เครื่องบูชาเผาทั้งตัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แท่นเผาเครื่องหอม แท่นบูชาเผาทั้งตัว และอ่างทองสัมฤทธิ์สำหรับพลับพลาในคัมภีร์ไบเบิล ภาพวาดจากคัมภีร์ไบเบิลฉบับโฮลแมน ค.ศ. 1890

ในศาสนายูดาห์ เครื่องบูชาเผาทั้งตัว (อังกฤษ: burnt offering; ฮีบรู: קָרְבַּן עוֹלָה, qorban ʿōlā) เป็นรูปแบบหนึ่งของการบวงสรวงซึ่งกล่าวถึงครั้งแรกในคัมภีร์ฮีบรู เครื่องบูชาเผาทั้งตัวในฐานะเครื่องบูชาถวายพระเจ้าเป็นการเผาสัตว์ทั้งตัวบนแท่นบูชา ต่างจากการบวงสรวงรูปแบบอื่น ๆ (ที่เรียกว่า zevach หรือ zevach shelamim) ซึ่งเป็นการเผาสัตว์บางส่วนและส่วนใหญ่ แล้วรับประทานโดยผู้เข้าร่วมพิธีในมื้ออาหารบวงสรวง[1]

ในยุคพระวิหารแรกและพระวิหารที่สอง มีการถวายเครื่องบูชาในรูปสัตว์เผาทั้งตัวบนแท่นบูชาในพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม 45 ครั้งต่อวัน ผิวหนังของสัตว์นั้นไม่ได้ถูกเผาไปได้ แต่มอบให้แก่ปุโรหิตตามกองเวรของปุโรหิต ผิวหนังเหล่านี้ถูกระบุว่าเป็นหนึ่งในของขวัญแด่ปุโรหิตยี่สิบสี่อย่างใน Tosefta Hallah[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Berlin, Adele; Brettler, Marc Zvi (2014). Jewish Study Bible (2 Rev(November 2014) ed.). [S.l.]: Oxford University Press. p. 135. ISBN 978-0199978465. สืบค้นเมื่อ 1 April 2016.
  2. Jacob Neusner. The Comparative Hermeneutics of Rabbinic Judaism: Why this, not that?. p. 144.