กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส
(Extensor carpi radialis brevis)
กล้ามเนื้อชั้นตื้นของปลายแขน (แสดงบางส่วนของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส แสดงด้วยสีน้ำเงิน)
รายละเอียด
จุดยึดกระดูกต้นแขนตำแหน่งด้านหน้าของปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ (เอ็นคอมมอนเอกซ์เทนเซอร์)
จุดเกาะฐานของกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงเรเดียล
ประสาทแขนงลึกของเส้นประสาทเรเดียล
การกระทำเหยียดและกางมือที่ข้อมือ
ตัวต้านกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส
ตัวระบุ
ภาษาละตินmusculus extensor carpi radialis brevis
TA98A04.6.02.041
TA22499
FMA38497
ศัพท์ทางกายวิภาคของกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (อังกฤษ: Extensor carpi radialis brevis; ECRB) เป็นกล้ามเนื้อที่หนากว่ากล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส (extensor carpi radialis longus) ที่อยู่เหนือกว่า

จุดเกาะต้นและจุดเกาะปลาย[แก้]

กล้ามเนื้อนี้มีจุดเกาะต้นที่ปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน (lateral epicondyle of the humerus) โดยเอ็นร่วมกับกล้ามเนื้ออีกสามมัด, ที่เอ็นเรเดียลคอลแลทเทอรัลของข้อศอก, ที่เอ็นแผ่ (aponeurosis) แข็งแรงที่คลุมอยู่ด้านบน และที่ผนังกั้นอินเตอร์มัสคิวลาร์ (intermuscular septa) ซึ่งอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อนี้และกล้ามเนื้อที่ติดกัน

ใยกล้ามเนื้อสุดกลายเป็นเอ็นกล้ามเนื้อลงที่ประมาณกึ่งกลางของปลายแขน ผ่านเข้าใต้กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (Abductor pollicis longus) และกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (Extensor pollicis brevis) แล้วจึงลอดใต้เอ็นดอร์ซัล คาร์ปัล (dorsal carpal ligament) เข้าไปเกาะปลายที่พื้นผิวด้านหลังของฐานของกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 บนด้านกระดูกเรเดียส

ความสัมพันธ์[แก้]

ใต้เอ็นดอร์ซัล คาร์ปัล (dorsal carpal ligament) เอ็นกล้ามเนื้อนี้ทอดตัวบนด้านหลังของกระดูกเรเดียสในร่องตื้นๆ เรียกว่า Lister's tubercle ซึ่งด้านข้างของมันเป็นทางผ่านของเอ็นของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส, ลองกัส ซึ่งแยกจากโครงสร้างนี้โดยสันตื้นๆ

เส้นประสาทที่เลี้ยง[แก้]

เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อในพื้นที่ด้านหลังของปลายแขน กล้ามเนื้อนี้ถูกเลี้ยงโดยแขนงของเส้นประสาทเรเดียล (radial nerve)

หน้าที่[แก้]

กล้ามเนื้อนี้ทำหน้าที่เหยียด (extensor) และกาง (abductor) มือที่ข้อมือ กล้ามเนื้อจึงควบคุมข้อมือเพื่อเคลื่อนมือไปด้านนิ้วหัวแม่มือและออกจากด้านฝ่ามือ

การออกกำลังกาย[แก้]

เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อกลุ่มเหยียดอื่นๆ ในปลายแขน กล้ามเนื้อนี้สามารถฝึกความแข็งแรงได้จากการออกกำลังการต้านการเหยียด โดยใช้ wrist roller และ wrist curls ร่วมกับดัมบ์เบลล์ (dumbbell)

ภาพอื่นๆ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]