อันดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อันดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ได้มีการจัดโดยนิตยสารต่างๆ ภายในประเทศ เพื่อเป็นตัวแสดงให้เห็นถึง ประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัยในขณะนั้น และรวมถึงเป็นข้อมูลสำหรับนักเรียนหรือนักศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อช่วยในการตัดสินใจ ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกันอย่างจริงจัง และ อันดับมหาวิทยาลัยที่จัดนั้น ก็ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนต่อของนักศึกษา อัตราการสมัคร (admission rate) อัตราการเข้าเรียนจริง ๆ ของผู้ที่ได้รับการตอบรับแล้ว (yield rate) และการวางแผนพัฒนาของมหาวิทยาลัยต่างๆ

สำหรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดของสหรัฐอเมริกา คือ การจัดอันดับโดยนิตยสาร ยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต (US News and World Report) ซึ่งได้เริ่มการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรี (College) ในปี 2526 เป็นต้นมา โดยในชั้นแรก เป็นแค่คอลัมน์หนึ่งของนิตยสารเท่านั้น และ การจัดอันดับมหาวิทยาลัย ไม่ได้รับความสนใจมากนักต่อนักการศึกษา และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ แต่ต่อมาด้วยความนิยมที่มีมากขึ้น ทำให้ นิตยสาร USNews ได้รับความนิยมจากนักเรียนในการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัย แม้จะมีข้อผิดพลาด และได้รับการวิจารณ์จากนักการศึกษาอยู่เสมอ ๆ ในยุคแรก ๆ ภายหลังนิตยสารได้ใช้ผู้เชี่ยวชาญในด้านสถิติมาเป็นบรรณาธิการในด้านการจัดอันดับโดยเฉพาะ

ต่อมาได้มีนิตยสารอื่น ๆ ทำการจัดทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของสหรัฐ ฯ ออกมามากขึ้น เช่น สำหรับคณะบริหารธุรกิจ มีนิตยสาร เช่น นิตยสารบิซิเนสวีก(BusinessWeek), นิตยสารฟอรบส์ (Forbes) ซึ่งได้รับความนิยม ในสาขาปรัชญา ก็มี Gourmet Report [1] แต่อย่างไรก็ได้ การจัดลำดับของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ นั้น มีความแตกต่างกันตามแต่อคติและการให้น้ำหนักของปัจจัยที่ใช้วัดคะแนน ตัวอย่างของความแตกต่าง อาทิ ในปี พ.ศ. 2548 (2005) ได้มีการจัดอันดับแตกต่างกันอย่างมาก โดยทางนิตยสารยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ตจัดให้เอ็มบีเอที่มหาวิทยาลัยดาร์ตมัธอยู่อันดับที่ 9 ขณะที่ นิตยสารฟอรบส์ จัดให้อยู่อันดับที่ 1 แต่กลับไม่ติดอันดับในนิตยสารบิซิเนสวีก ภายหลังได้มีการพยายามจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยใช้ปัจจัยอื่น ๆ ที่น่าเชื่อถือมากขึ้น โดยนักวิชาการ หรือนักเศรษฐศาสตร์การศึกษา ต่าง ๆ อาทิ การวัดโดยวิธี โดยใช้วิธีดูจากการอันดับเลือกของเรียนมัธยม (Revealed Preference Ranking) [2] หรือการวัดจากคุณภาพของอาจารย์ โดยดูจากงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง (citation) หรือ การมีงานตีพิมพ์ในระบบออนไลน์

อันดับมหาวิทยาลัยในภาพรวม[แก้]

เปอร์เซนต์การรับนักศึกษามหาวิทยาลัยประจำปี 2557 (College Acceptance Rates 2014)[แก้]

10 อันดับมหาวิทยาลัยที่เข้ายากที่สุดในสหรัฐอเมริกาประจำปี 2557 มีดังต่อไปนี้

  1. มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เปอร์เซนต์การรับ 5.07%
  2. มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เปอร์เซนต์การรับ 5.9%
  3. มหาวิทยาลัยเยล เปอร์เซนต์การรับ 6.26%
  4. มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เปอร์เซนต์การรับ 6.94%
  5. มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เปอร์เซนต์การรับ 7.28%
  6. สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) เปอร์เซนต์การรับ 7.7%
  7. มหาวิทยาลัยบราวน์ เปอร์เซนต์การรับ 8.6%
  8. มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย เปอร์เซนต์การรับ 9.9%
  9. มหาวิทยาลัยดุ๊ก เปอร์เซนต์การรับ 10.7%
  10. วิทยาลัยดาร์ตมัธ เปอร์เซนต์การรับ 11.5%

ยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต[แก้]

ยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต เป็นนิตยสารที่มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในหลากหลายด้าน [3] ซึ่งรวมถึง วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ บริหารธุรกิจ นิติศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ โดยมีการจัดอันดับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) อย่างไรก็ตาม ได้มีข้อโต้เถียงมากจากมหาวิทยาลัยที่ได้อันดับต่ำ โดยบางมหาวิทยาลัยเช่น วิทยาลัยรีด ในรัฐออริกอนได้ปฏิเสธการให้ข้อมูลแก่ทางนิตยสาร อย่างไรก็ตามการจัดอันดับนี่เป็นที่ยอมรับมากอันหนึ่งของสหรัฐอเมริกา โดย 10 อันดับแรก (พ.ศ. 2557) มีดังนี้

  1. มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน
  2. มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
  3. มหาวิทยาลัยเยล
  4. มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
  5. มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
  6. มหาวิทยาลัยชิคาโก
  7. มหาวิทยาลัยดุ๊ก
  8. สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT)
  9. มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
  10. สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (Caltech)
  11. วิทยาลัยดาร์ตมัธ

ดิอะเมริกัน ยูนิเวอร์ซิตี้ แอดมิดชั่นส์ โปรแกรม[แก้]

ดิอะเมริกัน ยูนิเวอร์ซิตี้ แอดมิดชั่นส์ โปรแกรม เป็นหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาด้านการศึกษาต่อที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ได้จัดอันดับทั่วสหรัฐอเมริกา โดย 20 อันดับแรกของมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2548 มีดังนี้

  1. มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
  2. มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
  3. มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก
  4. มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์
  5. มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
  6. สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT)
  7. มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน
  8. มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
  9. สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (Caltech)
  10. มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตต
  11. มหาวิทยาลัยเยล
  12. มหาวิทยาลัยดุ๊ก
  13. วิทยาลัยดาร์ตมัธ
  14. มหาวิทยาลัยไมอามี
  15. มหาวิทยาลัยจอร์จทาว
  16. มหาวิทยาลัยชิคาโก
  17. มหาวิทยาลัยเวคฟอเรสต์
  18. มหาวิทยาลัยเปปเปอร์ดีน
  19. มหาวิทยาลัยบอสตัน
  20. มหาวิทยาลัยแวนเดอบิลท์

นอกจากนั้นหน่วยงานดังกล่าวยังจัดอันดับมหาวิทยาลัยตามความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆดังนี้

ด้านศิลปศาสตร์

  1. วิทยาลัยมิเดิลเบอร์รี่
  2. วิทยาลัยเดวิสสัน
  3. วิทยาลัยโรลินส์

ด้านวิทยาศาสตร์

  1. สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT)
  2. สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (Caltech)

ด้านการจัดการธุรกิจบริการ

  1. มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์
  2. มหาวิทยาลัยเนวาดา ลาสเวกัส
  3. มหาวิทยาลัยจอห์นสัน แอนด์เวลส์

มหาวิทยาลัยขอรัฐที่มีโปรแกรมบัณฑิตเกียรตินิยมที่ดีที่สุด

  1. มหาวิทยาลัยเดลาแวร์
  2. มหาวิทยาลัยมิชิแกน-แอน อาเบอร์
  3. มหาวิทยาลัยโอกลาโอมา

ด้านการบิน

  1. วิทยาลัยเอมรี่ ริดเดิล

มหาวิทยาลัยที่สวยที่สุด

  1. มหาวิทยาลัยเปปเปอร์ดีน
  2. มหาวิทยาลัยเวก ฟอเรสต์
  3. มหาวิทยาลัยโคโรลาโด โบลเดอร์

เอ็มบีเอ[แก้]

เอ็มบีเอได้มีการจัดอันดับโดยหลายนิตยสาร ซึ่งรวมถึง ไฟแนนเชียลไทมส์ นิตยสารฟอรบส์ บิซิเนสวีก และยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต

เอ็มบีเอ โดย[แก้]

ไฟแนนเชียลไทมส์
ไฟแนนเชียลไทมส์

ไฟแนนเชียลไทมส์ จัดอันดับ เอ็มบีเอ ทั่วโลก [4] โดยมหาวิทยาลัย 10 อันดับแรกในปี พ.ศ. 2557 ได้แก่

  1. มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
  2. มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
  3. มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
  4. มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
  5. สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
  6. มหาวิทยาลัยชิคาโก
  7. มหาวิทยาลัยเยล
  8. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
  9. มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น
  10. มหาวิทยาลัยดุ๊ก

เอ็มบีเอ โดย นิตยสารฟอรบส์[แก้]

นิตยสารฟอรบส์
นิตยสารฟอรบส์

เงื่อนไขในการจัดอันดับของนิตยสารฟอรบส์ ในปีพ.ศ. 2548 ใช้การสำรวจ จากศิษย์เก่าที่จบการเอ็มบีเอ 25,000 คนทั่วสหรัฐอเมริกา และเปรียบเทียบการคุ้มทุนในการเรียนโดยคำนวณจากเงินเดือนก่อนและหลังเรียน เปรียบเทียบกับค่าเล่าเรียนและเงินเดือนที่ควรจะได้ในช่วงที่เรียน โดยอันดับ ข้อมูล 10 อันดับแรก โดยนิตยสารฟอรบส์ ปี พ.ศ. 2548 [5]

  1. วิทยาลัยดาร์ตมัธ
  2. มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
  3. มหาวิทยาลัยชิคาโก
  4. มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
  5. มหาวิทยาลัยเยล
  6. มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
  7. มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
  8. มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย
  9. มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์
  10. มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น

เอ็มบีเอ โดย นิตยสารยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต[แก้]

ข้อมูล 10 อันดับแรก นิตยสารยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต ปี พ.ศ. 2549 [6]

  1. มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
  2. มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
  3. มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
  4. สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
  5. มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น
  6. มหาวิทยาลัยชิคาโก
  7. มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
  8. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
  9. วิทยาลัยดาร์ตมัธ
  10. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส

สถาปัตยกรรมศาสตร์ โดย ดีไซน์อินเทลลิเจนซ์[แก้]

ดีไซน์อินเทลลิเจนซ์
ดีไซน์อินเทลลิเจนซ์

นิตยสารดีไซน์อินเทลลิเจนซ์ ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ในสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยได้เริ่มมีการจัดอันดับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543 โดยมีการจัดอันดับในภาพรวมของสถาปัตยกรรมศาสตร์ และในสาขาย่อย ได้แก่มัณฑณศิลป์ และ ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ อันดับมหาวิทยาลัยจัดอันดับโดยการสัมภาษณ์เป็นส่วนใหญ่จาก ทางบริษัทสถาปนิกทั่วประเทศและทางคณาจารย์มหาวิทยาลัย โดยเนื้อหาในการจัดอันดับจะเน้นที่ความรู้ที่สามารถนำมาทำงานได้จริงในวิชาชีพ ในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการจัดอันดับ 15 มหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรี และ 25 อันดับในระดับปริญญาโท[7]โดย 5 อันดับแรก ได้แก่

ระดับปริญญาตรี
  1. มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์
  2. มหาวิทยาลัยซินซินแนติ
  3. มหาวิทยาลัยไรซ์
  4. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียโพลีเทคนิคสเตต
  5. มหาวิทยาลัยซีราคิวส์
ระดับปริญญาโท
  1. มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
  2. มหาวิทยาลัยเยล
  3. มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
  4. มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
  5. สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์

วิศวกรรมการก่อสร้าง โดย อีเอ็นอาร์[แก้]

อีเอ็นอาร์
อีเอ็นอาร์

นิตยสารอีเอ็นอาร์ (ENR, Engineering News-Record) ในสำนักพิมพ์แม็คกรอว์-ฮิลล์ ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยในสาขา วิศวกรรมศาสตร์ในด้านวิศวกรรมการก่อสร้าง (C-School, construction school) โดยมีการจัดอันดับตามจำนวนคณาจารย์ในคณะ จำนวนนักศึกษาที่เรียน อันดับในปี พ.ศ. 2544 [8] มีดังนี้

  1. มหาวิทยาลัยโคโลราโดสเตต
  2. มหาวิทยาลัยเท็กซัสเอแอนด์เอ็ม
  3. มหาวิทยาลัยเพอร์ดู
  4. มหาวิทยาลัยออร์เบิร์น
  5. มหาวิทลัยบริกแฮมยัง
  6. มหาวิทยาลัยลุยเซียนาสเตต
  7. มหาวิทยาลัยอีสต์แคโรไลนา
  8. มหาวิทยาลัยซินซินแนติ
  9. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียสเตต
  10. มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต
  11. มหาวิทยาลัยแคนซัสสเตต
  12. มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต
  13. มหาวิทยาลัยอินดีแอนา
  14. มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน
  15. มหาวิทยาลัยฟลอริดา
  16. มหาวิทยาลัยเนแบรสกา
  17. มหาวิทยาลัยมอนแทนาสเตต
  18. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียโพลีเทคนิคสเตต
  19. มหาวิทยาลัยฟลอริดาอินเตอร์เนชันแนล
  20. มหาวิทยาลัยจอร์เจียเซาเทิร์น

อินเทอร์เน็ตไร้สาย โดย อินเทล[แก้]

อินเทล
อินเทล

บริษัทอินเทล ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยในเรื่องของความเข้าถึงเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตไร้สาย ในพื้นที่บริเวณมหาวิทยาลัย และจำนวนนักเรียนต่อจำนวนคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลได้มาจากการสัมภาษณ์นักเรียนมากกว่า 1,000 คน และสัมภาษณ์สื่อมวลชนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบทสัมภาษณ์ที่ตีพิมพ์ในนิตยสารฟอรบส์ โดยเริ่มจัดอันดับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยในปีล่าสุดได้มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัย 50 อันดับ[9] ซึ่ง 5 อันดับแรกได้แก่

  1. มหาวิทยาลัยบอลล์สเตต รัฐอินดีแอนา
  2. มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นมิชิแกน รัฐมิชิแกน
  3. มหาวิทยาลัยแอครอน รัฐโอไฮโอ
  4. วิทยาลัยดาร์ตมัธ รัฐนิวแฮมป์เชียร์
  5. มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน รัฐเพนซิลเวเนีย

การสังสรรค์ โดย เพลย์บอย[แก้]

เพลย์บอย
เพลย์บอย

นิตยสารเพลย์บอย ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการสังสรรค์มากที่สุด 10 อันดับมหาวิทยาลัย (Top ten party schools) โดยอันดับถูกจัดตามการสัมภาษณ์ และการสำรวจจากเพลย์บอย ในด้านไลฟ์สไตล์ของนักศึกษา จำนวนสถานที่เที่ยวกลางคืน (บาร์ ผับ ดิสโกเทค) ภายในมหาวิทยาลัย รูปร่างสัดส่วนของนักศักษา หรือแม้แต่จำนวนสถานฟิตเนสในมหาวิทยาลัย โดยรวมถึงการสัมภาษณ์จากนักศึกษาและอาจารย์ อันดับมหาวิทยาลัย 10 อันดับใน ปี พ.ศ. 2549 [10] ได้แก่

  1. มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน
  2. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาร์บารา
  3. มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต
  4. มหาวิทยาลัยอินดีแอนา
  5. มหาวิทยาลัยซานดิเอโกสเตต
  6. มหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตต
  7. มหาวิทยาลัยโอไฮโอ
  8. มหาวิทยาลัยจอร์เจีย
  9. มหาวิทยาลัยเทนเนสซี
  10. มหาวิทยาลัยแม็คกิลล์

อ้างอิง[แก้]

  1. Philosophical Gourmet Report
  2. การจัดอันดับ Revealed Preference Ranking of US Colleges and Universities
  3. อันดับมหาวิทยาลัย จัดโดยยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต (ข้อมูลบางส่วนต้องสมัครสมาชิก)
  4. "อันดับเอ็มบีเอ จัดอันดับโดยไฟแนนเชียลไทมส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-28. สืบค้นเมื่อ 2006-05-25.
  5. "อันดับเอ็มบีเอ จัดโดยนิตยสารฟอรบส์". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-08. สืบค้นเมื่อ 2012-12-08.
  6. อันดับเอ็มบีเอ จัดโดยนิตยสารยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต
  7. อันดับมหาวิทยาลัยในด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดย ดีไซน์อินเทลลิเจนซ์ เก็บถาวร 2012-05-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ต้องสมัครสมาชิก)
  8. The nation's C-Schools นิตยสารอีเอ็นอาร์ ฉบับวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2544
  9. อันดับมหาวิทยาลัย ตามอินเทอร์เน็ตไร้สายที่ครอบคลุม
  10. Top ten party schools จาก นิตยสารเพลย์บอย ฉบับ พฤษภาคม พ.ศ. 2549

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]