หมู่เกาะไดออมีด

พิกัด: 65°47′N 169°01′W / 65.783°N 169.017°W / 65.783; -169.017
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่เกาะไดออมีด
หมู่เกาะไดออมีด: ลิตเติลไดออมีด (ซ้าย, สหรัฐ) กับบิกไดออมีด (ขวา, รัสเซีย) มองจากทิศเหนือ หันไปทางทิศใต้
ภาพจากดาวเทียมของช่องแคบเบริง โดยหมู่เกาะไดออมีดอยู่กลางภาพ
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งช่องแคบเบริง
พิกัด65°47′N 169°01′W / 65.783°N 169.017°W / 65.783; -169.017
เกาะทั้งหมด2
การปกครอง
รัสเซีย / สหรัฐ
ประชากรศาสตร์
ประชากร (2011)
ข้อมูลอื่น ๆ
เขตเวลา

หมู่เกาะไดออมีด (อังกฤษ: Diomede Islands; รัสเซีย: острова́ Диоми́да, อักษรโรมัน: ostrová Diomída) ในรัสเซียรู้จักกันในชื่อ หมู่เกาะกวอซเดฟ (รัสเซีย: острова́ Гво́здева, อักษรโรมัน: ostrová Gvozdjeva) เป็นหมู่เกาะทางตอนกลางของช่องแคบเบริงที่มีเกาะหิน 2 เกาะ

หมู่เกาะไดออมีดตั้งอยู่ตรงกลางช่องแคบเบริงระหว่างอะแลสกาบนแผ่นดินใหญ่และไซบีเรีย ทางเหนือติดกับทะเลชุกชี และทางใต้ติดกับทะเลเบริง และแฟร์เวย์ร็อกทางตะวันออกเฉียงใต้ 9.3 km (5.8 mi) (เป็นของอะแลสกา) แต่โดยทั่วไปไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะไดออมีด ถ้ารวมทะเลชายขอบทวีป จะทำให้หมู่เกาะนี้เป้นหมู่เกาะทางเหนือสุดของมหาสมุทรแปซิฟิก เนื่องจากหมู่เกาะถูกแยกด้วยเส้นแบ่งเขตวันสากล ทำให้เกาะบิกไดออมีดมีเวลาล่วงหน้าเกือบหนึ่งวัน แต่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากเขตเวลาตามท้องที่ ทำให้เกาะบิกไดออมีดเร็วกว่าเกาะลิตเทิลไดออมีด 21 ชั่วโมง (20 ชั่วโมงในฤดูร้อน)[1] ด้วยเหตุนี้ ทำให้หมู่เกาะนี้บางครั้งรู้จักกันในชื่อ เกาะทูมอร์โรว์ (Tomorrow Island, แปล: เกาะพรุ่งนี้; เป็นของเกาะบิกไดออมีด) และเกาะเยสเตอร์เดย์ (Yesterday Island, แปล: เกาะเมื่อวาน; เป็นของเกาะลิตเทิลไดออมีด)

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

ชื่อหมู่เกาะมาจากนักบุญไดออมีดีสของกรีก Vitus Bering นักเดินเรือชาวเดนมาร์ก พบหมู่เกาะไดออมีดในวันที่ 16 สิงหาคม (แบบเก่า, ส่วนแบบใหม่คือ 27 สิงหาคม) ค.ศ. 1728 ตรงกับวันระลึกนักบุญในคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์[2]

ที่ตั้ง[แก้]

หมู่เกาะนี้ถูกแบ่งด้วยเส้นเขตแดน ซึ่งก็ถือเป็นเส้นแบ่งเขตวันสากล มีระยะห่างระหว่างเกาะประมาณ 2 กิโลเมตร (1.2 ไมล์) ที่ 168°58'37"W ส่วนจุดใกล้สุดระหว่างสองเกาะนี้อยู่ห่างกันประมาณ 3.8 กิโลเมตร (2.4 ไมล์)[3] บนเกาะลิตเติลไดออมีดมีที่อยู่อาศัยขนาดเล็กทางฝั่งตะวันตกของเกาะ

เกาะบิกไดออมีดเป็นจุดทางตะวันออกสุดของประเทศรัสเซีย

หมู่เกาะไดออมีดมักกล่าวถึงเป็นจุดหยุดที่เป็นไปได้ของสะพานหรืออุโมงค์สมมติ (ทางผ่านช่องแคบเบริง) ที่ทาบผ่านช่องแคบเบริง[4]

ในช่วงฤดูหนาว มีสะพานน้ำแข็งที่มักขยายกินพื้นที่ระหว่างสองเกาะนี้ ทำให้มีความเป็นไปได้ทางทฤษฎี (แม้ว่าผิดกฎหมาย เนื่องจากการเดินทางระหว่างสองเกาะนี้เป็นสิ่งต้องห้าม) ที่จะเดินไประหว่างรัสเซียกับสหรัฐ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Two of the world's largest countries, Russia and the United States, at their closest points are separated by 2.4 miles, but are 21 hours apart! Find out how ... | ePaper | DAWN.COM". epaper.dawn.com (ภาษาอังกฤษ). 18 November 2017. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
  2. Russia.com เก็บถาวร 2008-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. "Yesterday and Tomorrow Islands". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). 2018-01-27. สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
  4. "Could a Russia–US rail tunnel be built?". BBC News. 21 October 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]