การแปลงหน่วยอุณหภูมิ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
การแปลงหน่วยอุณหภูมิ คือการแปลงข้อมูลอุณหภูมิในหน่วยอุณหภูมิหนึ่ง ให้กลางเป็นอีกหน่วยอุณหภูมิหนึ่ง อาทิ เช่น 0 องศาเซลเซียส เป็น 32 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งต้องใข้สูตรทางคณิตศาสตร์ในการแก้ ในที่นี้มีหน่วยอุณภูมิในการแปลงอยู่ 8 หน่วย ประกอบด้วย เซลเซียส, ฟาเรนต์ไฮต์, เคลวิน, เดลิเซิล, นิวตัน, แรงคิน, โรเมอร์ และ เรอเมอร์
องศาเซลเซียส
[แก้]องศาเซลเซียส (อังกฤษ:Celcius, สัญลักษณ์: °C) ตั้งตามชื่อของนักดาราศาสตร์ชาวสวีเดน นายแอนเดอร์ เซลเซียส (Anders Celsius) เป็นคนแรกที่เสนอระบบที่ใกล้เคียงกับระบบนี้ (องศาเซนติเกรด) นี้ ในปี พ.ศ. 2285 (ค.ศ. 1742) กำหนดอุณหภูมิจุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 องศา และจุดเดือดของน้ำคือ 100 องศาเซลเซียส ที่ระดับความดันบรรยากาศมาตรฐาน[1] ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกา และ ประเทศไลบีเรีย รวมถึงประเทศที่ใช้บริการทางอุตุนิยมวิทยา และ ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรฯ เท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่องศาเซลเซียสใช้ในวงการวิทยาศาสตร์ทั่วโลกอย่างเป็นสากล[2]
จากองศาเซลเซียส | แปลงให้เป็นองศาเซลเซียส | |
---|---|---|
องศาฟาเรนไฮต์ | [°F] = [°C] × 9⁄5 + 32 | [°C] = ([°F] − 32) × 5⁄9 |
เคลวิน | [K] = [°C] + 273.15 | [°C] = [K] − 273.15 |
องศาแรงคิน | [°R] = ([°C] + 273.15) × 9⁄5 | [°C] = ([°R] − 491.67) × 5⁄9 |
องศาเดลิเซิล | [°De] = (100 − [°C]) × 3⁄2 | [°C] = 100 − [°De] × 2⁄3 |
องศานิวตัน | [°N] = [°C] × 33⁄100 | [°C] = [°N] × 100⁄33 |
องศาโรเมอร์ | [°Ré] = [°C] × 4⁄5 | [°C] = [°Ré] × 5⁄4 |
องศาเรอเมอร์ | [°Rø] = [°C] × 21⁄40 + 7.5 | [°C] = ([°Rø] − 7.5) × 40⁄21 |
องศาฟาเรนไฮต์
[แก้]องศาฟาเรนไฮต์ (อังกฤษ:Fahrenheit, สัญลักษณ์: °F) คือหน่วยมาตรวัดอุณหภูมิชนิดหนึ่ง ตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน กาเบรียล ฟาเรนไฮต์ (1686-1736) ผู้เสนอระบบมาตรวัดอุณหภูมินี้เมื่อปี ค.ศ.1724 โดยที่ค่าสเกลองศาฟาเรนไฮต์มีจุดอ้างอิงต่ำสุด 0°F เป็นอุณหภูมิจุดเยือกแข็งของ น้ำ น้ำแข็ง และ เกลือแอมโมเนียมคลอไรด์ องศาฟาเรนไฮต์เป็นมาตรวัดอุณหภูมิแรกที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ในปัจจุบัน องศาฟาเรนต์ไฮต์ใช้จุดแข็งและจุดเดือดของน้ำเป็นจุดอ้างอิง โดยมีจุดเยือกแข็งอยู่ที่ 32°F และ มีจุดเดือดที่ 212°F โดยที่มีระยะห่างระหว่างจุดเยือกแข็งกับจุดเดือดของน้ำคือ 180 องศา ณ ความดันบรรยากาศมาตรฐาน ณ ระดับน้ำทะเล ฟาเรนไฮต์เป็นมาตรวัดอุณหภูมิอย่างเป็นทางการในสหรัฐอเมริกา และประเทศที่ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ดินแดนหมู่เกาะที่เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร และ ประเทศไลบีเรีย
จากองศาองศาฟาเรนไฮต์ | แปลงให้เป็นองศาฟาเรนไฮต์ | |
---|---|---|
องศาเซลเซียส | [°C] = ([°F] − 32) × 5⁄9 | [°F] = [°C] × 9⁄5 + 32 |
เคลวิน | [K] = ([°F] + 459.67) × 5⁄9 | [°F] = [K] × 9⁄5 − 459.67 |
องศาแรงคิน | [°R] = [°F] + 459.67 | [°F] = [°R] − 459.67 |
องศาเดลิเซิล | [°De] = (212 − [°F]) × 5⁄6 | [°F] = 212 − [°De] × 6⁄5 |
องศานิวตัน | [°N] = ([°F] − 32) × 11⁄60 | [°F] = [°N] × 60⁄11 + 32 |
องศาโรเมอร์ | [°Ré] = ([°F] − 32) × 4⁄9 | [°F] = [°Ré] × 9⁄4 + 32 |
องศาเรอเมอร์ | [°Rø] = ([°F] − 32) × 7⁄24 + 7.5 | [°F] = ([°Rø] − 7.5) × 24⁄7 + 32 |
เคลวิน
[แก้]เคลวิน (อังกฤษ: kelvin, สัญลักษณ์: K) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง และเป็นหน่วยพื้นฐานหนึ่งในเจ็ดของระบบเอสไอ นิยามให้เท่ากับ 1/273.16 เท่าของอุณหภูมิเทอร์โมไดนามิกของจุดสามสถานะของน้ำ เคลวินตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแต่นักฟิสิกส์และวิศวกรชาวอังกฤษ วิลเลียม ทอมสัน บารอนที่หนึ่งแห่ง เคลวิน (William Thomson, 1st Baron Kelvin) เคลวิน เป็นหน่วยของหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง ที่ลอร์เควิน ได้พัฒนาคิดสเกลขึ้นใหม่ โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความเร็วของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบนิวเคลียส โดยสังเกตว่าถ้าให้ความร้อนกับสสารมากขึ้น อิเล็กตรอนจะมีพลังงานมากขึ้น ทำให้เคลื่อนที่มีความเร็วมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าลดความร้อนให้กับสสาร อิเล็กตรอนก็จะมีพลังงานน้อยลง ทำให้การเคลื่อนที่ลดลง และถ้าสามารถลดอุณหภูมิลงจนถึงจุดที่อิเล็กตรอนหยุดการเคลื่อนที่ ณ จุดนั้น จะไม่มีอุณหภูมิหรือพลังงานในสสารเลย และจะไม่มีการแผ่รังสีความร้อนจากวัตถุ จึงเรียกอุณหภูมิ ณ จุดนี้ว่า ศูนย์สัมบูรณ์ (0 K) อุณหภูมิเพิ่ม 1 K มีค่าเท่ากับ 1°C
จากเคลวิน | แปลงให้เป็นเคลวิน | |
---|---|---|
องศาเซลเซียส | [°C] = [K] − 273.15 | [K] = [°C] + 273.15 |
องศาฟาเรนไฮต์ | [°F] = [K] × 9⁄5 − 459.67 | [K] = ([°F] + 459.67) × 5⁄9 |
องศาแรงคิน | [°R] = [K] × 9⁄5 | [K] = [°R] × 5⁄9 |
องศาเดลิเซิล | [°De] = (373.15 − [K]) × 3⁄2 | [K] = 373.15 − [°De] × 2⁄3 |
องศานิวตัน | [°N] = ([K] − 273.15) × 33⁄100 | [K] = [°N] × 100⁄33 + 273.15 |
องศาโรเมอร์ | [°Ré] = ([K] − 273.15) × 4⁄5 | [K] = [°Ré] × 5⁄4 + 273.15 |
องศาเรอเมอร์ | [°Rø] = ([K] − 273.15) × 21⁄40 + 7.5 | [K] = ([°Rø] − 7.5) × 40⁄21 + 273.15 |
องศาแรงคิน
[แก้]องศาแรงคิน (อังกฤษ: Rankine Scale, สัญลักษณ์: °Ra) คือหน่วยวัดอุณหภูมิที่คิดค้นขึ้นโดยวิศวกรช่างกลชาวสก็อตแลนด์ ชือ นายวิลเลียม แรงคิน (William Rankine) ผู้ร่วมก่อตั้งสาขาวิชาเทอร์โมไดนามิกส์ เป็นมาตรวัดอุณหภูมิทางเทอร์โมไดนามิกส์ในหน่วยวัดแบบอังกฤษ ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1859 ใช้วัดอุณหภูมิพลศาสตร์และเอนโทรปี มีจุดเยือกแข็งของน้ำที่ 491.67 R และจุดการกลายเป็นไอน้ำที่ 671.67 R ส่วนอุณหภูมิต่ำที่สุดของ Rankine Scale คือ 0 R ณ จุดนั้น จะไม่มีอุณหภูมิหรือพลังงานในสสารเลย และจะไม่มีการแผ่รังสีความร้อนจากวัตถุ จึงเรียกอุณหภูมิ ณ จุดนี้ว่า ศูนย์สัมบูรณ์ (0 K หรือ 0 R) มีความคล้ายคลึงกับเคลวินอย่างมาก เพราะมีจุดกำเนิดร่วมกัน แต่ต่างกันตรงที่องศาแรงคินมีองศาฟาเรนไฮต์เป็นแม่แบบ อุณหภูมิเพิ่ม 1 °Ra มีค่าเท่ากับ 1°F
จากองศาแรงคิน | แปลงให้เป็นองศาแรงคิน | |
---|---|---|
องศาเซลเซียส | [°C] = ([°R] − 491.67) × 5⁄9 | [°R] = ([°C] + 273.15) × 9⁄5 |
องศาฟาเรนไฮต์ | [°F] = [°R] − 459.67 | [°R] = [°F] + 459.67 |
เคลวิน | [K] = [°R] × 5⁄9 | [°R] = [K] × 9⁄5 |
องศาเดลิเซิล | [°De] = (671.67 − [°R]) × 5⁄6 | [°R] = 671.67 − [°De] × 6⁄5 |
องศานิวตัน | [°N] = ([°R] − 491.67) × 11⁄60 | [°R] = [°N] × 60⁄11 + 491.67 |
องศาโรเมอร์ | [°Ré] = ([°R] − 491.67) × 4⁄9 | [°R] = [°Ré] × 9⁄4 + 491.67 |
องศาเรอเมอร์ | [°Rø] = ([°R] − 491.67) × 7⁄24 + 7.5 | [°R] = ([°Rø] − 7.5) × 24⁄7 + 491.67 |
องศาเดลิเซิล (อังกฤษ:Delisle ,สัญลักษณ์: °D) คือหน่วยวัดอุณหภูมิที่คิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1732 โดยนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส โจเซฟ-นิโคลัส เดลิเซิล (Joseph-Nicolas Delisle) โดยวัดจุดเดือดของน้ำเป็น 0°D และจุดเยือกแข็งของน้ำอยู่ที่ 150°D เป็นหน่วยที่นิยมใช้ในจักรวรรดิรัสเชียในอดีตเป็นเวลากว่า 100 ปี โดยมีผู้ใช้ที่มีชื่อเสียงในวงการวิทยาศาสตร์คือ มิคาอิล โลโมโนซอฟ (Mikhail Lomonosov) นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ผู้ค้นพบกฎการอนุรักษ์มวล[3]ในปฏิกิริยาเคมี เป็นหน่วยการวัดอุณหภูมิที่แปลกกว่าหน่วยวัดอื่น ๆ เพราะ ยิ่งอุณหภูมิในหน่วยองศาเดลิเซิลสูงขึ้น อากาศจะยิ่งเย็นลง สวนทางกับมาตรวัดแบบอื่น ๆ
จากองศาเดลิเซิล | แปลงให้เป็นองศาเดลิเซิล | |
---|---|---|
องศาเซลเซียส | [°C] = 100 − [°De] × 2⁄3 | [°De] = (100 − [°C]) × 3⁄2 |
องศาฟาเรนไฮต์ | [°F] = 212 − [°De] × 6⁄5 | [°De] = (212 − [°F]) × 5⁄6 |
เคลวิน | [K] = 373.15 − [°De] × 2⁄3 | [°De] = (373.15 − [K]) × 3⁄2 |
องศาแรงคิน | [°R] = 671.67 − [°De] × 6⁄5 | [°De] = (671.67 − [°R]) × 5⁄6 |
องศานิวตัน | [°N] = 33 − [°De] × 11⁄50 | [°De] = (33 − [°N]) × 50⁄11 |
องศาโรเมอร์ | [°Ré] = 80 − [°De] × 8⁄15 | [°De] = (80 − [°Ré]) × 15⁄8 |
องศาเรอเมอร์ | [°Rø] = 60 − [°De] × 7⁄20 | [°De] = (60 − [°Rø]) × 20⁄7 |
องศานิวตัน
[แก้]องศานิวตัน[4] (อังกฤษ: Newton Scale, สัญลักษณ์: °N) คือ หน่วยวัดอุณหภูมิที่คิดค้นขึ้นในปี ค.ศ.1701 โดยเซอร์ไอแซก นิวตัน นักฟิสิกส์ผู้คิดค้นแรงโน้มถ่วง และแคลคูลัส นิวตันเป็นคนแรกที่เรียกเครื่องมือวัดอุณหภูมิของตนเองว่า เทอร์โมมิเตอร์ โดยกำหนด 0°N เป็นจุดเยือกแข็งของน้ำ และ 33°N เป็นจุดเดือดของน้ำ เป็นหน่วยอุณหภูมิแรกที่มีการกำหนดตัวเลขอุณหภูมิอย่างชัดเจนร่วมกับองศาเรอเมอร์ (ตีพิมพ์ในเวลาไล่เลี่ยกัน) อุณหภูมิเพิ่ม 1°N คือ 3.03°C
จากองศานิวตัน | แปลงให้เป็นองศานิวตัน | |
---|---|---|
องศาเซลเซียส | [°C] = [°N] × 100⁄33 | [°N] = [°C] × 33⁄100 |
องศาฟาเรนไฮต์ | [°F] = [°N] × 60⁄11 + 32 | [°N] = ([°F] − 32) × 11⁄60 |
เคลวิน | [K] = [°N] × 100⁄33 + 273.15 | [°N] = ([K] − 273.15) × 33⁄100 |
องศาแรงคิน | [°R] = [°N] × 60⁄11 + 491.67 | [°N] = ([°R] − 491.67) × 11⁄60 |
องศาเดลิเซิล | [°De] = (33 − [°N]) × 50⁄11 | [°N] = 33 − [°De] × 11⁄50 |
องศาโรเมอร์ | [°Ré] = [°N] × 80⁄33 | [°N] = [°Ré] × 33⁄80 |
องศาเรอเมอร์ | [°Rø] = [°N] × 35⁄22 + 7.5 | [°N] = ([°Rø] − 7.5) × 22⁄35 |
องศาโรเมอร์
[แก้]องศาเรโอมูร์ (อังกฤษ: Réaumur Scale/degree; สัญลักษณ์:°Ré, °Re) หรือในไทยนิยมเรียกว่า องศาโรเมอร์ คือหน่วยวัดอุณหภูมิที่คิดค้นขึ้นโดย เรอเน อ็องตวน แฟร์โชล เดอ เรโอมูร์ (René Antoine Ferchault de Réaumur) นักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1731 โดยกำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำอยู่ที่ 0°Ré และจุดเดือดของน้ำอยู่ที่ 80°Ré ดังนั้นช่วงอุณหภูมิ 1 °Ré จะเท่ากับ 1.25°C กำหนดจุดเยือกแข็งของน้ำอยู่ที่ 0°Ré และจุดเดือดที่ 80°Ré
จากองศาโรเมอร์ | จากองศาโรเมอร์ | |
---|---|---|
องศาเซลเซียส | [°C] = [°Ré] × 5⁄4 | [°Ré] = [°C] × 4⁄5 |
องศาฟาเรนไฮต์ | [°F] = [°Ré] × 9⁄4 + 32 | [°Ré] = ([°F] − 32) × 4⁄9 |
เคลวิน | [K] = [°Ré] × 5⁄4 + 273.15 | [°Ré] = ([K] − 273.15) × 4⁄5 |
องศาแรงคิน | [°R] = [°Ré] × 9⁄4 + 491.67 | [°Ré] = ([°R] − 491.67) × 4⁄9 |
องศาเดลิเซิล | [°De] = (80 − [°Ré]) × 15⁄8 | [°Ré] = 80 − [°De] × 8⁄15 |
องศานิวตัน | [°N] = [°Ré] × 33⁄80 | [°Ré] = [°N] × 80⁄33 |
องศาเรอเมอร์ | [°Rø] = [°Ré] × 21⁄32 + 7.5 | [°Ré] = ([°Rø] − 7.5) × 32⁄21 |
องศาเรอเมอร์
[แก้]องศาเรอเมอร์ (อังกฤษ: Rømer Scale, สัญลักษณ์: °Rø) คือหน่วยวัดอุณหภูมิที่คิดค้นโดยนักดาราศาสตร์ชาวเดนมาร์ก โอเล คริสเตนเซน เรอเมอร์ (Ole Christensen Rømer) โดยตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ.1701 ไล่เรี่ยกันกับองศานิวตัน โดยกำหนดให้ 7.5°Rø เป็นจุดเยือกแข็งของน้ำ และ 60°Rø เป็นจุดเดือดของน้ำ โดย 0°Rø คือจุดเยือกแข็งของน้ำ น้ำแข็ง และ เกลือแอมโมเนียมคลอไรด์ (คล้ายกับฟาเรนไฮต์) โดยอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1°Rø คือ 40/21°C เป็นหน่วยอุณหภูมิแรกที่มีการกำหนดตัวเลขอุณหภูมิอย่างชัดเจนร่วมกับองศานิวตัน (ก่อนหน้านั้น เทอร์โมมิเตอร์วัดได้แค่ร้อนหรือเย็นเท่านั้น)
จากองศาเรอเมอร์ | แปลงให้เป็นองศาเรอเมอร์ | |
---|---|---|
องศาเซลเซียส | [°C] = ([°Rø] − 7.5) × 40⁄21 | [°Rø] = [°C] × 21⁄40 + 7.5 |
องศาฟาเรนไฮต์ | [°F] = ([°Rø] − 7.5) × 24⁄7 + 32 | [°Rø] = ([°F] − 32) × 7⁄24 + 7.5 |
เคลวิน | [K] = ([°Rø] − 7.5) × 40⁄21 + 273.15 | [°Rø] = ([K] − 273.15) × 21⁄40 + 7.5 |
องศาแรงคิน | [°R] = ([°Rø] − 7.5) × 24⁄7 + 491.67 | [°Rø] = ([°R] − 491.67) × 7⁄24 + 7.5 |
องศาเดลิเซิล | [°De] = (60 − [°Rø]) × 20⁄7 | [°Rø] = 60 − [°De] × 7⁄20 |
องศานิวตัน | [°N] = ([°Rø] − 7.5) × 22⁄35 | [°Rø] = [°N] × 35⁄22 + 7.5 |
องศาโรเมอร์ | [°Ré] = ([°Rø] − 7.5) × 32⁄21 | [°Rø] = [°Ré] × 21⁄32 + 7.5 |
ตารางเปรียบเทียบ
[แก้]องศาเซลเซียส | องศาฟาเรนไฮต์ | เคลวิน | องศาแรงคิน | องศาเดลิเซิล | องศานิวตัน | องศาโรเมอร์ | องศาเรอเมอร์ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
500.00 | 932.00 | 773.15 | 1391.67 | −600.00 | 165.00 | 400.00 | 270.00 |
490.00 | 914.00 | 763.15 | 1373.67 | −585.00 | 161.70 | 392.00 | 264.75 |
480.00 | 896.00 | 753.15 | 1355.67 | −570.00 | 158.40 | 384.00 | 259.50 |
470.00 | 878.00 | 743.15 | 1337.67 | −555.00 | 155.10 | 376.00 | 254.25 |
460.00 | 860.00 | 733.15 | 1319.67 | −540.00 | 151.80 | 368.00 | 249.00 |
450.00 | 842.00 | 723.15 | 1301.67 | −525.00 | 148.50 | 360.00 | 243.75 |
440.00 | 824.00 | 713.15 | 1283.67 | −510.00 | 145.20 | 352.00 | 238.50 |
430.00 | 806.00 | 703.15 | 1265.67 | −495.00 | 141.90 | 344.00 | 233.25 |
420.00 | 788.00 | 693.15 | 1247.67 | −480.00 | 138.60 | 336.00 | 228.00 |
410.00 | 770.00 | 683.15 | 1229.67 | −465.00 | 135.30 | 328.00 | 222.75 |
400.00 | 752.00 | 673.15 | 1211.67 | −450.00 | 132.00 | 320.00 | 217.50 |
390.00 | 734.00 | 663.15 | 1193.67 | −435.00 | 128.70 | 312.00 | 212.25 |
380.00 | 716.00 | 653.15 | 1175.67 | −420.00 | 125.40 | 304.00 | 207.00 |
370.00 | 698.00 | 643.15 | 1157.67 | −405.00 | 122.10 | 296.00 | 201.75 |
360.00 | 680.00 | 633.15 | 1139.67 | −390.00 | 118.80 | 288.00 | 196.50 |
350.00 | 662.00 | 623.15 | 1121.67 | −375.00 | 115.50 | 280.00 | 191.25 |
340.00 | 644.00 | 613.15 | 1103.67 | −360.00 | 112.20 | 272.00 | 186.00 |
330.00 | 626.00 | 603.15 | 1085.67 | −345.00 | 108.90 | 264.00 | 180.75 |
320.00 | 608.00 | 593.15 | 1067.67 | −330.00 | 105.60 | 256.00 | 175.50 |
310.00 | 590.00 | 583.15 | 1049.67 | −315.00 | 102.30 | 248.00 | 170.25 |
300.00 | 572.00 | 573.15 | 1031.67 | −300.00 | 99.00 | 240.00 | 165.00 |
290.00 | 554.00 | 563.15 | 1013.67 | −285.00 | 95.70 | 232.00 | 159.75 |
280.00 | 536.00 | 553.15 | 995.67 | −270.00 | 92.40 | 224.00 | 154.50 |
270.00 | 518.00 | 543.15 | 977.67 | −255.00 | 89.10 | 216.00 | 149.25 |
260.00 | 500.00 | 533.15 | 959.67 | −240.00 | 85.80 | 208.00 | 144.00 |
250.00 | 482.00 | 523.15 | 941.67 | −225.00 | 82.50 | 200.00 | 138.75 |
240.00 | 464.00 | 513.15 | 923.67 | −210.00 | 79.20 | 192.00 | 133.50 |
230.00 | 446.00 | 503.15 | 905.67 | −195.00 | 75.90 | 184.00 | 128.25 |
220.00 | 428.00 | 493.15 | 887.67 | −180.00 | 72.60 | 176.00 | 123.00 |
210.00 | 410.00 | 483.15 | 869.67 | −165.00 | 69.30 | 168.00 | 117.75 |
200.00 | 392.00 | 473.15 | 851.67 | −150.00 | 66.00 | 160.00 | 112.50 |
190.00 | 374.00 | 463.15 | 833.67 | −135.00 | 62.70 | 152.00 | 107.25 |
180.00 | 356.00 | 453.15 | 815.67 | −120.00 | 59.40 | 144.00 | 102.00 |
170.00 | 338.00 | 443.15 | 797.67 | −105.00 | 56.10 | 136.00 | 96.75 |
160.00 | 320.00 | 433.15 | 779.67 | −90.00 | 52.80 | 128.00 | 91.50 |
150.00 | 302.00 | 423.15 | 761.67 | −75.00 | 49.50 | 120.00 | 86.25 |
140.00 | 284.00 | 413.15 | 743.67 | −60.00 | 46.20 | 112.00 | 81.00 |
130.00 | 266.00 | 403.15 | 725.67 | −45.00 | 42.90 | 104.00 | 75.75 |
120.00 | 248.00 | 393.15 | 707.67 | −30.00 | 39.60 | 96.00 | 70.50 |
110.00 | 230.00 | 383.15 | 689.67 | −15.00 | 36.30 | 88.00 | 65.25 |
100.00 | 212.00 | 373.15 | 671.67 | 0.00 | 33.00 | 80.00 | 60.00 |
90.00 | 194.00 | 363.15 | 653.67 | 15.00 | 29.70 | 72.00 | 54.75 |
80.00 | 176.00 | 353.15 | 635.67 | 30.00 | 26.40 | 64.00 | 49.50 |
70.00 | 158.00 | 343.15 | 617.67 | 45.00 | 23.10 | 56.00 | 44.25 |
60.00 | 140.00 | 333.15 | 599.67 | 60.00 | 19.80 | 48.00 | 39.00 |
50.00 | 122.00 | 323.15 | 581.67 | 75.00 | 16.50 | 40.00 | 33.75 |
40.00 | 104.00 | 313.15 | 563.67 | 90.00 | 13.20 | 32.00 | 28.50 |
30.00 | 86.00 | 303.15 | 545.67 | 105.00 | 9.90 | 24.00 | 23.25 |
20.00 | 68.00 | 293.15 | 527.67 | 120.00 | 6.60 | 16.00 | 18.00 |
10.00 | 50.00 | 283.15 | 509.67 | 135.00 | 3.30 | 8.00 | 12.75 |
0.00 | 32.00 | 273.15 | 491.67 | 150.00 | 0.00 | 0.00 | 7.50 |
−10.00 | 14.00 | 263.15 | 473.67 | 165.00 | −3.30 | −8.00 | 2.25 |
−20.00 | −4.00 | 253.15 | 455.67 | 180.00 | −6.60 | −16.00 | −3.00 |
−30.00 | −22.00 | 243.15 | 437.67 | 195.00 | −9.90 | −24.00 | −8.25 |
−40.00 | −40.00 | 233.15 | 419.67 | 210.00 | −13.20 | −32.00 | −13.50 |
−50.00 | −58.00 | 223.15 | 401.67 | 225.00 | −16.50 | −40.00 | −18.75 |
−60.00 | −76.00 | 213.15 | 383.67 | 240.00 | −19.80 | −48.00 | −24.00 |
−70.00 | −94.00 | 203.15 | 365.67 | 255.00 | −23.10 | −56.00 | −29.25 |
−80.00 | −112.00 | 193.15 | 347.67 | 270.00 | −26.40 | −64.00 | −34.50 |
−90.00 | −130.00 | 183.15 | 329.67 | 285.00 | −29.70 | −72.00 | −39.75 |
−100.00 | −148.00 | 173.15 | 311.67 | 300.00 | −33.00 | −80.00 | −45.00 |
−110.00 | −166.00 | 163.15 | 293.67 | 315.00 | −36.30 | −88.00 | −50.25 |
−120.00 | −184.00 | 153.15 | 275.67 | 330.00 | −39.60 | −96.00 | −55.50 |
−130.00 | −202.00 | 143.15 | 257.67 | 345.00 | −42.90 | −104.00 | −60.75 |
−140.00 | −220.00 | 133.15 | 239.67 | 360.00 | −46.20 | −112.00 | −66.00 |
−150.00 | −238.00 | 123.15 | 221.67 | 375.00 | −49.50 | −120.00 | −71.25 |
−160.00 | −256.00 | 113.15 | 203.67 | 390.00 | −52.80 | −128.00 | −76.50 |
−170.00 | −274.00 | 103.15 | 185.67 | 405.00 | −56.10 | −136.00 | −81.75 |
−180.00 | −292.00 | 93.15 | 167.67 | 420.00 | −59.40 | −144.00 | −87.00 |
−190.00 | −310.00 | 83.15 | 149.67 | 435.00 | −62.70 | −152.00 | −92.25 |
−200.00 | −328.00 | 73.15 | 131.67 | 450.00 | −66.00 | −160.00 | −97.50 |
−210.00 | −346.00 | 63.15 | 113.67 | 465.00 | −69.30 | −168.00 | −102.75 |
−220.00 | −364.00 | 53.15 | 95.67 | 480.00 | −72.60 | −176.00 | −108.00 |
−230.00 | −382.00 | 43.15 | 77.67 | 495.00 | −75.90 | −184.00 | −113.25 |
−240.00 | −400.00 | 33.15 | 59.67 | 510.00 | −79.20 | −192.00 | −118.50 |
−250.00 | −418.00 | 23.15 | 41.67 | 525.00 | −82.50 | −200.00 | −123.75 |
−260.00 | −436.00 | 13.15 | 23.67 | 540.00 | −85.80 | −208.00 | −129.00 |
−270.00 | −454.00 | 3.15 | 5.67 | 555.00 | −89.10 | −216.00 | −134.25 |
−273.15 | −459.67 | 0.00 | 0.00 | 559.725 | −90.1395 | −218.52 | −135.90375 |
องศาเซลเซียส | องศาฟาเรนไฮต์ | เคลวิน | องศาแรงคิน | องศาเดลิเซิล | องศานิวตัน | องศาโรเมอร์ | องศาเรอเมอร์ |
การเปรียบเทียบอุณหภูมิ
[แก้]เคลวิน | องศาเซลเซียส | องศาฟาเรนไฮต์ | องศาแรงคิน | องศาเดลิเซิล | องศานิวตัน | องศาโรเมอร์ | องศาเรอเมอร์ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ศูนย์สัมบูรณ์ | 0.00 | −273.15 | −459.67 | 0.00 | 559.73 | −90.14 | −218.52 | −135.90 |
อุณหภูมิที่ต่ำที่สุดที่เคยวัดได้บนพื้นผิวโลก[5] | 184 | −89.2[5] | −128.6[5] | 331 | 284 | −29 | −71 | −39 |
อุณภูมิของน้ำแข็ง น้ำ และ เกลือของฟาเรนไฮต์ | 255.37 | −17.78 | 0.00 | 459.67 | 176.67 | −5.87 | −14.22 | −1.83 |
จุดเยือกแข็งของน้ำ (ณ ระดับน้ำทะเล) | 273.15 | 0.00 | 32.00 | 491.67 | 150.00 | 0.00 | 0.00 | 7.50 |
อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลก | 288 | 15 | 59 | 519 | 128 | 5 | 12 | 15 |
อุณหภูมิเฉลี่ยของร่างกายมนุษย์ | 310 | 37 | 98 | 558 | 95 | 12 | 29 | 27 |
อุณหภูมิที่สูงที่สุดที่เคยวัดได้บนพื้นผิวโลก[6] | 331 | 58[6] | 136.4[6] | 596 | 63 | 19 | 46 | 38 |
จุดเดือดของน้ำ (ณ ระดับน้ำทะเล) | 373.1339 | 99.9839 | 211.97102[7] | 671.64102[7] | 0.00 | 33.00 | 80.00 | 60.00 |
จุดหลอมเหลวของไททาเนียม (ณ ระดับน้ำทะเล) | 1941 | 1668 | 3034 | 3494 | −2352 | 550 | 1334 | 883 |
อุณหภูมิของพื้นผิวดวงอาทิตย์ | 5800 | 5500 | 9900 | 10400 | −8100 | 1800 | 4400 | 2900 |
กราฟเปรียบเทียบอุณหภูมิ
[แก้]
องศาแรงคิน (°R) | ||||||||||
เคลวิน (K) | ||||||||||
องศาฟาเรนไฮต์ (°F) | ||||||||||
องศาเซลเซียส (°C) องศาโรเมอร์ (°Ré) องศาเรอเมอร์ (°Rø) องศานิวตัน (°N) | ||||||||||
องศาเดลิเซิล (°D) | ||||||||||
ศูนย์สัมบูรณ์ | อุณหภูมิที่ต่ำที่สุดที่เคยวัดได้บนพื้นผิวโลก | อุณภูมิของน้ำแข็ง น้ำ และ เกลือของฟาเรนไฮต์ | จุดเยือกแข็งของน้ำ (ณ ระดับน้ำทะเล)) | อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลก (15 °C) | อุณหภูมิเฉลี่ยของร่างกายมนุษย์ (37 °C) | อุณหภูมิที่สูงที่สุดที่เคยวัดได้บนพื้นผิวโลก | จุดเดือดของน้ำ (ณ ระดับน้ำทะเล) |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Unit of thermodynamic temperature (kelvin)". The NIST Reference on Constants, Units, and Uncertainty: Historical context of the SI. National Institute of Standards and Technology (NIST). 2000. Retrieved 16 November 2011.
- ↑ http://www.bipm.fr/en/CGPM/db/13/3/
- ↑ https://en.wikipedia.org/wiki/Conservation_of_mass
- ↑ https://en.wikipedia.org/wiki/Newton_scale
- ↑ 5.0 5.1 5.2 The Coldest Inhabited Places on Earth; researchers of the Vostok Station recorded the coldest known temperature on Earth on July 21st 1983: −89.2 °C (−128.6 °F).
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "World: Highest Temperature". Arizona State University, School of Geographical Sciences. November 12, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2013.
an Italian weather station in al 'Aziziyah (Libya) measured a temperature of 58 °C (136.4 °F) on September 13th 1922. "Although this record has gained general acceptance as the world's highest temperature recorded under standard conditions, the validity of the extreme has been questioned."
- ↑ 7.0 7.1 "Comparison of temperature scales". Tampile. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-24. สืบค้นเมื่อ 2020-05-21.