เบตตี เดวิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบตตี เดวิส
ภาพถ่ายสาธารณะใน ค.ศ. 1935
เกิดรูธ เอลิซาเบธ เดวิส
5 เมษายน ค.ศ. 1908(1908-04-05)[1]
โลเวลล์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ
เสียชีวิต6 ตุลาคม ค.ศ. 1989(1989-10-06) (81 ปี)
เนอยี-ซูร์-แซน ฝรั่งเศส
อาชีพนักแสดง
ปีปฏิบัติงาน1929–1989
พรรคการเมืองพรรคเดโมแครต
คู่สมรสฮาร์มอน ออสการ์ เนลสัน
(สมรส 1932; หย่า 1938)

อาร์เธอร์ ฟาร์นสเวิร์ธ
(สมรส 1940; เสียชีวิต 1943)

วิลเลียม แกรนต์ เชอรี
(สมรส 1945; หย่า 1950)

แกรี เมอร์ริล
(สมรส 1950; หย่า 1960)
บุตร3 คน รวมถึง บี. ดี. ไฮแมน
ลายมือชื่อ

รูธ เอลิซาเบธ "เบตตี" เดวิส (อังกฤษ: Ruth Elizabeth "Bette" Davis; 5 เมษายน ค.ศ. 1908 – 6 ตุลาคม ค.ศ. 1989) เป็นนักแสดงชาวอเมริกัน ได้รับการขนานนามว่าเป็น "เจ้าเเม่แห่งวงการภาพยนตร์" (Film Royalty) เธออยู่ในวงการมากว่า 50 ปี และปรากฏอยู่ในภาพยนตร์และโทรทัศน์มากกว่า 104 เรื่อง[2] เธอเป็นที่รู้จักอย่างดีจากบทบาทการเเสดงในการเป็นนางร้ายที่ไร้ความเห็นอกเห็นใจและได้รับคำชื่นชมอย่างกว้างขวางจากทั้งภาพยนตร์แนวประโลมโลก ประวัติศาสตร์ และตลกเป็นครั้งคราว แม้ว่าเธอจะประสบความสำเร็จอย่างมากกับภาพยนตร์แนวรักก็ตาม เธอถูกจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 "ดาราหญิงที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล" จากการจัดของสถาบันภาพยนตร์อเมริกัน

หลังจากปรากฏอยู่ในละครบรอดเวย์ เบตตีได้ย้ายมายังฮอลลีวูดใน ค.ศ. 1930 ซึ่งภาพยนตร์เรื่องแรกของเธอกับยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์ประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย จากนั้นเธอเซ็นสัญญากับวอร์เนอร์บราเธอส์ใน ค.ศ. 1932 และเริ่มมีชื่อเสียงจากบทพนักงานเสิร์ฟสาวผู้ใจจืดใจดำในภาพยนตร์เรื่อง Of Human Bondage (1934) จนกระทั่ง ค.ศ. 1937 เธอพยายามปลดปล่อยตนเองจากสัญญากับวอร์เนอร์บราเธอส์ แม้ว่าเธอจะแพ้คดีความแต่ก็เป็นช่วงที่ประสบความสำเร็จอย่างขีดสุดในอาชีพการงานของเธอ จนปลายคริสต์ทศวรรษ 1940 เธอเป็นหนึ่งในนักแสดงภาพยนตร์ชาวอเมริกันที่สำคัญที่สุดกับสไตล์อันหนักแน่นและเอาจริงเอาจัง เธอยังเป็นที่เลื่องลือด้านการต่อสู้เจรจาและเผชิญหน้ากับผู้บริหารสตูดิโอ ผู้กำกับภาพยนตร์ และนักแสดงร่วม ที่มักถูกเปิดเผยต่อสาธารณชนด้วยบุคลิกที่ตรงไปตรงมากับเสียงพูดอันห้วน ๆ และถือบุหรี่อยู่ในมือ จึงถูกสาธารณะล้อเลียนและเสียดสี

เดวิสเป็นผู้ร่วมก่อตั้งของฮอลลีวูดแคนทีน และเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้เป็นประธานสถาบันศิลปะภาพยนตร์และวิทยาการ (AMPAS) เธอได้รับรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมถึงสองครั้ง และเป็นบุคคลแรกที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาการแสดงถึงสิบครั้ง และได้รับรางวัลสำหรับความสำเร็จตลอดชีพจากสถาบันภาพยนตร์อเมริกัน ตลอดอาชีพของเธอต้องผ่านช่วงตกต่ำและประสบปัญหากับชีวิตส่วนตัวหลายช่วง เธอแต่งงานทั้งหมดสี่ครั้ง หย่าร้างสามครั้ง และเป็นแม่หม้ายอีกหนึ่งครั้ง เธอเลี้ยงดูบุตรในฐานะแม่เลี้ยงเดี่ยว ในช่วงบั้นปลายชีวิต เธอมีปัญหาสุขภาพเป็นเวลานานแต่ยังคงรับงานแสดงต่อไป จนกระทั่งเสียชีวิตด้วยมะเร็งเต้านมใน ค.ศ. 1989[3]

ชีวตและอาชีพ[แก้]

1908–1929: วัยเยาว์และอาชีพการแสดงช่วงต้น[แก้]

รูธ เอลิซาเบธ เดวิส รู้จักกันตั้งแต่ยังเด็กว่า "เบตตี" เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1908 ในโลเวลล์ รัฐแมสซาชูเซตส์ เป็นบุตรสาวของฮาร์โลว์ มอร์เรลล์ เดวิส (1885–1938) นักศึกษากฎหมายจากออกัสตา รัฐเมน ซึ่งภายหลังได้เป็นทนายสิทธิบัตร และรูธ ออกัสตา (สกุลเดิม Favór; 1885–1961) จากทิงส์โบโร รัฐแมสซาชูเซตส์[4] เดวิสมีน้องสาวหนึ่งคนชื่อ บาร์บารา แฮเรียต[5]

ใน ค.ศ. 1915 พ่อแม่ของเดวิสก็หย่าร้างกัน เธอและน้องสาวเข้าเรียนที่โรงเรียนประจำแห่งสปาร์ตันที่ชื่อ เครสตัลแบน (Crestalban) ในเลนส์โบโร รัฐแมสซาชูเซตส์ ในเบิร์กเชียร์เป็นเวลาสามปี[6]

เธอเริ่มฉายแววการแสดงมาตั้งแต่วัยเยาว์โดยเธอมีโอกาสไปแสดงละครเวทีของโรงเรียนเรื่องแรกคือ The Wild Duck ต่อมาเมื่อเธออายุได้ 16 ปีเธอได้เข้าศึกษาต่อที่สถาบันการแสดงในกรุง Boston ชื่อสถาบัน Cushing Academy และได้พบรักกับ Harmon O.Nelson ซึ่งทั้งคู่ได้มาแต่งงานกันในภายหลัง

หลังจากที่เธอเรียนจบ เธอได้ย้ายมาอยู่ที่ New York และประกอบอาชีพเป็นนักแสดงละครเวที เมื่อปี ค.ศ.1929 (พ.ศ. 2472) โดยเธอเล่นละครเวทีเรื่องแรกเรื่อง "Broken Dishes" ก็ประสบความสำเร็จโดยมีคนชักชวนเธอให้ย้ายจาก Broadway ไปยังฮอลลีวู้ด

ชีวิตเริ่มต้นในวงการบันเทิง ค.ศ.1930 - ค.ศ.1933[แก้]

หลังจากนั้นเธอได้ตัดสินใจไปยังเมือง ฮอลลีวู้ด เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ.1929 โดยนั่งรถไฟไปจากสถานี New York ไปยัง Union Station พร้อมกับแม่ของเธอ เธอได้ไปเซ็นสัญญากับค่ายUniversal Studios และเล่นหนังเรื่องแรกเรื่อง The Bad Sister แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากค่ายไม่ค่อยผลักดันเธอและโฆษณาเธอซักเท่าไหร่นัก เธอจึงตัดสินใจย้ายกลับไป New York เพียงแค่ 1 วันหลังจากเธอกลับมาจาก ฮอลลีวู้ด คุณ George Arliss ศิลปินนักแสดงและนักเขียนอาวุโส ประจำค่าย Warner Brothers ได้เรียกเธอไปแคสหน้ากล้อง เนื่องจากเห็นแววในตัวของเบตตี เดวิส จึงได้นัดเธอและจับเธอมาเซ็นสัญญากับค่าย Warner Brothers เมื่อปี ค.ศ.1932 และได้หนังเรื่องแรก The Man Who Played God กับทางค่าย Warner Brothers

ดาวใหม่แจ้งเกิดในวงการบันเทิง ค.ศ.1934 - ค.ศ.1938[แก้]

นางร้ายคนแรกบนจอภาพยนตร์สากล

ในปี ค.ศ.1934 เธอได้เล่นหนังเรื่อง Of Human Bondage คู่กับ Leslie Howard พระเอกแถวหน้าในฮอลลีวู้ดยุค 30 โดยเธอรับบทเป็น Mildred พนักงานเสิร์ฟสาวผู้มีจิตใจดำ ร้อยเล่ห์ เอาเปรียบผู้อื่นที่ นักศึกษาแพทย์ (รับบทโดย Leslie Howard) ตกหลุมรัก บทบาทนี้ทำให้เธอแจ้งเกิดในวงการภาพยนตร์อย่างเป็นทางการ และได้คำวิจารณ์บนนิตสาร Life ว่าเป็น การแสดงที่สมจริงที่สุดบนจอภาพยนตร์ บทนี้ทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์เป็นครั้งแรก

ปี 1935 เธอได้แสดงภาพยนตร์คู่กับ Franchot Tone ในเรื่อง Dangerous ซึ่งภาพยนตร์ก็ได้เสียงตอบรับที่ดีมาก ส่งผลให้เบตตี ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์เป็นครั้งที่ 2 และชนะรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม เป็นครั้งแรกในชีวิตการแสดง นิตยสาร The New York Times กล่าวว่า เธอเป็นนักแสดงหญิงที่น่าจับตามองมากที่สุด

ค.ศ. 1938–1942[แก้]

เบตตี เดวิส ในภาพยนตร์เรื่อง วนิดามารยา (Jezebel) (1938)

เบตตี เดวิส แสดงภาพยนตร์เรื่อง Marked Woman (1937) ผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้เธอชนะรางวัล Volpi Cup สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจาก เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส.[7] หลังจากที่เรื่อง Marked Woman ประสบความสำเร็จ เธอได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง วนิดามารยา (1938) ช่วงระหว่างถ่ายทำเธอได้มีความสัมพันธ์พบรักกับ William Wyler ในฐานะแฟน เธอเคยกล่าวว่ารักครั้งนั้นเป็น "love of my life" ในช่วงระหว่างถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้เธอบอกว่า "มันเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขมากที่สุดในชีวิตฉัน".[8]

ในภาพยนตร์ วนิดามารยา เธอรับบทเป็น Julia หญิงสาวผู้ดีทางตอนใต้ที่เอาแต่ใจตนเอง บทนี้ทำให้ชนะรางวัลออสการ์เป็นครั้งที่สอง สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม

เบตตี เดวิส ชนะรางวัลออสการ์สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ปี 1939

วนิดามารยา หรือ Jezebel เป็นจุดเริ่มต้นของการที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในอาชีพการแสดงของเธอ ในปีถัดมา เธอได้รับการจัดอันดับใน Quigley Poll ประจำปีของ Top Ten Money-Making Stars (10 นักแสดงที่ทำรายได้สูงสุดในปี 1938) ซึ่งรวบรวมจากคะแนนการโหวตของนักแสดงภาพยนตร์ทั่วสหรัฐฯ สำหรับดาราที่สร้างรายได้ในโรงภาพยนตร์มากที่สุดในช่วงปีที่แล้ว

ตรงกันข้ามกับความสำเร็จในอาชีพการงานของเบตตี สามีของเธอ Harmon O.Nelson นั้นล้มเหลวในการสร้างอาชีพให้ตัวเอง ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ก็ลดลง ในปี พ.ศ. 2481 เนลสันได้รู้ว่า Bette Davis มีความสัมพันธ์ทางเพศเป็นชู้กับ โฮเวิร์ดฮิวจ์ส ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งคู่จบลง

รับบทเป็น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบซที่ 1 เป็นคนแรก

เบตตี เดวิส รับบทเป็น สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบซที่ 1 ในภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบซที่ 1 กับเอ็กเซกต์ (1939)

เธอแสดงภาพยนตร์เรื่อง Dark Victory (1939) แสดงนำคู่กับ ฮัมฟรีย์ โบการ์ต และอดีตประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน และคิดว่าจะทิ้งมันไปจนกว่าผู้อำนวยการสร้าง Hal B. Wallis จะโน้มน้าวให้เธอแสดงความสิ้นหวังในการแสดงของเธอ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงแห่งปีและบทบาทของจูดิธ เทรเฮอร์น สาวตาบอด ทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลออสการ์ ในปี 1940 เบตตีกล่าวว่าผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องโปรดของเธอ [9]

เธอปรากฏตัวในภาพยนตร์บ็อกซ์ออฟฟิศอีกสามเรื่องในปี 1939 นั้นคือ The Old Maid ร่วมกับ มิเรียม ฮอปกินส์, ภาพยนตร์เรื่อง Juarez กับ Paul Muni และ ตำนานสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบซที่ 1 กับเอ็กเซกต์ แสดงนำกับ Errol Flynn ซึ่งเป็นภาพยนตร์สีเรื่องเดียวของเธอที่สร้างขึ้นในช่วงฮอลลีวู้ดยุคทอง เธอรับบทเป็น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ

จากนางร้าย สู่การเป็นนางเอก บนจอภาพยนตร์ เมื่อถึงปี 1940 เบตตี เดวิส กลายเป็นนักแสดงที่ทำรายได้สูงสุดเป็นอันดับ 1 ของค่ายวอร์เนอร์บราเธอร์ส ช่วงยุค 40 ส่วนมากเธอจะได้รับบทนางเอกเป็นส่วนใหญ่ ภาพลักษณ์ของเธอได้รับการพิจารณาด้วยความระมัดระวังมากขึ้น แม้ว่าเธอจะยังคงรับบทเป็นตัวละครต่างๆ ทั้งนางเอก นางร้าย คนแก่ คุณครู หญิงม่าย ฯลฯ ในปีนั้นเธอแสดงภาพยนตร์เรื่อง All This and Heaven Too (1940) เป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จทางด้านกำไรด้านรายได้มากที่สุดในอาชีพของเธอในจุดนั้น

ต่อมาเธอได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง The Letter (1940) ได้รับการยกย่องว่าเป็น "หนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดแห่งปี" โดย The Hollywood Reporter ขณะในช่วงเวลานี้เธอกำลังมีความสัมพันธ์กับจอร์จเบรนต์อดีตนักแสดงร่วมของเธอซึ่งเสนอให้เธอนั้นแต่งงาน เดวิสปฏิเสธขณะที่เธอได้พบรักครั้งใหม่กับ Arthur Farnsworth เจ้าของโรงแรมในกรุง Boston เดวิสและฟาร์นสเวิร์ธ จึงได้แต่งงานกันในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นการแต่งงานครั้งที่สองในชีวิตรักของเธอ

เบตตี เดวิส รับบทเป็น คุณนายเรจิน่า ในภาพยนตร์เรือนอาญารัก หรือ The Little Foxes (1941).

เธอแสดงภาพยนตร์ทั้งหมดสามเรื่องในปี 1941 เรื่องแรกคือ The Great Lie ร่วมกับจอร์จเบรนต์

เบตตีทำงานร่วมกับผู้กำกับ วิลเลียมไวเลอร์อีกครั้งในภาพยนตร์เรื่อง เรือนอาญารักหรือ The Little Foxes (1941) เบตตีรับบทเป็นคุณนาย Regina Giddens ซึ่งดัดแปลงมาจาก ละครบรอดเวย์ เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลออสการ์อีกครั้งสำหรับการแสดงของเธอและหลังจากนั้นก็ไม่เคยร่วมงานกับ วิลเลียม ไวล์เลอร์ อีกเลย [10]

ก่อนที่จะมาถูกดัดแปลงและแสดงเป็นละครเวทีในไทยในชื่อ "จิ้งจอกลอกลาย" ที่โรงละคร A.U.A นำแสดงโดย ศรัณยู วงษ์กระจ่าง, ชุดาภา จันทเขตต์, รัญญา ศิยานนท์ และ สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์ จำนวน 12 รอบ เมื่อเดือนกันยายน 2535

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และช่วงตกต่ำ[แก้]

เดวิสใช้เวลาช่วงต้นเดือนของปี 1943 ในการขายพันธบัตรสงคราม หลังจากที่แจ็ควอร์เนอร์วิพากษ์วิจารณ์ว่าเธอมีแนวโน้มที่จะดึงดูดฝูงชนให้มาซื้อเธอก็เตือนเขาว่าผู้ชมของเธอตอบสนองต่อภาพยนตร์ที่เธอแสดงเป็นอย่างมาก เธอขายพันธบัตรมูลค่า 2 ล้านเหรียญภายในสองวันรวมทั้งรูปถ่ายของตัวเองในภาพยนตร์เรื่อง วนิดามารยา (Jezebel) ในราคา 250,000 เหรียญ (ค่าเงินในปี 1943) นอกจากนี้เธอยังแสดงละครให้กับกองทหารคนผิวดำในฐานะสมาชิกผิวขาวคนเดียวของคณะการแสดงที่ก่อตั้งโดย Hattie McDaniel ซึ่งรวมถึง Lena Horne และ Ethel Waters ด้วย [11]

ตามคำแนะนำของ John Garfield ในการเปิดคลับบริการในฮอลลีวูดเดวิส - ด้วยความช่วยเหลือของวอร์เนอร์ แครีแกรนท์ และ Jule Styne - เปลี่ยนไนต์คลับเก่าให้เป็น โรงอาหารฮอลลีวู้ด ซึ่งเปิดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1943 [12]

ในช่วงปลายปี 1943 Arthur Farnsworth ประสบอุบัติเหตุบนถนน Hollywood Boulevard ให้เขานั้นเสียชีวิตโดยทันที ทำให้เบตตีนั้นเสียใจเป็นอย่างมาก จนมีผลกระทบต่องานแสดงของเธอในภาพยนตร์ Mr.Skeffington แต่นั่นก็ไม่ใช่จุดพลิกผลันแต่อย่างใด

ภายหลังจบสงครามโลก เธอได้แต่งงานใหม่กับ William Sherry นักวาดภาพและให้กำเนิดธิดา 1 คนชื่อ BD Hyman แต่หลังจากการนั้น ชีวิตของเธอตกต่ำลงไปเรื่อยๆทั้งด้านความรักและด้านอาชีพ ทำให้เธอต้องหย่าร้างกับ Sherry เธอกล่าวว่า "การแต่งงานครั้งนั้นเป็นการแต่งงานที่แย่ที่สุดในชีวิต" [13]

หลังจากนั้นในช่วงปลายยุค 40 เธอประสบปัญหาในเรื่องการเงินและอาชีพของเธอเป็นอย่างมาก เรื่อง Beyond The Forest ได้รับคำวิจารณ์ว่า น่าเบื่อและเนื้อเรื่องไม่ชวนอิน ทำให้เธอตัดสินใจไม่ต่อสัญญากับ Warner Brothers

ช่วงประสบความสำเร็จสูงสุดในอาชีพ[แก้]

เบตตี เดวิส และ แกรี่ เมอร์ริล ในภาพยนตร์ "วิมานลวง" ค.ศ.1950

หลังจากเบตตีเดวิสตัดสินใจไม่ต่อสัญญากับ ค่ายวอร์เนอร์ ทำให้เธอผันตัวมาเป็นนักแสดงอิสระ เธอไม่ได้ออกการพบปะฝูงชนเลยหลังจากนั้นเป็นเวลานานกว่า 1 ปี ทำให้แฟนหนังเชื่อว่า นี่คือจุดจบของอาชีพการแสดงของ เบตตี เดวิส น่าจะจบอยู่เพียงเท่านี้ แต่หลังจากนั้นไม่นาน ภายหลังจากที่เธอถ่ายทำภาพยนตร์ "แม่ม่ายนางพญาไฟ" (Payment On Demand) ได้ไม่นาน เธอได้รับบทแสดงเป็น Margo Channing ในภาพยนตร์เรื่อง วิมานลวง (All About Eve) แทน โกลแด็ต กอลแบร์ เนื่องจาก โกลแด็ต กอลแบร์ ได้ล้มในกองถ่าย ทำให้กระดูกข้างหลังเคลื่อน จึงต้อง Admit ในโรงพยาบาล ก่อนการถ่ายทำภาพยนตร์ วิมานลวง เพียง 1 อาทิตย์ จึงต้องหาตัวแสดงแทน จึงส่งบทไปให้ เบตตี เดวิส เมื่อเบตตีเดวิสอ่านบท ตัดสินใจรับเล่นเลยทันที

เบตตี เดวิส แสดงเป็น Margo Channing ดาราสาวในวงการบรอดเวย์อายุ 40 ปี ที่กังวลในเรื่องอายุ และมีคู่รักเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อ Bill Samson ส่วนอีกบทหนึ่งที่เด่นไม่แพ้กันคือบท Eve Harrington นำแสดงโดย แอน แบกซ์เตอร์ หญิงสาวที่ดูหัวอ่อน แต่ความจริงซ่อนความทะเยอทะยานร้ายกาจเอาไว้ โดยที่ไม่มีใครรู้ และคิดจะทำลาย Margo Channing รวมถึงแย่งคู่รักของเธอ

วิมานลวง หรือ All About Eve เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกๆบนแผ่นฟิล์มที่กล่าวถึงโลกวงการมายา บนจอภาพยนตร์สากล ซึ่งเป็นเนื้อเรื่องที่แปลกใหม่มากในสมัยนั้น กำกับและเขียนบทโดย Joseph L.Mankewicz ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ในสหรัฐ $8,400,000 รวมรายได้ทั่วโลกที่ฉายทั้งใน ยุโรป แอฟริกา อเมริกาใต้ เอเชีย ญี่ปุ่น จีน รวมถึง ไทย ทั้งหมดกว่า $16,000,000 หรือคิดเป็นเงินไทยทั้งหมด 480,000,000 ล้านบาท (ค่าเงินในปี 2493) ซึ่งเป็นหนังที่ทำรายได้สูงสุดในรอบปี [14] ซึ่งเป็นการตอบรับของการกลับมาของสตรีหมายเลข 1 แห่งจอภาพยนตร์

All About Eve ฉายทั่วสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก สำหรับที่ประเทศไทยถูกฉายที่ โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง และ โรงภาพยนตร์คิงส์ ในชื่อ วิมานลวง ซึ่งตั้งเป็นชื่อไทยโดย เฉลิมกรุง [15]

บทบาทนี้ทำให้เธอได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแบฟตาและรางวัลออสการ์อีกด้วย

ภายกลังจากการหย่ากับ William Sherry เธอได้ตกหลุมรักกับนักแสดงร่วมในภาพยนตร์ All About Eve นั่นคือ Gary Merill หลังจากถ่ายทำเสร็จ เธอได้แต่งงานกับ Gary Merill เมื่อปลายปี 1950

เธอปรากฏตัวในงานเปิดฉาย Premiere ภาพยนตร์เรื่อง วิมานลวง (All About Eve) ที่ TCL Chinese Theatre พร้อมกับแม่ของเธอ ซึ่งการปรากฏตัวครั้งนั้นกลายเป็น Talk Of The Town เนื่องจากเธอพึ่งปรากฏตัวต่อสาธารณชนครั้งแรกในรอบปี รวมถึงกระแสของภาพยนตร์ที่ได้รับการตอบรับและเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ดี รวมถึงประสบความสำเร็จด้านรายได้ซึ่งในขณะนั้นเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้มากที่สุดในปี 1950 [16]

ภายหลังจากการแต่งงานกับ Gary Merill เธอได้มีบุตรบุญธรรมคือ Micheal Merill และ Margot Merill ซึ่งต่อมา Margot Merill กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของเธอ ที่ทำให้ทั้งคู่ต้องหย่ากันในปี 1960 เนื่องจาก Margot มีผลกระทบทางสมองในช่วงเกิดก่อนการเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งทำให้ทั้งคู่มีปากเสียงและเลิกรากันในที่สุด

ช่วงยุค 60 (ความขัดแย้งระหว่างเธอ กับ โจน ครอฟอร์ด)[แก้]

ในยุคถัดมาในเวลาที่ดาราหน้าใหม่เกิดขึ้น เป็นธรรมดาที่เธอนั้นไม่ดังเปรี้ยงเหมือนเก่า เธอหันเหไปรับงานทางโทรทัศน์บ้าง เบตตีได้ใช้เวลาในช่วงต้นยุค 60s กลับไปเล่นละครเวที

ในปี 1961 ขณะที่เบตตีแสดงละครเวทีเรื่อง The Night of the Iguana ผู้ที่แวะมาเยี่ยมเยียนเธอหลังเวทีการแสดงนั้นไม่ใช่ใครอื่น นักแสดงคู่แค้นของเธอในตำนาน โจน ครอฟอร์ด

เธอมาพร้อมกับบทละครเรื่อง What Ever Happened to Baby Jane? โจนยื่นข้อเสนอว่าจะเป็นไปได้ไหมหากเบตตีจะยอมมาร่วมงานด้วยกัน แน่นอนเธอสนใจ ในใจที่อยากตอบรับอย่างเต็มแก่ แต่ด้วยความรอบคอบ เบตตีบอกจะยอมเล่นถ้ามีข้อตกลงที่น่าพอใจ

หลังจากได้อ่านบทละคร เบตตีต้องการเลือกผู้กำกับเรื่องนี้ด้วยตัวเอง เธอเดินทางไปหา โรเบิร์ต อัลดริช (Robert Aldrich) ขอให้มากำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยมีเพียง 2 คำถามเท่านั้นว่า เป็นไปได้ไหมที่เธอจะเล่นบท เบบี้ เจน? และ เขาไม่เคยหลับนอนกับโจน ครอวฟอร์ดใช่ไหม? เมื่อได้คำตอบและข้อตกลงที่พึงพอใจ เบ็ตตี้ เดวิส ตอบตกลงร่วมแสดงภาพยนตร์กับ โจน ครอฟอร์ด เป็นเรื่องแรก

แต่เรื่องมันก็ไม่ง่ายนัก ในขณะนั้นทั้งคู่เป็นนักแสดงไร้สังกัดเป็นนักแสดงอิสระแล้ว ไม่มีนายทุนที่ไหนอยากจะลงทุนกับหนังที่มีนักแสดงอาวุโส 2 คนเป็นตัวแสดงนำอย่างแน่นอน ขนาดบ้านเก่าอย่าง Warner Bros. ยังปฏิเสธ แถมยังแนะอีกว่า “ไปหานักแสดงสาวๆมาเล่นแทนยังจะน่าสนใจกว่า” แต่แล้วสวรรค์ก็มาโปรดเมื่อสตูดิโอค่ายเล็กอย่าง Seven Arts ตอบตกลงและหาเงินมาลงทุนให้ได้ แต่ก็มีข้อเสนอทางการเงินสุดโหด เช่น ค่าตัวนักแสดงที่แสนน้อย แถมในงบประมาณหลักก็มีไม่มาก แถมตกลงกันว่ารายได้ที่ได้รับจะต้องหักเปอร์เซ็นต์ให้เท่ากันเป๊ะๆ (ค่าย-นักแสดงนำ)

แต่ทุกคนก็ยอมรับได้และการถ่ายทำจึงเริ่มขึ้น (ต่อมาทาง Warner Bros. ก็ยอมร่วมทุนด้วยและให้การสนับสนุนในหลายๆอย่างรวมถึงการกระพือข่าวเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆต่อจากนี้เพื่อเรียกเรตติ้งให้กับภาพยนตร์) เรื่องเงินก็สำคัญ แต่ทั้งคู่แย่งชิงเรื่องที่ชื่อใครจะได้ขึ้นก่อนมากกว่า สุดท้ายก็เลยเอาชื่อขึ้นพร้อมกัน

ในปี 1962 การถ่ายทำ Whatever Happened to Baby Jane? เริ่มดำเนินขึ้น ภาพยนตร์แนวระทึก สยองขวัญ

เกี่ยวกับหญิงที่ดังจากการแสดงในช่วงปลายทศวรรษที่สิบตั้งแต่เล็กคือ เจน ฮัดสัน (เบ็ตตี้ เดวิส) ที่รู้จักในชื่อการแสดงว่า เบบี้ เจน ฮัดสัน แต่พอโตขึ้นกลับติดเหล้างอมแงม ส่งผลให้เธอเริ่มไม่มีงานทำ รวมถึงเกิดอาการทางจิตนึกว่าตนเองยังดังเหมือนตอนเด็กอยู่ โดยการแต่งตัว พูดกับตุ๊กตาและเต้นรำเหมือนตอนเด็กๆ

ต่างกับพี่สาวของเธอ บลานซ์ ฮัดสัน (โจน ครอวฟอร์ด) ซึ่งในตอนเด็กนั้นถูกน้องสาวและพ่อเหน็บแนมว่าเธอไม่ได้ช่วยหาเลี้ยงครอบครัวทำให้เธออิจฉาน้องที่ดัง และไม่มีใครสนใจเธอเลย จนกระทั่งโตขึ้นในช่วงทศวรรษที่สามสิบ เธอกลับโด่งดังขึ้นเรื่อยๆถึงกับซื้อบ้านเป็นของตัวเองอยู่กับน้องสาวนั่นทำให้เจนเริ่มอิจฉาบลานซ์มากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งเธอเกิดอุบัติเหตุทำให้เธอเป็นอัมพาตทั้งขาไปไหนไม่ได้นอกจากอยู่บ้านชั้นบน โดยมีน้องสาว และสาวใช้ที่แวะมาหาเธอบ้างเป็นพักๆ

ต่อมาบลานซ์ได้เริ่มรู้สึกถึงความผิดปกติทางจิตของน้องสาวที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆทำให้เธอมีความคิดที่จะขายบ้านหลังนี้ เพื่อที่จะอยู่กับสาวใช้พร้อมกับจัดหาบ้านให้เจนอยู่เรียบร้อย แต่เจนกลับไม่ยอม ด้วยความอิจฉาอยู่แล้วเจนจึงเริ่มเหี้ยมเกรียมต่อพี่สาวเธอและออกอาการมากขึ้นๆเรื่อย ขณะเดียวกันเจนก็เริ่มที่จะหาทางกลับไปแสดงอีกครั้งหนึ่งเหมือนตอนที่สมัยเธอเป็นเด็ก [17]

การถ่ายทำ และทุกอย่างดำเนินไปได้ด้วยดีทุกคนมีความสุข ทั้งเบ็ตตี้และโจนก็ต่างสุภาพต่อกัน (ต่อหน้าสื่อ) แต่ลับหลังก็ต่างหาเรื่องแหกอกกันไม่เว้นวัน เริ่มตั้งแต่ในวันแรกที่เปิดกอง โจนส่งของขวัญและจดหมายเล็กๆให้กับนักแสดงและทีมงานทุกคนในกอง แต่เบ็ตตี้ส่งของนั้นกลับมาพร้อมกับจดหมายเล็กๆว่า “อย่ามาตอแ-ล”

หรือการที่บ็ตตี้ฉีกหน้า โจนที่ตอนนั้นเป็นเป็นประธานบริหารของบริษัทเครื่องดื่ม Pepsi (แต่งงานกับเจ้าของบริษัท)ด้วยการติดตั้งเครื่องจำหน่ายเครื่องดื่ม Coca-Cola (Coke) ไว้ในกองถ่าย (บ้างก็ว่าโจนเป็นฝ่ายติดตั้งเครื่องจำหน่าย Pepsi ในกองถ่ายก่อนเบ็ตตี้จึงสั่งติดตั้งเครื่องจำหน่ายโค้กไว้ในห้องแต่งตัวของเธอเองภายหลัง)

และในทุกๆคืนทั้งสองก็ต่างโทรไปหาผกก. เพื่อฟ้องถึงการกระทำของอีกฝ่าย แค่นั้นยังไม่พอ เบ็ตตี้ยังชอบล้อเลียนที่โจนเป็นพวกหวงภาพลักษณ์ เธอเคยสกัดขา/ผลักโจน จนเกือบตกบันได แถมยังเคยแอบเอาขนตาปลอมใส่ลงเสื้อในของโจน

หลังจากภาพยนตร์ได้ลงฉายกลายเป็นว่าผลตอบรับดีเกินคาด รายได้ถล่มทลาย จากข้อตกลงที่จะแบ่งเปอร์เซ็นต์อย่างเท่ากันกลายเป็นเรื่องดี เรียกได้ว่าทั้งคู่กลับมารวยอีกครั้งเลยล่ะ ในปีต่อมานั้น Warner Bros. พยามผลักดันให้ทั้ง 2 มีชื่อเข้าชิงใน Oscar

ในด้านการแสดงของเบ็ตตี้นั้นไร้ข้อกังขา บทที่เธอได้รับนั้นกินขาดแน่นอน แต่เพื่อเห็นแก่ความทุ่มเทในการแสดงและความพยามฝึกซ้อมใช้วีลแชร์ของโจน ทางค่ายจึงเสนอชื่อไปทั้งสองคน แต่ก็ต้องผิดหวัง เหล่านักวิจารณ์กล่าวว่า “ในบทของบลานช์ ใครๆก็เล่นได้ แต่บทของเบบี้เจนนั้น ช่างแตกต่าง มีเอกลักษณ์ โลดโผน และน่าจดจำ ซึ่งเบ็ตตี้ทำออกมาได้ดีมาก”

ทันทีที่ครอวฟอร์ดทราบว่าตัวเองนั้นไม่มีชื่ออยู่ในรายการ เธอรีบบึ่งไปยังบอร์ด Oscar เพื่อขอเป็นคนเชิญรางวัล แถมยังตรงดิ่งกลับนิวยอร์กไปบอกผู้คนกรรมการไม่ให้โหวตให้กับ เบตตี เดวิส เป็นอันขาด แล้วเธอยังโทรศัพท์หาผู้ร่วมชิงรางวัลทุกคนว่าถ้าไม่สะดวกมาเธอขออาสาขึ้นไปรับรางวัลแทน

ในตอนนั้น หนึ่งในผู้เข้าชิงรางวัล แอน แบนครอฟท์ (Anne Bancroft) เต็มใจอย่างมากที่โจน ครอวฟอร์ด จะอาสาขึ้นรับรางวัลแทน เพราะเธอชื่นชมและนับถือในตัวโจนมาก

ในวันประกาศผลรางวัลออสการ์ครั้งที่ 35 โจน ครอวฟอร์ด ควงคู่มากับ ซีซ่าร์ โรเมโร (Cesar Romero) เธอเดินแจกลายเซ็น ทักทายพูดคุยกับแฟนคลับอย่างเป็นกันเอง ส่วน เบตตี เดวิส มาพร้อมกับลูกสาว ลูกชาย และนักแสดงรุ่นน้อง โอลิเวีย เดอ ฮาวิลแลนด์ (Olivia de Havilland)

ขณะนั้น เบ็ตตี้รู้สึกมั่นใจอย่างมากว่า Oscar ครั้งนี้จะตกเป็นของเธอ เพราะกระแสทุกอย่างมันดีมาก เธอนั่งเฉิดฉาย แต่งตัวสวยรอฟังผล หลังจากประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงทั้ง 5 แล้ว เบ็ตตี้ผู้มั่นใจฝากกระเป๋าถือให้แก่โอลีเวียเพื่อเตรียมตัวลุกขึ้นรับรางวัล

“ผู้ชนะคือ......แอน แบนครอฟท์ จาก The Miracle Worker“

ในวันนั้น โจน ขึ้นไปรับรางวัลอย่างเฉิดฉายผ่านหน้า เบตตี เดวิส หลังจากวันนั้นในทุกสื่อมีรูป โจนคราวฟอร์ด ถือรางวัล Oscar เต็มไปหมด

ในเวลาต่อมาหลังจากความสำเร็จของ Whatever Happened to Baby Jane? ผกก. คนเดิม โรเบิร์ต อัลดริช เสนอให้ โจนและเบ็ตตี้กลับมาเล่นภาพยนตร์ด้วยกันอีกครั้งในเรื่อง Whatever Happened to Cousin Charlotte? เขานำเรื่องนี้ไปเสนอแก่เบ็ตตี้ เธอสนใจในบทนี้มาก แต่ยื่นคำขาดว่าคราวนี้ชื่อเธอต้องได้อยู่ก่อนชื่อ โจน ครอวฟอร์ด เท่านั้น

ซึ่งเรื่องนี้ไม่ยากเกินไป ถ้าเบ็ตตี้อยากได้อะไร เธอก็ต้องได้และเธอได้สิ่งนั้น ทั้ง ผกก. และโจนยอมตกลงให้ชื่อเบ็ตตี้ได้ขึ้นเป็นคนแรก ที่โจนยอมเพราะ เธอเรียกค่าตัวจนสูงลิบถึง 200,000 เหรียญ/เดือน ต่อมาภาพยนตร์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Hush… Hush, Sweet Charlotte และมีค่ายใหญ่อย่าง 20th Century Fox เป็นนายทุนให้

การเสียชีวิต[แก้]

เบตตีล้มลงในงานประกาศผลรางวัล American Cinema Awards ในปี 1989 และพบในภายหลังว่ามะเร็งของเธอกลับมาอีกครั้ง เธอดูแลฟื้นฟูตัวเองเพียงพอที่จะเดินทางไปสเปนซึ่งเธอได้รับเกียรติจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโดโนสเตีย - ซานเซบาสเตียน แต่หลังจากที่เธอกลับจากงานเทศกาลภาพยนตร์ สุขภาพของเธอแย่ลงอย่างรวดเร็ว อ่อนแอเกินกว่าที่จะเดินทางไกลกลับสหรัฐฯ เธอจึงพักเดินทางไปฝรั่งเศสเพื่อรับการรักษาอย่างรวดเร็ว ในขณะที่กำลังจะถึงโรงพยาบาล เธอเกิดอาการช็อคหมดสติตาค้างเกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลัน จึงต้องนำตัวส่งห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลอเมริกัน จนในที่สุดวันที่ 6 ตุลาคม 2532 เวลา 23:35 น. ที่โรงพยาบาลอเมริกันใน Neuilly-sur-Seine เธอได้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านม ด้วยวัย 81 ปี เจตนารมย์ก่อนเสียชีวิต เธอประสงค์ที่จะจากไปอย่างสงบ ไม่ต้องมีลูกหลานมาคอยอยู่รอบข้าง ซึ่ง Kathryn Sermack ผู้จัดการส่วนตัวและผู้ดูแลของเบตตีในขณะนั้น จึงตั้งใจทำตามเจตนารมย์ของเธอ พิธีศพของเธอถูกจัดขึ้นภายในครอบครัว ส่วนพิธีไว้อาลัยถูกจัดขึ้นที่ Warner Brothers Studio เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ.1989 เพื่อเป็นการรำลึกถึง โดยมี Angela Lansbury เป็นพิธีกรดำเนินรายการ โดยจัดตามแบบหลักพิธีคริสเตียนนิกายโปรเตสแตนท์

ศพของเธอถูกฝังอยู่ในสุสาน Forest Lawn-Hollywood Hills ในลอสแอนเจลิสร่วมกับ Ruthie แม่ของเธอและน้องสาว Bobby

ผลงานการแสดง[แก้]

อิทธิพลทางวัฒนธรรม[แก้]

'ประเทศสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศ'

  1. ภายหลังจากที่เธอเสียชีวิต เมื่อพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ทาง Warner Brothers ได้จัดงานรำลึกถึง เบตตี เดวิส โดยดำเนินรายการโดย แองเจลา แลนส์เบอรี
  2. จัดตั้งมูลนิธิ The Bette Davis Foundation ปี 1990
  3. มีการจัดอันดับให้เธอเป็นอันดับ 2 นักแสดงหญิงยอดเยี่ยมตลอดกาล เป็นรองแค่ แคทารีน เฮปเบิร์น จัดอันดับโดย สถาบันภาพยนตร์อเมริกัน
  4. มีการรวบรวมเป็นพิพิธภัณฑ์ทั้งของสะสมและผลงานหายากทั้งภาพยนตร์ ชุดเสื้อผ้า รูปถ่าย รางวัลต่างๆ ที่ มหาวิทยาลัยบอสตัน
  5. ปี 2017 ซี่รี่ส์ภาพยนตร์ทางโทรทัศน์ Feud: Bette And Joan นำแสดงโดย ซูเซิน ซาแรนดอน และ เจสซิกา แลงจ์ โดย ซูเซิน ซาแรนดอน รับบทเป็น เบตตี เดวิส

'ประเทศไทย'

  1. การแสดงละครเวทีหักเหลี่ยมชิงไหวพริบ เรื่อง จิ้งจอกลอกลาย ซึ่งดัดแปลงมาจากภาพยนตร์เรื่อง เรือนอาญารัก (The Little Foxes) ณ โรงละคร A.U.A. นำแสดงโดย ศรัณยู วงษ์กระจ่าง, ชุดาภา จันทเขตต์, รัญญา ศิยานนท์ และ สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์ จำนวน 12 รอบ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 โดย ชุดาภารับบทเดียวกันกับที่ เบตตี เดวิส ได้รับนั้นคือบท คุณนายเรจิน่า [18]
  2. รัญญา ศิยานนท์ รับบทเป็น Margo Channing ในละครเวที วิมานลวง (All About Eve) เมื่อปี 2536

ผลงานด้านการประพันธ์ (นวนิยาย)[แก้]

  1. The Lonely Life (1962)[4]
  2. This 'n That (1987)[5]
  3. Haunted Monticello, Florida (2011)
  4. Miss D And Me โดย Kathryn Sermak[6] (2017)

รางวัลและเกียรติภูมิ[แก้]

รางวัลออสการ์

  • สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ปี 1936 จากเรื่อง Dangerous
  • สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ปี 1939 จากเรื่อง วนิดามารยา (Jezebel)

รางวัลลูกโลกทองคำ

รางวัลเอมมี่

  • สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมในมินิซี่รี่ส์ ดราม่า ปี 1979 จากเรื่อง The Strangers : Story Of Mother And Daughter

รางวัลโทนี่

  • Special Tony Award ปี 1963 (ยังไม่ได้รับการยืนยัน)

เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์

  • สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ปี 1950 จากเรื่อง วิมานลวง (All About Eve)

AFI Lifetime Acheivement Award

  • รางวัลเกียรติยศ จากสถาบันภาพยนตร์อเมริกัน ปี 1977

สถาบันจอห์น เอฟ. เคนเนดีเพื่อศิลปะการแสดง

  • ศิลปินแห่งชาติ (อเมริกัน) สาขาการแสดง ปี 1987

อ้างอิง[แก้]

  1. Sikov, Ed (2008). Dark Victory: The Life of Bette Davis. Henry Holt and Company. p. 11. ISBN 978-0-8050-8863-2.
  2. "List of 104 Bette Davis Movies and TV Shows, Ranked Best To Worst". Through The Clutter. 2022-04-21.
  3. "'Feud:' 10 Things to Know About the Bette Davis Tell-All 'My Mother's Keeper'". The Hollywood Reporter (ภาษาอังกฤษ). April 14, 2017. สืบค้นเมื่อ March 11, 2019.
  4. ancestry.com Massachusetts 1840–1915 birth records, page 448 of book registered in Somerville
  5. ancestry.com Massachusetts Birth Records 1840–1915, page 1235
  6. Sikov (2007), pp. 14–15
  7. "The awards of the Venice Film Festival". La Biennale di Venezia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2013. สืบค้นเมื่อ December 14, 2011.
  8. Chandler (2006), p. 121
  9. แชนด์เลอร์ (2549), น. 131
  10. Miller, Gabriel (2013). [https: //books.google.com/books? id = np73uKbqL3UC & pg = PT202 William Wyler: The Life and Films of Hollywood's Most Celebrated Director]. Lexington. ISBN 978-0-8131-4209-8. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ไม่มี pipe ใน: |url= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |ผู้เผยแพร่= ถูกละเว้น (help)
  11. Spada (1993), pp. 191–192
  12. Spada (1993)
  13. เบตตี เดวิส ให้สัมภาษณ์ใน The Dick Cavett Interview 1971
  14. อ้างอิงจากลิงก์เว็บไซต์ the-numbers.com รายได้ (รวมรายได้สหรัฐอเมริกาและทั่วโลก = $16,000,000 สำหรับ All-About-Eve) สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2021
  15. หนังสือสูติบัตรภาพยนตร์ ประจำเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 ออกโดย โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง เธียเตอร์
  16. อ้างอิงจากลิงก์เว็บไซต์ the-numbers.com รายได้ All-About-Eve) สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2021
  17. www.bloggang.com
  18. วิดีโอการแสดงละครเวทีใน YouTube ละครเวทีเรื่อง จิ้งจอกน้อย | ศรัณยู วงษ์กระจ่าง และ ชุดาภา จันทเขตต์ ปี 2535 (Tribute Bette Davis)