เทศบาลตำบลคลองเต็ง

พิกัด: 7°38′25.5″N 99°35′15.4″E / 7.640417°N 99.587611°E / 7.640417; 99.587611
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลคลองเต็ง
ทต.คลองเต็งตั้งอยู่ในจังหวัดตรัง
ทต.คลองเต็ง
ทต.คลองเต็ง
พิกัด: 7°38′25.5″N 99°35′15.4″E / 7.640417°N 99.587611°E / 7.640417; 99.587611
ประเทศ ไทย
จังหวัดตรัง
อำเภอเมืองตรัง
จัดตั้ง
  •  • 28 ตุลาคม 2510 (สุขาภิบาลคลองเต็ง)
  •  • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.คลองเต็ง)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีชวน พลเดช
พื้นที่
 • ทั้งหมด10.400 ตร.กม. (4.015 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2562)[1]
 • ทั้งหมด3,746 คน
 • ความหนาแน่น360.19 คน/ตร.กม. (932.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05920103
ที่อยู่
สำนักงาน
153/1 หมู่ 4 ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง 92190
โทรศัพท์0-7527-6191
เว็บไซต์http://www.khlongteng.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลตำบลคลองเต็ง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งในตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองตรังประมาณ 15.7 กิโลเมตร

ประวัติ[แก้]

เมืองตรัง ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศเป็นเมืองแรกที่มีต้นยางพารา โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ได้นำพันธ์มาจากมาเลเซียมาปลูกเป็นแห่งแรกของภาคใต้เมื่อปี พ.ศ. 2442 และถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ดังนั้น "คลองเต็ง" ถือได้ว่าเป็นอีกเมืองหนึ่งที่มีการค้าขายของชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากตั้งแต่อดีต

คลองเต็ง เป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ริมคลอง อุดมไปด้วยป่าไม้ โดยต้นเต็งขึ้นอยู่รอบบริเวณ ทำให้ชาวบ้านเชื่อว่าคำนี้คือที่มาของชื่อดังกล่าวที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน[2]

เทศบาลตำบลคลองเต็ง แรกเริ่มก่อตั้งตามประกาศกระทรวงลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2510 โดยจัดตั้งท้องถิ่นหมู่ที่ 3,4,5 และ 6 (ในขณะนั้น) ของตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง ขึ้นเป็น สุขาภิบาลคลองเต็ง[3] อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางส่วนของตำบลศิลาลอย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลทั่วประเทศเป็นเทศบาลตำบล ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 9 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 มีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 สุขาภิบาลคลองเต็ง จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลคลองเต็ง[4] นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งตามหลักการและเหตุผลการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ ก็เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และเป็นการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

เทศบาลตำบลคลองเต็ง ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก ซึ่งได้แก่ สวนยางพารา ทำนา ปลูกผักและปลูกไม้ยืนต้น ส่วนอาชีพนอกเหนือจากเกษตรกรรม ได้แก่ การค้าขาย และรับจ้าง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลนาตาล่วง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

การปกครอง[แก้]

เทศบาลตำบลคลองเต็ง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง ได้แก่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองส่วนท้องที่ พ.ศ. 2497

  • หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งครก ตำบลนาท่ามเหนือ (บางส่วน)
  • หมู่ที่ 3 บ้านคลองเต็ง ตำบลนาท่ามเหนือ (บางส่วน)
  • หมู่ที่ 4 บ้านคลองเต็ง ตำบลนาท่ามเหนือ (บางส่วน)
  • หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งปง ตำบลนาท่ามเหนือ (บางส่วน)
  • หมู่ที่ 6 บ้านเกาะบก ตำบลนาท่ามเหนือ (บางส่วน)
  • หมู่ที่ 9 บ้านปลายหมัน ตำบลนาท่ามเหนือ (บางส่วน)

ประชากร[แก้]

เทศบาลตำบลคลองเต็ง มีจำนวนประชากรทั้งหมด 3,746 คน โดยแยกได้ดังนี้

ชุมชน ตำบล หมู่ที่ ชาย หญิง ประชากร ครัวเรือน
(คน) (คน) (คน) พ.ศ. 2562[5] (หลัง)
**ทะเบียนบ้านกลาง นาท่ามเหนือ - 6 1 7 2
ทุ่งครก นาท่ามเหนือ 2 248 241 489 228
คลองเต็ง นาท่ามเหนือ 3 286 335 621 289
คลองเต็ง นาท่ามเหนือ 4 414 457 871 511
ทุ่งปง นาท่ามเหนือ 5 289 295 584 232
เกาะบก นาท่ามเหนือ 6 195 217 412 169
ปลายหมัน นาท่ามเหนือ 9 350 412 762 241
รวม - - 1,788 1,958 3,746 1,672

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเทศบาลตำบลคลองเต็ง พ.ศ. 2562 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประวัติความเป็นมา-เทศบาลตำบลคลองเต็ง". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลคลองเต็ง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (5 ง): 137–138. 17 มกราคม 2510.
  4. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-29.
  5. [1]ประชากรรายหมู่บ้าน เขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลคลองเต็ง (ตำบลนาท่ามเหนือ) พ.ศ. 2562