เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งบราซิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งบราซิล

มาเรีย อเมเลีย ออกัสตา ยูจีเนีย โจเซฟีนา ลุยซา เทโอโดลินดา อีลอย ฟรานซิสโก ซาเวียร์ เดอ เปาลา กาเบรียลา ราฟาเอลา กอนซากา
เจ้าหญิงฟรานซิสกาแห่งบราซิล
พระสาทิสลักษณ์เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งบราซิลขณะมีพระชนมายุ 17 พรรษา ราวปีค.ศ. 1849
เจ้าหญิงแห่งบราซิล
ประสูติ1 ธันวาคม ค.ศ. 1831
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
สวรรคต4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1853
ฟุงชาล มาเดรา ประเทศโปรตุเกส
(พระชนมายุ 21 พรรษา)
เจ้าหญิงฟรานซิสกาแห่งบราซิล
ราชวงศ์บราแกนซา
พระราชบิดาจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล
พระราชมารดาเจ้าหญิงอเมลีแห่งเลาช์เทนเบิร์ก

เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งบราซิล (1 ธันวาคม ค.ศ. 1831 - 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1853) ทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งจักรวรรดิบราซิลและเป็นพระนางจึงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์บราซิลสายราชวงศ์บราแกนซา พระราชบิดาของพระนางคือ จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล พระประมุขพระองค์แรกแห่งบราซิล และพระราชมารดาคือ เจ้าหญิงอเมลีแห่งเลาช์เทนเบิร์ก เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในการอภิเษกสมรสครั้งที่สองของพระราชบิดา เจ้าหยิงมาเรีย อเมเลียประสูติในฝรั่งเศสหลังจากการสละราชบัลลังก์ของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ให้แก่พระราชโอรสคือ จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล ก่อนที่เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียจะมีพระชนมายุได้หนึ่งเดือน จักรพรรดิเปดรูที่ 1 เสด็จไปที่โปรตุเกสเพื่อฟื้นฟูราชบัลลังก์ให้แก่พระราชธิดาพระองต์โตในการอภิเษกสมรสครั้งแรกของพระองค์คือ สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส เป็นพระราชปนัดดาบุญธรรมของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เเห่งฝรั่งเศส พระองค์ทรงทำสงครามและประสบความสำเร็จในการขับไล่พระอนุชาของพระองค์คือ พระเจ้ามิเกลแห่งโปรตุเกส ผู้ทำการช่วงชิงราชบัลลังก์ของพระนางมาเรียที่ 2

เพียงไม่กี่เดือนหลังจากได้รับชัยชนะ จักรพรรดิเปดรูที่ 1 เสด็จสวรรคตด้วยวัณโรค พระราชมารดาของเจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียนำพระนางไปที่โปรตุเกส ที่ที่ทรงดำรงพระชนม์ชีพส่วนใหญ่โดยไม่ทรงเคยเสด็จไปยังบราซิลเลย รัฐบาลบราซิลปฏิเสธที่จะสถาปนาให้เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียเป็นพระบรมวงศานุวงศ์บราซิลเนื่องมาจากทรงประสูติในต่างประเทศ แต่เมื่อพระเชษฐาต่างพระมารดาของพระนางคือ จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงบรรลุนิติภาวะในปีพ.ศ. 2383 พระองค์ก็เข้าแทรกแซงให้เจ้าหญิงได้รับสิทธินี้สำเร็จ

เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียทรงหมั้นกับอาร์คดยุกแม็กซีมีเลียนแห่งออสเตรียในต้นปีค.ศ. 1852 แต่ก่อนการอภิเษกสมรส เจ้าหญิงทรงพระประชวรด้วยวัณโรคและทรงถูกนำพระองค์ไปที่ฟุงชาลเมืองหลวงของหมู่เกาะมาเดราของโปรตุเกส แม้ว่าสภาพภูมิอากาศจะดีต่อสุขภาพ แต่พระพลานามัยของเจ้าหญิงยังคงทรุดลง และเจ้าหญิงสิ้นพระชนม์ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1853 พระศพของเจ้าหญิงถูกนำกลับมายังแผ่นดินใหญ่โปรตุเกสและฝังที่พระอารามเซา วิเซนเต เดอ ฟอรา เกือบ 130 ปีต่อมา พระศพของพระนางถูกนำมายังบราซิล เพื่อเป็นพระเกียรติของพระราชธิดา พระราชมารดาของเจ้าหญิงทรงให้ทุนก่อสร้างโรงพยาบาล ปรินเซซา ดี. มาเรีย อเมเลีย ในฟุงชาล พระคู่หมั้นของเจ้าหญิง อาร์คดยุกแม็กซีมีเลียนทรงจาริกแสวงบุญที่บราซิลและมาเดรา การเดินทางของพระองค์ครั้งนี้มีอิทธิพลต่อการตัดสินพระทัยรับราชบัลลังก์เม็กซิโกของพระองค์ในปีค.ศ. 1864

ประสูติ[แก้]

เจ้าหญิงมาเรีย อเมเรียประสูติในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1831 ที่ปารีส[1][2] และทรงได้รับการประกอบพิธีล้างบาปและมีพระนามว่า มาเรีย อเมเลีย ออกัสตา ยูจีเนีย โจเซฟีนา ลุยซา เทโอโดลินดา อีลอย ฟรานซิสโก ซาเวียร์ เดอ เปาลา กาเบรียลา ราฟาเอลา กอนซากา[note 1] เจ้าหญิงทรงเป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล ดยุกแห่งบราแกนซา ที่ประสูติแต่เจ้าหญิงอเมลีแห่งเลาช์เทนเบิร์ก พระมเหสีพระองค์ที่สอง ผ่านทางพระราชบิดาเจ้าหญิงทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์บราแกนซาสายบราซิล (ภาษาโปรตุเกส: Bragança) และทรงได้รับพระราชทานยศ "ดอนย่า" (ท่านหญิง)ตั้งแต่ประสูติ[3] พระองค์ทรงเป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส[4] พระราชมารดาของเจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียเป็นพระธิดาในเออแฌน เดอ โบอาร์แน ดยุกแห่งเลาช์เทนเบิร์ก และเป็นพระโอรสเลี้ยงในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ยูจีนอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงออกุสตาแห่งบาวาเรีย พระราชธิดาองค์โตในพระเจ้ามักซีมีเลียนที่ 1 โยเซฟแห่งบาวาเรีย[1]

พระราชตระกูล[แก้]

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระเจ้าโจเอาที่ 5 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าเปดรูที่ 3 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. อาร์คดัสเชสมาเรีย อันนาแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. พระเจ้าโจเซที่ 1 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
9. สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. เจ้าหญิงมาเรียนา วิกโตเรียแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
2. จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
10. พระเจ้าการ์โลสที่ 4 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งแซ็กโซนี
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าหญิงคาร์ลอตา โจวควินาแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. ฟิลิป ดยุคแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
11. เจ้าหญิงมาเรีย ลุยซาแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เจ้าหญิงหลุยส์ เอลิซาเบธแห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
1. เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งบราซิล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. ฟรานซิสที่ 5 เดอ โบอาร์แน
 
 
 
 
 
 
 
12. อาแล็กซ็องดร์ เดอ โบอาร์แน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. มารี แอนน์ อองเรียต ฟรองซัวส์ พีวาร์ต เดอ คัสตูลล์
 
 
 
 
 
 
 
6. ยูจีน เดอ โบอาร์แน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. โฌแซ็ฟ-กัสปาร์ เดอ ตาเช
 
 
 
 
 
 
 
13. มารี โฌแซ็ฟ โรซ ตาเช เดอ ลา ปาเฌอรี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. โรซ-แกลร์ เด แวร์เฌ เดอ ซานัว
 
 
 
 
 
 
 
3. เจ้าหญิงอเมลีแห่งเลาช์เทนเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. เคานท์พาลาทีนฟรีดริช ไมเคิลแห่งซไวบรึคเค็น
 
 
 
 
 
 
 
14. พระเจ้ามักซีมีเลียนที่ 1 โยเซฟแห่งบาวาเรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เคานท์เตสพาลาทีนมาเรีย ฟรานซิสก้าแห่งซาลส์แบช
 
 
 
 
 
 
 
7. เจ้าหญิงออกัสตาแห่งบาวาเรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. เจ้าชายจอร์จ วิลเลียมแห่งเฮสส์-ดาร์มชตัดท์
 
 
 
 
 
 
 
15. เจ้าหญิงออกัสตา วิลเฮล์มมีนแห่งเฮสส์-ดาร์มชตัดท์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. เคานท์เตสมารี หลุยส์ อัลเบอร์ทีนแห่งไลนินเง็น-ฟัลเกนบูร์ก-ดักส์บูร์ก
 
 
 
 
 
 

อ้างอิงท้ายเรื่อง[แก้]

  1. มีความสับสนในพระนามเต็มของเจ้าหญิงมาเรีย อเมเรีย ใบสูติบัตรของพระองค์ลงวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1831 ได้บันทึกว่าเจ้าหญิงทรงได้รับการตั้งพระนามว่า มาเรีย อเมเลีย ออกัสตา ยูจีเนีย โจเซฟีนา ลุยซา เทโอโดลินดา อีลอย ฟรานซิสโก ซาเวียร์ เดอ เปาลา กาเบรียลา ราฟาเอลา กอนซากา(Almeida 1973, p. 45; Sousa 1972, p. 187) พระบิดามารดาของเจ้าหญิงดูเหมือนจะเปลี่ยนพระทัย และทรงเปลี่ยนพระนามของเจ้าหญิงมาเรีย อเมเรียเป็น มาเรีย อเมเลีย ออกัสตา ยูจีเนีย โจเซฟีนา ลุยซา เทโอโดลินดา ฟรานซิสกา ซาเวียร์ เดอ เปาลา กาเบรียลา ราฟาเอลา กอนซากา ตามหนังสือรับรองการเข้าพิธีล้างบาปวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1831(Almeida 1973, p. 47) ดังนั้นชื่อ อีลอย ได้ถูกลบออกและชื่อผู้ชายอย่าง ฟรานซิสโก ได้ถูเปลี่ยนรูปเป็นชื่อผู้หญิงคือ ฟรานซิสกา ที่ซึ่งสร้างความยุ่งยากในภายหลัง มีนักเขียนไม่กี่คนอย่างเช่น แม็กซ์ เฟลอุส(Fleiuss 1940, p. 11) และลีเกีย เลมอส ตอร์เรส (Torres 1947, p. 145) ที่สะกดชื่อของพระนางผิด โดยเขียนว่าเฮลอยซา แทนคำว่า อีลอย

เชิงอรรถ[แก้]

  1. 1.0 1.1 Almeida 1973, p. 51.
  2. Sousa 1972, p. 185.
  3. Barman 1999, p. 424.
  4. Barman 1999, p. 8.

อ้างอิง[แก้]

  • Almeida, Sylvia Lacerda Martins de (1973). Uma filha de D. Pedro I: Dona Maria Amélia (ภาษาโปรตุเกส). São Paulo: Companhia Editora Nacional. OCLC 633948363.
  • Barman, Roderick J. (1999). Citizen Emperor: Pedro II and the Making of Brazil, 1825–1891. Stanford, California: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-3510-0.
  • Calmon, Pedro (1950). O Rei Cavaleiro (ภาษาโปรตุเกส) (6 ed.). São Paulo, São Paulo: Edição Saraiva.
  • Calmon, Pedro (1975). História de D. Pedro II (ภาษาโปรตุเกส). Vol. 5. Rio de Janeiro: José Olympio. OCLC 3577729.
  • Fleiuss, Max (1940). Dom Pedro Segundo (ภาษาโปรตุเกส). Rio de Janeiro: Imprensa Nacional.
  • "História: Mausoléu Imperial" [History: Imperial Mausoleum]. Santuário e Convento de Santo Antônio (ภาษาโปรตุเกส). Rio de Janeiro: Província Franciscana da Imaculada Conceição do Brasil. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2011. สืบค้นเมื่อ 2 April 2011.
  • Haslip, Joan (1971). The Crown of Mexico: Maximilian and His Empress Carlota. New York, New York: Holt, Rinehart and Winston. ISBN 978-0-03-086572-5.
  • Hyde, H. Montgomery (1946). Mexican Empire: the history of Maximilian and Carlota of Mexico. London: Macmillan & Co.
  • Laemmert, Eduardo (1849). Almanak Administrativo, Mercantil e Industrial (Almanaque Laemmert) (ภาษาโปรตุเกส). Rio de Janeiro: Eduardo e Henrique Laemmert & C.
  • Laemmert, Eduardo (1853). Almanak Administrativo, Mercantil e Industrial (Almanaque Laemmert) (ภาษาโปรตุเกส). Rio de Janeiro: Eduardo e Henrique Laemmert & C.
  • Longo, James McMurtry (2008). Isabel Orleans-Bragança: The Brazilian Princess Who Freed the Slaves. Jefferson, North Carolina: McFarland & Company. ISBN 978-0-7864-3201-1.
  • Lira, Heitor (1977) [1938]. História de Dom Pedro II (1825–1891): Ascenção (1825–1870) (ภาษาโปรตุเกส). Vol. 1. Belo Horizonte: Itatiaia. OCLC 163324850.
  • Morato, Francisco de Aragão (1835). Memória sobre a soccessão da coroa de Portugal, no caso de não haver descendentes de Sua Magestade Fidelíssima a rainha D. Maria II (ภาษาโปรตุเกส). Lisbon: Typographia de Firmin Didot.
  • Schmidt, Maria Junqueira (1927). Amelia de Leuchtenberg: A segunda imperatriz do Brasil (ภาษาโปรตุเกส). São Paulo: Companhia Melhoramento de São Paulo.
  • Sousa, Octávio Tarquínio de (1972) [1954]. A vida de D. Pedro I (ภาษาโปรตุเกส). Vol. 3. Rio de Janeiro: José Olympio. OCLC 634896259.
  • Torres, Lígia Lemos (1947). Imperatriz Dona Amélia (ภาษาโปรตุเกส). São Paulo: Elvino Pocai.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งบราซิล