หวายลิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หวายลิง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Poales
วงศ์: Flagellariaceae
สกุล: Flagellaria
สปีชีส์: F.  indica
ชื่อทวินาม
Flagellaria indica
L.

หวายลิง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Flagellaria indica; อังกฤษ: whip vine) เป็นพืชในวงศ์ Flagellariaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

หวายลิงเป็นไม้เลื้อย แตกกิ่งเป็นง่ามห่าง ๆ ลำต้นแข็งคล้ายลำหวาย สีเขียวเข้มแล้วเปลี่ยนเป็นสีเทาเมื่ออายุมากขึ้น ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับถึงเวียนสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกแคบ โคนใบมนกลม ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวยาว แข็งและม้วนเป็นมือพัน เส้นใบแบบขนานตามความยาวใบ เนื้อใบบางคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมันวาว ด้านล่างสีซีดกว่า ก้านใบสั้น กาบใบเป็นหลอด เรียงซ้อนทับกันหุ้มลำต้น ดอกออกเป็นช่อเชิงลดไม่มีก้านแยกแขนงโปร่ง ๆ ออกตามปลายยอด ก้านช่อดอกมักแตกแขนงเป็น 2 กิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กสีขาวจำนวนมาก ดอกย่อยไม่มีก้านดอก ดอกเดี่ยวหรือติดเป็นกระจุก มีใบประดับคล้ายเกล็ดล้อมรอบ กลีบรวม 6 กลีบ รูปรี แยกกันเป็นอิสระ เรียงเป็น 2 วง กลีบวงนอกยาวกว่ากลีบวงใน เกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านเกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 3 แฉก โผล่พ้นกลีบรวม ผลรูปทรงกลม ปลายผลมีติ่งแหลม ผิวเกลี้ยงเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมแดง มี 1 เมล็ด[1]

ประโยชน์[แก้]

ลำต้นหวายลิงมีความเหนียว ใช้ทำเป็นเชือกหรือทำเป็นเครื่องจักสานได้[2] ลำต้นและเหง้าใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใบใช้เป็นยาสมานแผล[3] นอกจากนี้ หวายลิงยังมีฤทธิ์ต้านไวรัสเด็งกี[4][5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "หวายลิง - ระบบจัดการความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ - กรมป่าไม้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-14. สืบค้นเมื่อ 2015-06-20.
  2. "หวายลิง « ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-09. สืบค้นเมื่อ 2015-06-20.
  3. Baling-uai / Flagellaria indica Linn / Whip vine
  4. Potential anti-dengue medicinal plants: a review
  5. Effect of Thai Medicinal Plant Extracts against Dengue Virus in vitro

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ หวายลิง