กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส
(Pronator teres muscle)
กล้ามเนื้อในชั้นตื้นในด้านหน้าของปลายแขนข้างซ้าย (กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส และเอ็นกล้ามเนื้อนี้ แสดงด้วยสีน้ำเงิน)
รายละเอียด
จุดยึดปลายจุดเกาะด้านกระดูกต้นแขน: ปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน (เอ็นกล้ามเนื้อคอมมอนเฟลกเซอร์)
ปลายจุดเกาะด้านกระดูกอัลนา: โคโรนอยด์ โพรเซสของกระดูกอัลนา
จุดเกาะกระดูกเรเดียส
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงอัลนาและหลอดเลือดแดงเรเดียล
ประสาทเส้นประสาทมีเดียน
การกระทำคว่ำปลายแขน, งอข้อศอก
ตัวต้านกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์
ตัวระบุ
ภาษาละตินmusculus pronator teres
TA98A04.6.02.025
TA22478
FMA38450
ศัพท์ทางกายวิภาคของกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (อังกฤษ: pronator teres) เป็นกล้ามเนื้อที่ส่วนใหญ่อยู่บริเวณปลายแขน (forearm) ของร่างกายมนุษย์ ทำหน้าที่คว่ำปลายแขนร่วมกับกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส (pronator quadratus)

โครงสร้าง[แก้]

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส มีจุดเกาะต้นอยู่ 2 อัน ได้แก่ ปลายจุดเกาะด้านกระดูกต้นแขน และปลายจุดเกาะด้านกระดูกอัลนา

โดยมีเส้นประสาทมีเดียน (median nerve) ผ่านเข้าสู่ปลายแขนระหว่างปลายจุดเกาะทั้งสองของกล้ามเนื้อนี้ และแยกจากหลอดเลือดอัลนา (ulnar artery) โดยปลายจุดเกาะด้านกระดูกอัลนา

กล้ามเนื้อนี้จะทอดตัวเฉียงข้ามปลายแขน และสิ้นสุดลงเป็นเอ็นกล้ามเนื้อแบนๆ ซึ่งเข้าเกาะปลายที่รอยประทับขรุขระที่ตรงกลางของพื้นผิวด้านข้างของตัวกระดูกเรเดียส (body of the radius) ใต้ต่อจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (supinator)

ขอบด้านข้างของกล้ามเนื้อนี้เกิดเป็นขอบเขตด้านใกล้กลาง (medial boundary) ของแอ่งแขนพับ (cubital fossa) ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าของข้อศอก

เส้นประสาทที่เลี้ยง[แก้]

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส ถูกเลี้ยงโดยเส้นประสาทมีเดียน (median nerve)

ความแปรผัน[แก้]

ในบางครั้งอาจไม่พบปลายจุดเกาะด้านกระดูกอัลนา หรืออาจมีแผ่นส่วนเกินที่มาจากผนังกั้นมีเดียล อินเตอร์มัสคิวลาร์ (medial intermuscular septum) , จากกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ (biceps brachii) และจากกล้ามเนื้อเบรเคียลิส (brachialis)

ความสำคัญทางคลินิก[แก้]

กลุ่มอาการโปรเนเตอร์ เทเรส (Pronator teres syndrome) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยอย่างหนึ่งของอาการปวดข้อมือ

ดูเพิ่ม[แก้]

ภาพอื่นๆ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]