อัลเพนโกลว์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัลเพนโกลว์ที่ภูเขาฟอบส์ ในเทือกเขาร็อกกีแคนาดา
อัลเพนโกลว์เกิดจากแสงอาทิตย์ (หมายเลข 2) สะท้อนจากเมฆมายังผู้สังเกต

อัลเพนโกลว์ (อังกฤษ: alpenglow, เยอรมัน: Alpenglühen) เป็นแถบแสงเรืองสีแดง ปรากฏใกล้เส้นขอบฟ้าด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อดวงอาทิตย์อยู่ต่ำกว่าเส้นขอบฟ้า ปรากฏการณ์นี้สังเกตได้ง่ายจากภูเขาที่ส่องสว่าง และสามารถเกิดกับเมฆผ่านการกระเจิงกลับของแสง สาเหตุที่อัลเพนโกลว์มีสีแดงหรือชมพูเกิดจากดวงอาทิตย์อยู่ในมุมต่ำ และใช้เวลานานในการเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศไปกระทบยังภูเขา[1]

อัลเพนโกลว์ถูกอธิบายกว้าง ๆ ว่าเกิดจากแสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากเมฆหลังพระอาทิตย์ตกหรือก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เมื่อพระอาทิตย์อยู่ต่ำกว่าเส้นขอบฟ้า แสงอาทิตย์จะไม่สามารถส่องไปที่ภูเขาโดยตรง แต่สะท้อนผ่านหยาดน้ำฟ้า ผลึกน้ำแข็ง ฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศส่วนล่างในลักษณะแสงพร่า ซึ่งลักษณะนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่จำแนกอัลเพนโกลว์จากแสงอาทิตย์ระหว่างพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้นโดยตรง[2][3] หากไม่มีภูเขาหลังพระอาทิตย์ตก อัลเพนโกลว์อาจปรากฏเป็นแสงสีแดงจากละอองลอยบนท้องฟ้าทิศตะวันออก คล้ายแสงสีชมพูที่เรียกว่า แถบวีนัส (Belt of Venus) ที่ปรากฏเหนือเงาโลก

แม้จะมีการอธิบายว่าแสงพร่าเป็นสาเหตุของอัลเพนโกลว์ แต่ยังมีการแย้งว่าปรากฏการณ์นี้เกิดจากแสงอาทิตย์โดยตรงจากพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น[4][5] และต้องเกิดขึ้นกับท้องฟ้าโปร่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. Weber, Liz (February 14, 2020). "The science of sunsets and the secrets of alpenglow". The Journal. สืบค้นเมื่อ September 5, 2021.
  2. Cushman, Ruth Carol; Jones, Stephen (December 28, 2009). "Catch Boulder's 'alpenglow' -- blushing mountains -- this winter". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-10. สืบค้นเมื่อ 2018-01-10.
  3. "What Is Alpenglow?". Digital Photography School (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2018-01-10.
  4. "Lexico, powered by Oxford: 'Alpenglow'" (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-15. สืบค้นเมื่อ 2019-11-15.
  5. "Merriam-Webster: 'Alpenglow'" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-11-15.