อนาโตมิคัล สนัฟฟ์ บอกซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนาโตมิคัล สนัฟฟ์ บอกซ์
(Anatomical snuff box)
อนาโตมิคัล สนัฟฟ์ บอกซ์
แผ่นเมือกของเอ็นกล้ามเนื้อด้านหลังของข้อมือ (อนาโตมิคัล สนัฟฟ์ บอกซ์เห็นได้ทางด้านขวามือของภาพ)
รายละเอียด
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงเรเดียล
หลอดเลือดดำหลอดเลือดดำเซฟาลิค
ประสาทเส้นประสาทเรเดียล
ตัวระบุ
ภาษาละตินFoveola Radialis
TA2301
FMA42329
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

อนาโตมิคัล สนัฟฟ์ บอกซ์ หรือ แอ่งเรเดียล (อังกฤษ: anatomical snuffbox; radial fossa; ละติน: Foveola Radialis) เป็นรอยเว้าลึกรูปสามเหลี่ยมบนด้านเรเดียล (ด้านนิ้วโป้ง) ด้านหลังของมือ ที่ระดับของกระดูกข้อมือ โดยมีกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกทราพีเซียม (Trapezium bone) เป็นพื้น ชื่อของแอ่งนี้มาจากมีการใช้ร่องนี้ในการใส่ผงยาสูบ (tobacco) หรือยานัตถุ์ (snuff) เพื่อสูดดม

ขอบเขต[แก้]

กายวิภาคประสาทร่วมหลอดเลือด[แก้]

ชั้นผิวของอนาโตมิคัล สนัฟฟ์ บอกซ์มีหลอดเลือดแดงเรเดียล (radial artery) โดยทอดตัวมาจากบริเวณคลำชีพจรของหลอดเลือดแดงเรเดียล (บริเวณข้อมือด้านนิ้วโป้ง) ไปยังช่องว่างระหว่างกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 และ 2 แล้วจะกลายเป็นโค้งหลอดเลือดแดงฝ่ามือชั้นตื้นและชั้นลึก (superficial and deep palmar arches) หลอดเลือดดำเซฟาลิค (cephalic vein) เริ่มต้นจากภายในอนาโตมิคัล สนัฟฟ์ บอกซ์ และแขนงดอร์ซัล คิวทาเนียส (dorsal cutaneous branch) ของเส้นประสาทเรเดียล (radial nerve) สามารถคลำได้โดยการลูบตามเอ็นกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัสกับด้านหลังของนิ้วมือ

พยาธิวิทยา[แก้]

ข้อต่อระหว่างกระดูกเรเดียสและกระดูกสแคฟฟอยด์ซึ่งอยู่ลึกต่อสนัฟฟ์ บอกซ์ เป็นฐานของข้อมือ หากเกิดอุบัติเหตุตกลงมาโดยที่มือยังยืดเหยียดออก บริเวณนี้จะเกิดการกระทบอย่างรุนแรง และถือว่าเป็นจุดรวมแรง ทำให้กระดูก 2 ชิ้นนี้หักได้ หากเกิดอาการเจ็บที่สามารถระบุตำแหน่งได้ภายในสนัฟฟ์ บอกซ์ ความรู้จากกายวิภาคของข้อมือจะทำให้ทราบได้ว่าน่าจะเกิดการหักของกระดูกสแคฟฟอยด์ กระดูกสแคฟฟอยด์เป็นกระดูกขนาดเล็ก มีลักษณะแปลกเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวมากกว่าการคงให้ข้อมืออยู่นิ่ง หากมีการใช้แรงที่ไม่เหมาะสมกับข้อมือ กระดูกสแคฟฟอยด์นั้นจะเสี่ยงที่จะหักสูงมาก

ลักษณะเฉพาะทางกายวิภาค[แก้]

ลักษณะเฉพาะที่แปลกของเลือดที่มาเลี้ยงกระดูกสแคฟฟอยด์คือในบริเวณนี้จะเป็นบริเวณแรกที่เลือดถูกขนส่งเข้ามา เลือดจะเข้าสู่กระดูกสแคฟฟอยด์ที่บริเวณด้านปลาย ดังนั้นหากเกิดการหักบริเวณส่วนต้นของกระดูก จะทำให้ไม่มีเลือดเข้ามาเลี้ยง และหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดการตายเฉพาะส่วนจากการขาดเลือด (avascular necrosis) ภายในอนาโตมิคัล สนัฟฟ์ บอกซ์ เนื่องจากกระดูกสแคฟฟอยด์มีขนาดเล็กและรูปร่างของมันทำให้ยากที่จะวินิจฉัยในระยะแรกเริ่มว่ากระดูกนี้หักหรือไม่โดยการเอกซ์เรย์ ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่ตามมาเช่น ความไม่มั่นคงของกระดูกข้อมือ (carpal instability) จากการที่เอ็นถูกทำลาย (ligament disruption) และเกิดกระดูกหักข้อเคลื่อน (fracture-dislocations)

ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกายวิภาคภายในข้อมือทำให้สามารถวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสม

ภาพอื่นๆ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Chapter 10: THE FOREARM". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-09. สืบค้นเมื่อ 2008-01-05.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]