เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์
ประเภทองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
อุตสาหกรรมดิจิตอลไอที, การพัฒนาซอฟต์แวร์การออกแบบ, งานฝีมือ, อุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์
ก่อตั้งพ.ศ. 2553
สำนักงานใหญ่เชียงใหม่ ประเทศไทย ไทย
พื้นที่ให้บริการ
จังหวัดเชียงใหม่
บุคลากรหลัก
ผศ. ณัฐ วรยศ (ประธาน)
มาร์ติน เวนซกี-สตัลลิง (ที่ปรึกษา)
ธัญญานุภาพ อานันทนะ(เลขานุการ)
บริการข้อมูลนักลงทุน, ข้อมูลด้านการพัฒนาท้องถิ่น
เว็บไซต์www.creativechiangmai.com

เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ (อังกฤษ: Chiang Mai Creative City) เป็นการริเริ่มเพื่อพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นเมืองสร้างสรรค์[1] ซึ่งหมายถึง เมืองที่ซึ่งวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ผสมผสานเข้าด้วยกันเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจและสังคมของเมืองนั้น[2] สำหรับที่ผ่านมา เมืองอื่นซึ่งเคยนำนโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติได้แสดงให้เห็นแล้วว่าเมืองเหล่านั้นประสบความสำเร็จมากกว่า (ในการบรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนา) เมืองที่ไม่ได้นำยุทธศาสตร์ดังกล่าวไปใช้[3]

การริเริ่มครอบคลุมไม่เพียงเฉพาะกลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์เท่านั้น แต่รวมไปถึงการพัฒนาเมือง การศึกษา การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม ตลอดจนการร่วมมือ ผู้มีส่วนร่วมบางส่วนได้เน้นความสำคัญในภาคไอที ซอฟต์แวร์ และส่วนดิจิตอล เนื่องจากเป็นส่วนที่มีการเติบโตอย่างสำคัญ และเป็นตัวเปิดทางให้แก่ภาคอื่น ยิ่งไปกว่านั้น ภาคไอทีนี้ยังมีศักยภาพสูงในการก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างมูลค่าเพิ่ม และดึงดูดการลงทุนเพิ่มเติม

สำหรับภาคสำคัญที่มีอยู่แล้ว อย่างเช่น การท่องเที่ยว (เช่น การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์) หัตถกรรม (เครื่องประดับ เครื่องเงิน เซลาดอน เครื่องปั้นดินเผา และสิ่งทอ) อาหาร อุตสาหกรรมการเกษตร และการสาธารณสุข ยังเป็นหนึ่งในเป้าหมาย และสามารถยกระดับขึ้นโดยใช้การออกแบบ กระบวนการ ไอที นวัตกรรมบนเทคโนโลยี และการคิดสร้างสรรค์ได้

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เมืองเชียงใหม่ได้รับประกาศเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน[4]

เบื้องหลัง[แก้]

คณะกรรมการพัฒนาเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และประกอบด้วยสมาชิกจากภาคการศึกษา เอกชน และรัฐบาล โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพายัพ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่ และกงสุลใหญ่สหรัฐเป็นที่ปรึกษา

คณะกรรมการพัฒนาจัดกิจกรรมขึ้นมาหลายอย่าง เช่น การแข่งขันออกแบบโลโก้และเว็บไซต์ และการสัมมนาเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาไปสู่เมืองสร้างสรรค์ โดยมีนักพูดรับเชิญจากออสติน รัฐเท็กซัส[5] หนึ่งในกิจกรรมในอนาคต ได้แก่ การเชิญนักพูดจากยูเนสโกมาอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการที่เชียงใหม่จะได้รับการรับรองให้เป็นเมืองสร้างสรรค์โดยยูเนสโก

วัตถุประสงค์ของคณะกรรมการพัฒนาคือการพัฒนาแผนกลยุทธ์และยุทธศาสตร์สำหรับเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ ร่วมมือและแบ่งปันข้อมูลให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมมือและดูแลโครงการต่าง ๆ จัดและปฏิบัติกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ตลอดจนจัดตั้งคณะทำงานที่จำเป็น

วิสัยทัศน์[แก้]

กรอบเวลาของเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์เป็นกรอบระยะยาว (15-20 ปี) สำหรับในระยะกลาง วิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ควรจะเข้ากับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อไป (พ.ศ. 2555-2559) ซึ่งจะเน้นให้ความสำคัญไปยังความคิดสร้างสรรค์ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ความรู้และนวัตกรรม อุตสาหกรรมสร้างสรรค์คิดเป็น 13% ของจีดีพีรวม (พ.ศ. 2552) และรัฐบาลตั้งเป้าว่าจะเพิ่มสัดส่วนของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้เป็นอย่างน้อย 20% ของจีดีพีรวม[6]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]