องค์การปกครองกรุงโตเกียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การปกครองกรุงโตเกียว
東京都庁
สัญลักษณ์ของกรุงโตเกียว
เว็บไซต์tokyo.lg.jp/english
ฝ่ายนิติบัญญัติ
สภานิติบัญญัติสภากรุงโตเกียว
สถานที่ประชุมอาคารสภากรุงโตเกียว เขตชินจูกุ
ฝ่ายบริหาร
ผู้ว่าราชการผู้ว่าราชการกรุงโตเกียว

องค์การปกครองกรุงโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京都庁) คือส่วนราชการท้องถิ่นของกรุงโตเกียว ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสี่สิบเจ็ดจังหวัดของประเทศญี่ปุ่น องค์การปกครองกรุงโตเกียวมีฝ่ายบริหารคือผู้ว่าราชการกรุงโตเกียว และมีฝ่ายนิติบัญญัติคือสภากรุงโตเกียว ซึ่งล้วนมาจากการเลือกตั้งทางตรง ที่ทำการขององค์การฯอยู่ที่ศาลาว่าการกรุงโตเกียว

องค์การปกครองกรุงโตเกียวถือเป็นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีงบประมาณมหาศาลในระดับสิบล้านล้านเยน ซึ่งใหญ่กว่าขนาดเศรษฐกิจของหลายประเทศ นอกจากนี้ องค์การฯยังมีเจ้าหน้าที่กว่าหนึ่งแสนหกหมื่นคน ซึ่งมากกว่าเจ้าหน้าที่รัฐของหลายประเทศ[1] ด้วยเหตุนี้ ผู้ว่าราชการกรุงโตเกียวจึงมีอิทธิพลพอสมควรต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น[2]

สภากรุงโตเกียว (東京都議会) ประกอบด้วยสมาชิก 127 คนจาก 42 เขตเลือกตั้ง สมาชิกสภามีวาระดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี ไม่จำกัดวาระ หนึ่งสมัยประชุมให้มีสี่ครั้ง ครั้งละสามสิบวัน สภากรุงโตเกียวมีหน้าที่ให้ความเห็นชอบร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตลอดจนแต่งตั้งข้าราชการตำแหน่งสำคัญ เช่น รองผู้ว่าราชการกรุงโตเกียว

โครงสร้างของมหานครโตเกียว[แก้]

ศาลาว่าการมหานครโตเกียว

ภายใต้กฎหมายญี่ปุ่น โตเกียวได้รับการกำหนดเป็น โทะ () หรือกำหนดเป็นคำภาษาอังกฤษว่า metropolis (มหานคร)[3] ภายในมหานครโตเกียวจะประกอบด้วยเขตการปกครองประเภทต่าง ๆ ได้แก่ เขตพิเศษ 23 แห่ง (特別区, -ku, -คุ) ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ของนครโตเกียวที่ถูกยุบไปเมื่อ ค.ศ. 1943 ปัจจุบันเขตพิเศษแต่ละแห่งมีลักษณะการปกครองแบบเทศบาล มีนายกเทศมนตรีและสภา นอกจากเขตพิเศษแล้ว โตเกียวยังครอบคลุมเทศบาลนครจำนวน 26 แห่ง (市, -shi, -ชิ), เทศบาลเมือง 5 แห่ง (町, -chō หรือ machi, -โช หรือ -มาจิ), และเทศบาลหมู่บ้าน 8 แห่ง (村, -son หรือ -mura, -ซง หรือ -มูระ) เทศบาลเหล่านี้ตั้งอยู่ทางส่วนตะวันตกของมหานครโตเกียว และแนวหมู่เกาะที่อยู่ห่างไกลจากเกาะหลักของญี่ปุ่น ได้แก่ หมู่เกาะอิซุ และหมู่เกาะโองาซาวาระ

สภามหานครโตเกียว[แก้]

สภามหานครโตเกียวเป็นองค์การฝ่ายนิติบัญญัติของมหานครโตเกียวทั้งหมด ประกอบด้วยสมาชิก 127 คน ซึ่งจะได้รับเลือกมาดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปี การประชุมสามัญจะจัดขึ้นปีละ 4 ครั้ง ได้แก่ ในเดือนกุมภาพันธ์ มิถุนายน กันยายน และธันวาคม โดยทั่วไปสมัยประชุมเหล่านี้จะใช้เวลา 30 วัน ระหว่างนี้จะมีการประชุมเต็มคณะ ซึ่งเป็นการอภิปรายเรื่องร่างกฎหมาย[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "予算13兆円、職員16万人…東京都知事の権力と影響力(THE PAGE)". Yahoo!ニュース.
  2. "GDP by Country - Worldometer". www.worldometers.info.
  3. "Local Government in Japan" (PDF). Council of Local Authorities for International Relations. p. 41. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-10-25. สืบค้นเมื่อ 2007-10-16.
  4. Functions of the Metropolitan Assembly