เจ้าหญิงฟาร์ยา อัล-มูฮัมหมัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงฟาร์ยา อัล-มูฮัมหมัด

ฟาร์ยา อัล-มูฮัมหมัด
เจ้าหญิงแห่งฮัชไมต์จอร์แดน
ประสูติพ.ศ. 2488 (73 ชันษา)
พระสวามีเจ้าชายมูฮัมหมัด บิน เฏาะลาล
พระบุตรเจ้าชายเฏาะลาล บิน มูฮัมหมัด
เจ้าชายกาห์ซี บิน มูฮัมหมัด
ราชวงศ์ราชวงศ์อัชไมต์
พระบิดาฟาริด มาห์มูด อัลชาอิด
พระมารดาฟาริด ฟาร์ฮูม อัลซาอิด

เจ้าหญิงฟาร์ยา อัล-มูฮัมหมัด (อังกฤษ: Princess Firyal) ประสูติ ณ ปี พ.ศ. 2488 ณ เยรูซาเลม เป็นธิดาของนาย ฟาริด มาห์มูด อัลชาอิด และ นางฟาริด ฟาร์ฮูม อัลซาอิด ซึ่งพระบิดาของพระองค์เป็นผู้นำทางการเมืองซึ่งทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลและเป็นสมาชิกรัฐสภาในวุฒิสภาในจอร์แดน ส่วนพระมารดาของพระองค์เป็นประธานสมาคมเสี้ยววงเดือนแดงในฝั่งตะวันตก ด้านการศึกษา ทรงจบจากวิทยาลัยบริซิต ทรงเรียนเป็นเวลาสองปีที่วิทยาลัยอเมริกันสตรีใน เบรุต ก่อนที่จะเสกสมรส ทรงเริ่มศึกษาและได้รับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปี 2542

นางสาวฟาร์ยา อัลซาอิด ได้เสกสมรสกับ เจ้าชายมูฮัมหมัด บิน เฏาะลาล พระราชโอรสใน สมเด็จพระเจ้าเฏาะลาลแห่งจอร์แดน รับพระราชทานพระอิสริยยศที่ เจ้าหญิงฟาร์ยา อัล-มูฮัมหมัดแห่งจอร์แดน พระชายา พร้อมฐานันดร รอยัลไฮเนส มีพระโอรส 2 พระองค์คือ

  1. เจ้าชายเฏาะลาล บิน มูฮัมหมัด
  2. เจ้าชายกาห์ซี บิน มูฮัมหมัด
เจ้าหญิงฟาร์ยา อัล-มูฮัมหมัด พร้อมด้วยพระสวามีและพระโอรส

ภายหลังทรงหย่าจากพระสวามีในปี 2521 แต่ยังทรงพระยศเหมือนเดิม แต่ไม่มีฐานันดรรอยัลไฮนีสนำหน้าพระนาม ทรงงานในด้านต่างๆ ในฐานะพระราชวงศ์แห่งจอร์แดน ชาวจอร์แดนส่วนมากนั้นมีความคิดเห็นเกี่ยวกับพระองค์ในแง่บวก ทรงเป็นกันเองและมีพระจริยวัตรที่งดงาม ไม่ถือพระองค์ ทรงทักทายประชาชนทุกครั้งที่ทรงปฏิบัติพระกรณียากิจ ทรงมีคุณธรรมในการทรงงานทุกครั้ง

ในปี 2524 สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานฐานันดร รอยัลไฮนีส คืนแก่เจ้าหญิงฟาร์ยา อัล-มูฮัมหมัด ในฐานะทรงงานด้วยความอดทนและเป็นที่พอพระราชหฤหทัย

พระกรณียากิจ[แก้]

พระองค์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตสันถวไมตรีของยูเนสโกในปีพ.ศ. 2535 สามปีต่อมาในปี 2538 ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาพิเศษของอธิบดียูเนสโก ทรงงานด้านหลักในโครงการเพื่อการคุ้มครองมรดกโลกและการศึกษา ส่วนพระกรณียากิจในจอร์แดนั้น พระองค์ทรงงานด้านการสงเคราะห์ในค่ายผู้ลี้ภัย ทรงงานการแปลหนังสือจากภาษาจอร์แดนเป็นภาษาเบดูให้กับชนเผ่าเบดูอินเผ่าเร่ร่อน ทั้งยังทรงเป็นประธานสมาคมการวางแผนครอบครัวแห่งจอร์แดนด้วย

พระองค์ทรงเปิดมูลนิธิความหวังนานาชาติภายใตเความร่วมมืองขององค์การยูเนสโกเมื่อปี พ.ศ. 2537 เพื่อประโยชน์เด็กไร้ที่อยู่อาศัยในจอร์แดน

ตำแหน่งที่ทรงรับ[แก้]

  1. คณะกรรมการสมาคมสหประชาชาติในเดือนมีนาคม 2546
  2. คณะกรรมาธิการของคณะกรรมการกู้ภัยนานาชาติที่นิวยอร์ก
  3. สภามหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
  4. คณะกรรมาธิการของห้องสมุดสาธารณะนิวยอร์ก
  5. ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ Musée des Arts Décoratifs ณ ปารีส
  6. สภาระหว่างประเทศของเทตปัจจุบันในลอนดอน
  7. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลจอร์แดนในเดือนพฤษภาคม 2550 ที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในจอร์แดน ในตำแหน่งเอกอัครราชทูต
  8. ประธานพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่สภาประธานสภา MOMA
  9. ประธานพิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์สมาชิกวงกลมตะวันออกกลาง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Senarai Penuh Penerima Darjah Kebesaran, Bintang dan Pingat Persekutuan Tahun 1965" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-28. สืบค้นเมื่อ 2018-08-04.
  2. New York Media, LLC (1997-07-21). New York Magazine. Books.google.com. p. 29. สืบค้นเมื่อ 2017-05-25.