรือชั้นนี้มีอุปกรณ์เซ็นเซอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ แบบ 354 Eye Shield, เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ แบบ 352C Square Tie, เรดาร์ควบคุมการยิง แบบ 343 Sun Visor สำหรับปืน 100 มม., เรดาร์ควบคุมการยิง แบบ 341 Rice Lamp สำหรับปืน 37 มม. ,เรดาร์เดินเรือแบบ Racal-Decca 1290 A/D ARPA และ Anritsu RA 71CA , ระบบพิสูจน์ฝ่าย (IFF) แบบ 651, ระบบอำนวยการรบ แบบ ZKJ-3 หรือ STN Atlas mini COSYS, ระบบโซนาร์ แบบ SJD-5A, ESM แบบ 923-1 intercept, ECM แบบ 981-3 deception jammer และ เครื่องยิงอุปกรณ์สะท้อนคลื่นเรดาร์ (Chaff) แบบ 945 GPJ จำนวน 2 เครื่อง[1]

การปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ[แก้]

เรือแบบ 053 เฮชที (เฮช) อีกสองลำ คือ เรือหลวงกระบุรี และเรือหลวงสายบุรี ได้รับการปรับปรุงระบบให้ทันสมัยขึ้นในปี พ.ศ. 2552 การปรับปรุงนี้นี้รวมถึงการเปลี่ยนระบบอาวุธและระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบไปด้วยปืนใหญ่เรือแบบ 100 มม./56 แบบ 79A และเรดาร์ควบคุมการยิงแบบ TR47C และแบบ FCU17C-2, ระบบอำนวยการรบ Poseidon III แทนที่ระบบเก่าคือ ZKJ-3, ปืนใกญ่กล 37 มม. แบบ 76A แท่นคู่ ควบคุมระยะไกลด้วยเรดาร์ควบคุมการยิง TR47C พร้อมระบบควบคุมการยิง FCU17C-1, ระบบระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (ESM) ES-3601-10 แทนที่ ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ แบบ 923-1 และ แบบ 981-3, เรดาร์ตรวจการพื้นน้ำ/อากาศ SR-60 และติดตั้งขีปนาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำใหม่ คือ C-802A[1][2]

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 กองทัพเรือไทยมีแผนที่จะปรับปรุงเรือแบบ 053 เฮชที สองลำ ได้แก่ เรือหลวงเจ้าพระยา และเรือหลวงบางปะกง ให้มีความทันสมัยเทียบเท่ากับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งสมัยใหม่ สำหรับแผนการปรับปรุงนี้ร่วมไปถึงการเปลี่ยนปืนขนาด 100 มม. เป็นปืนการอัพเกรดตามแผนรวมถึงการเปลี่ยนปืน 100 มม. เป็นปืนใหญ่เรืออัตโนมัติ 76/62 และเปลี่ยนปืนใหญ่กล 37 มม. ทั้งสี่กระบอก เป็นปืนใหญ่กล 30 มม. แบบยิงเร็ว พร้อมกับระบบอำนวยการรบและระบบตรวจการณ์ใหม่[3][4]

ชื่อชุดและเรือ[แก้]

เรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา ถูกตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์การตั้งชื่อของกองทัพเรือ[5] ซึ่งเรือฟริเกตนั้นให้ตั้งชื่อตามแม่น้ำสายสำคัญ[6] โดยชื่อชั้นเรือจะถูกตั้งขึ้นตามเรือลำแรกในชั้นนั้น ๆ และชื่อเรือจะต้องได้รับพระราชทานชื่อเรือ ซึ่งเรือชุดนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ แทนพระองค์มาประกอบพิธีเจิมเรือฟริเกตชั้นเรือหลวงเจ้าพระยาเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2535[7]

เรือในชุด[แก้]

ชื่อ หมายเลข สร้างโดย ปล่อยลงน้ำ ประจำการ ปลดประจำการ สถานะ
แบบ 053 เฮชที
เรือหลวงเจ้าพระยา FFG-455 อู่ต่อเรือหูต่ง, เซี่ยงไฮ้ 24 มิถุนายน 2533 5 เมษายน 2534 ประจำการ
เรือหลวงบางปะกง FFG-456 25 กรกฎาคม 2533 20 กรกฎาคม 2534 ประจำการ
แบบ 053 เฮชที (เฮช)
เรือหลวงกระบุรี FFG-457 อู่ต่อเรือหูต่ง, เซี่ยงไฮ้ 28 ธันวาคม 2533 16 มกราคม 2535 ประจำการ
เรือหลวงสายบุรี FFG-458 27 สิงหาคม 2534 4 สิงหาคม 2535 ประจำการ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Saunders 2004, p. 735.
  2. "ร.ล.กระบุรี". fleet.navy.mi.th. 8 October 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-26. สืบค้นเมื่อ 26 December 2022.
  3. "Royal Thai Navy thinks to upgrade two Chao Phraya class frigates Type 053". navyrecognition.com. 8 August 2022. สืบค้นเมื่อ 26 December 2022.
  4. นาคพุ่ม, เอกพล. "AAG_th บันทึกประจำวัน: กองทัพเรือไทยมีแผนปรับปรุงเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา ๒ลำ". AAG_th บันทึกประจำวัน.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. ระเบียบกองทัพเรือ ว่าด้วย การแบ่งชั้นเรือ หมู่เรือ และการตั้งชื่อเรือหลวง พ.ศ. 2527
  6. "รู้จัก "เรือหลวงช้าง" เรือรบลำใหม่ของกองทัพเรือ". Thai PBS.
  7. "Royal Thai Navy - Detail Main". www.navy.mi.th.

บรรณานุกรม[แก้]