เดอะเกมอะวอดส์ 2019

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดอะเกมอะวอดส์ 2019
วันที่12 ธันวาคม 2562 (2562-12-12)
สถานที่ไมโครซอฟท์เธียเตอร์, ลอสแอนเจลิส
ประเทศสหรัฐ
นำเสนอโดยเจฟฟ์ ไคลีย์
พิธีกรก่อนเริ่มงานซิดนี กู๊ดแมน
ไฮไลต์
รางวัลมากที่สุดดิสโกเอลิเซียม (4)
เสนอชื่อมากที่สุดเดธสแตรนดิง (10)
เกมแห่งปีเซกิโระ: แชโดวส์ดายทไวซ์
เว็บไซต์thegameawards.com
โทรทัศน์/วิทยุ
ความยาว2 ชั่วโมง, 40 นาที
จำนวนผู้ชม45.2 ล้านคน
อำนวยการสร้างโดย
  • เจฟฟ์ ไคลีย์
  • คิมมี่ คิม
กำกับโดยริชาร์ด พรีอุส
← 2018 · เดอะเกมอะวอดส์ · 2020 →

งานประกาศรางวัลเดอะเกมอะวอดส์ 2019 (อังกฤษ: The Game Awards 2019) เป็นงานมอบรางวัลที่ยกย่องวิดีโอเกมที่ดีที่สุดของปี 2562 งานนี้ผลิตและดำเนินรายการโดยเจฟฟ์ ไคลีย์ ผู้สร้างและโปรดิวเซอร์ของเดอะเกมอะวอดส์ และจัดขึ้นกับผู้ชมที่ได้รับเชิญที่ไมโครซอฟท์เธียเตอร์ นครลอสแอนเจลิสในวันที่ 12 ธันวาคม 2562 ซิดนี กู๊ดแมนทำหน้าที่เป็นพิธีกรก่อนเริ่มงาน โดยงานนี้มีการสตรีมสดบนแพลตฟอร์มดิจิทัลมากกว่า 50 แพลตฟอร์ม เป็นครั้งแรกที่ถ่ายทอดสดในอินเดียและฉายพร้อมกันในโรงภาพยนตร์ 53 แห่งทั่วสหรัฐ ในงานนี้มีการแสดงดนตรีจากวงเชิร์ชเชส ไกรมส์ และ กรีนเดย์ และการนำเสนอจากแขกรับเชิญที่มีชื่อเสียง เช่น สตีเฟน เคอร์รี วิน ดีเซล นอร์แมน รีดัส และ มิเชลล์ ราดรีเกซ เทศกาลเกมเสมือนจริงได้จัดขึ้นทางออนไลน์ โดยเปิดให้เล่นเดโมฟรีผ่านร้านค้าสตีมตลอด 48 ชั่วโมง

เกม เดธสแตรนดิง ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงถึง 10 สาขาซึ่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับรางวัลเกมใด ๆ จนถึงปัจจุบัน[a] ในขณะที่เกม ดิสโกเอลิเซียม เป็นเกมที่ได้รับรางวัลสูงสุดในประวัติศาสตร์ของรายการด้วยการได้รางวัลมากที่สุดถึง 4 สาขา[b] เกม เซกิโระ: แชโดวส์ดายทไวซ์ ได้รับรางวัลเกมแห่งปี มีเกมใหม่หลายเกมที่ถูกเปิดตัวในระหว่างงานประกาศรางวัล ไม่ว่าจะเป็น Bravely Default II, Godfall และ Senua's Saga: Hellblade II และไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวเอกซ์บอกซ์ซีรีส์เอกซ์ ในฐานะเครื่องเล่นวิดีโอเกมรุ่นถัดไปต่อจากเครื่องเอกซ์บอกซ์วัน การเสนอชื่อเข้าชิงของเกม เดธสแตรนดิง ทำให้เกิดข้อกล่าวหาว่าไม่เหมาะสมเนื่องจากความสัมพันธ์ของไคลีย์กับฮิเดโอะ โคจิมะ ผู้กำกับเกม ไคลีย์ชี้แจงว่าเขาไม่มีส่วนร่วมในการลงคะแนนเสียง งานประกาศรางวัลในปีนั้นได้รับกระแสวิจารณ์ผสมกัน โดยได้รับการยกย่องในการประกาศ แต่การวิจารณ์มุ่งไปที่การให้ความสำคัญกับรางวัลที่ลดลง รายการนี้มีผู้ชมมากกว่า 45 ล้านคน ซึ่งมากที่สุดในประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน โดยมีผู้ชมพร้อมกันสูงสุด 7.5 ล้านคน[c]

เกมที่ได้รับรางวัลและเกมที่ได้รับการเสนอชื่อ[แก้]

เกมที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเดอะเกมอะวอดส์ 2019 ถูกประกาศในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562[2] เกมใดก็ตามที่วางจำหน่ายก่อนหรือในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณา[3] เกมได้รับการเสนอชื่อได้รับการคัดเลือกโดยคณะกรรมการตัดสินซึ่งมีสมาชิกจากสื่อ 80 แห่งทั่วโลก[4] ที่ได้รับรางวัลจะถูกตัดสินระหว่างคณะกรรมการตัดสิน (90 เปอร์เซ็นต์) และการโหวตจากสาธารณะ (10 เปอร์เซ็นต์)[4] หลังจัดขึ้นผ่านทางเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ[5] ข้อยกเว้นคือรางวัลเกมที่ผู้เล่นโหวตให้มากทีสุด ซึ่งได้รับการเสนอชื่ออย่างเต็มที่และได้รับการโหวตจากสาธารณะหลังจากการโหวต 24 ชั่วโมงสามครั้งที่เริ่มต้นด้วย 24 เกมและจบลงด้วย 4 เกม[6] คะแนนโหวตจากสาธารณะรวม 15.5 ล้านเสียง เพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์จากรายการปีก่อนหน้า[7] งานประกาศรางวัลยังรวมผู้ได้รับรางวัลพลเมืองเกมโลกใหม่ โดยความร่วมมือกับเฟสบุ๊คเกมมิ่ง ผู้ชนะสองคนได้รับการประกาศในงานอี3 2019 และสามคนสุดท้ายในระหว่างการประกาศรางวัลพร้อมกับวิดีโอโดย อินดี้เกม: เดอะมูฟวี่ จากผู้กำกับ Lisanne Pajot และ James Swirsky[8]

รางวัล[แก้]

ฮิเดทากะ มิยาซากิ ได้รับรางวัลเกมแห่งปีสำหรับเกม เซกิโระ: แชโดวส์ดายทไวซ์
ฮิเดโอะ โคจิมะ ได้รับรางวัลกำกับเกมยอดเยี่ยมสำหรับเกม เดธสแตรนดิง
แมส มีเกิลเซิน ได้รับรางวัลการแสดงยอดเยี่ยมจากบทคลิฟฟ์ในเกม เดธสแตรนดิง
Adrián Cuevas (ซ้าย) และ Roger Mendoza (ขวา) ได้รับรางวัลเกมที่ส่งผลกระทบต่อสังคมยอดเยี่ยมจากเกม กริสต์
Donald Mustard ได้รับรางวัลเกมที่มีการปรับปรุงในระหว่างให้เล่นยอดเยี่ยมสำหรับเกม ฟอร์ตไนต์
ทีมพัฒนาบีตเกมส์ได้รับรางวัลเกมความเป็นจริงเสมือน/ความเป็นจริงเสริมยอดเยี่ยมสำหรับเกม บีตเซเบอร์
Danny "Zonic" Sørensen จากทีม Astralis ได้รับรางวัลผู้ฝึกสอนอีสปอร์ตยอดเยี่ยม
Sjokz ได้รับรางวัลพิธีกรอีสปอร์ตยอดเยี่ยมเป็นปีที่สองติดต่อกัน
Shroud ได้รับรางวัลผู้สร้างเนื้อหายอดเยี่ยมแห่งปี
Fereshteh Forough (บน) and Vanessa Gill (ล่าง) ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นพลเมืองเกมโลกท่ามกลางผู้ได้รับรางวัลอื่น ๆ

เกมที่ได้รับรางวัลจะแสดงเป็นอันดับแรก เน้นด้วยตัวหนา และระบุด้วยกริชคู่ (double-dagger)[4]

วิดีโอเกม[แก้]

เกมแห่งปี กำกับเกมยอดเยี่ยม
เล่าเรื่องยอดเยี่ยม ออกแบบศิลป์ยอดเยี่ยม
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม เสียงประกอบยอดเยี่ยม
งานพากย์เสียง/การแสดงยอดเยี่ยม เกมที่ส่งผลกระทบต่อสังคมยอดเยี่ยม
เกมที่มีการปรับปรุงในระหว่างให้เล่นยอดเยี่ยม เกมจากนักพัฒนาอิสระยอดเยี่ยม
เกมมือถือยอดเยี่ยม เกมความเป็นจริงเสมือน/ความเป็นจริงเสริมยอดเยี่ยม
เกมแอ็กชันยอดเยี่ยม เกมแอ็กชันผจญภัยยอดเยี่ยม
เกมสวมบทบาทยอดเยี่ยม เกมต่อสู้ยอดเยี่ยม
เกมสำหรับครอบครัวยอดเยี่ยม เกมวางกลยุทธ์ยอดเยี่ยม
เกมกีฬายอดเยี่ยม เกมผู้เล่นหลายคนยอดเยี่ยม
เกมจากนักพัฒนาอิสระหน้าใหม่

ยอดเยี่ยม[d]

เกมสนับสนุนชุมชนผู้เล่นยอดเยี่ยม
รางวัลเกมที่ผู้เล่นโหวตให้มากทีสุด[e]
  1. ไฟร์เอมเบลม: ทรีเฮาส์Intelligent Systems, โคอิเทคโม / นินเท็นโดdouble-dagger
  2. ซูเปอร์สแมชบราเธอร์ส อัลติเมตบันไดนัมโคสตูดิโอส์, Sora Ltd. / นินเท็นโด
  3. สตาร์วอร์ส เจได: ฟอลเลนออร์เดอร์Respawn Entertainment / อิเล็กทรอนิก อาตส์
  4. เดธสแตรนดิงโคจิมะโปรดักชันส์ / โซนี่อินเตอร์แอ็กทีฟเอ็นเตอร์เทนเมนต์

อีสปอร์ตและครีเอเตอร์[แก้]

เกมอีสปอร์ตยอดเยี่ยม ผู้เล่นอีสปอร์ตยอดเยี่ยม
ทีมอีสปอร์ตยอดเยี่ยม ผู้ฝึกสอนอีสปอร์ตยอดเยี่ยม
งานอีสปอร์ตยอดเยี่ยม พิธีกรอีสปอร์ตยอดเยี่ยม
ผู้สร้างเนื้อหายอดเยี่ยมแห่งปี พลเมืองเกมโลก[f]
  • Fereshteh Forough, Code to Inspire
  • Damon Packwood, Gameheads
  • Luke, Let's Be Well
  • Vanessa Gill, Social Cipher
  • Stephen Machuga และ Mat Bergendahl, StackUp

เกมที่มีการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลหลายสาขา[แก้]

การเสนอชื่อเข้าชิงหลายสาขา[แก้]

เกม เดธสแตรนดิง ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงถึง 10 สาขา ซึ่งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของรายการจนถึงตอนนี้[a] มีเกมอื่น ๆ ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลหลายสาขา ได้แก่ เกม คอนโทรล ที่ 8 สาขา และ เซกิโระ: แชโดวส์ดายทไวซ์ ที่ 5 สาขา นินเท็นโดได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงทั้งหมด 15 สาขา ซึ่งมากกว่าผู้จัดจำหน่ายรายอื่น ตามมาด้วยโซนี่อินเตอร์แอ็กทีฟเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ที่ 12 สาขา และแอ็กทิวิชัน ที่ 10 รายการ[2]

รางวัลหลายสาขา[แก้]

เกม ดิสโกเอลิเซียม ได้รับรางวัลมากที่สุด โดยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงทั้ง 4 สาขา ทำให้เป็นเกมเข้าชิงที่ได้รับรางวัลสูงสุดในประวัติศาสตร์งานประกาศรางวัลจนถึงปัจจุบัน[b] เดธสแตรนดิง ได้รับรางวัล 3 สาขา ขณะที่เกม ไฟร์เอมเบลม: ทรีเฮาส์ และ เซกิโระ: แชโดวส์ดายทไวซ์ ได้รับรางวัล 2 สาขา แอ็กทิวิชันเป็นผู้จัดจำหน่ายที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ได้รับรางวัลทั้งหมด 5 สาขา ในขณะที่นินเท็นโด และ ZA/UM ได้รับรางวัล 4 สาขา[4]

ผู้จัดจำหน่ายที่ได้รับรางวัลหลายสาขา
สาขา ผู้จัดจำหน่าย
5 แอ็กทิวิชัน
4 นินเท็นโด
ZA/UM
3 โซนี่อินเตอร์แอ็กทีฟเอ็นเตอร์เทนเมนต์

หมายเหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 สถิติการเสนอชื่อเข้าชิง 10 สาขาของเกม เดธสแตรนดิง ถูกโค่นล้มจากการเสนอชื่อเข้าชิง 11 สาขาของเกม เดอะลาสต์ออฟอัสพาร์ท II ที่งาน เดอะเกมอะวอดส์ 2020[10]
  2. 2.0 2.1 สถิติการได้รับรางวัล 4 สาขาของเกม ดิสโกเอลิเซียม นั้นเสมอกับเกม โอเวอร์วอตช์ ในปี 2559[11] และเกม เรดเดดรีเดมพ์ชัน 2 ในปี 2561[12] ก่อนจะถูกโค่นล้มโดยเกม เดอะลาสต์ออฟอัสพาร์ท II ที่ได้รางวัลถึง 7 สาขาในปี 2563[13]
  3. สถิติการรับชมถูกทำลายสถิติโดยการรับชมในปี 2563 ด้วยจำนวนผู้ชม 83 ล้านคน[1]
  4. รางวัลสำหรับเกมเปิดตัวที่ดีที่สุดโดยสตูดิโอนักพัฒนาอิสระในปี 2562[9]
  5. รางวัลโหวตจากแฟน ๆ 100 เปอร์เซ็นต์ซึ่งมีกระบวนการเสนอชื่อสามรอบที่เริ่มด้วยเกม 24 เกม ไฟร์เอมเบลม: ทรีเฮาส์ ชนะด้วยคะแนนโหวต 45 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วยเกม ซูเปอร์สแมชบราเธอร์ส อัลติเมต ด้วยคะแนน 22 เปอร์เซ็นต์[6]
  6. นำเสนอร่วมกับเฟสบุ๊คเกมมิ่ง[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Stedman, Alex (December 17, 2020). "The Game Awards 2020 Show Hits Record Viewership With 83 Million Livestreams". Variety. Penske Media Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 17, 2020. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  2. 2.0 2.1 Shanley, Patrick (November 19, 2019). "The Game Awards Reveals Full List of Nominees". The Hollywood Reporter. Valence Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 19, 2019. สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
  3. Van Allen, Eric (November 19, 2019). "The Game Awards 2019 Nominations". USgamer. Gamer Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 2019. สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Goslin, Austen (December 13, 2019). "All the winners from The Game Awards 2019". Polygon. Vox Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 13, 2019. สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
  5. Denzer, TJ (November 19, 2019). "The Game Awards 2019 nominees and how to vote". Shacknews. Gamerhub. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 20, 2019. สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
  6. 6.0 6.1 Doolan, Liam (December 13, 2019). "Fire Emblem: Three Houses Crowned Strategy Game Of The Year". Nintendo Life. Gamer Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 17, 2019. สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
  7. Stedman, Alex (December 18, 2019). "Geoff Keighley Looks to The Game Awards' Future as 2019 Show Delivers Record Numbers". Variety. Penske Media Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 18, 2019. สืบค้นเมื่อ February 13, 2021.
  8. 8.0 8.1 Olebe, Leo (December 12, 2019). "Celebrating Global Gaming Citizens at The Game Awards 2019". Facebook Gaming. Facebook, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2021. สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
  9. Chalk, Andy (November 19, 2019). "Death Stranding and Control lead The Game Awards 2019 nominations". PC Gamer. Future plc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2020. สืบค้นเมื่อ February 13, 2021.
  10. Bailey, Dustin (November 18, 2020). "Hades and Last of Us Part II lead the Game Awards 2020 nominees". PCGamesN. Network N. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 18, 2020. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  11. Totilo, Stephen (December 1, 2016). "Overwatch Wins Game Of The Year At The 2016 Game Awards". Kotaku. Univision Communications. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2016. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
  12. Wood, Austin (December 7, 2018). "Red Dead Redemption 2 wins Best Narrative, Best Score, and more at The Game Awards 2018". GamesRadar. Future plc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 7, 2018. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
  13. Stedman, Alex (December 10, 2020). "The Game Awards 2020: Complete Winners List". Variety. Penske Media Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 11, 2020. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]