สิทธิโดยสายโลหิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สิทธิโดยสายโลหิต[1] (อังกฤษ: jus sanguinis) เป็นสำนวนภาษาลาตินที่หมายความว่า "right of blood" หรือ "สิทธิโดยสายโลหิต" เป็นนโยบายทางสังคมที่ "สิทธิของการเป็นพลเมือง" เป็นสิทธิที่เชื้อชาติ หรือ สัญชาติมิได้ระบุโดยดินแดนที่กำเนิด แต่โดยการที่มีบรรพบุรุษผู้ที่ถือสัญชาติหรือเป็นพลเมืองของประเทศที่ว่า ซึ่งตรงกันข้ามกับ “สิทธิโดยแผ่นดิน” (Jus soli)

เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 การถกเถียงระหว่างฝรั่งเศส-เยอรมันเรื่องสัญชาตินำไปสู้การต่อต้านนโยบายของเยอรมันโดยเอิร์นเนสต์ เรนอง ในปรัชญาที่เรียกว่า "objective nationality" ที่ใช้สายเลือด, ชาติพันธุ์ (Race) หรือภาษาเป็นเครื่องวัดสัญชาติ ขณะที่ฝรั่งเศสใช้กฎ “สิทธิโดยแผ่นดิน” เป็นเครื่องวัด ที่ถือว่าสิทธิของเชื้อชาติ หรือ สัญชาติเป็นสิ่งที่เป็นของบุคคลในดินแดนที่เกิด ในปัจจุบันชาติหลายชาติใช้ปรัชญาผสมระหว่าง “สิทธิโดยแผ่นดิน” และ “สิทธิโดยสายโลหิต” ในการพิจารณาการให้สัญชาติที่รวมทั้งสหรัฐอเมริกา, แคนาดา, อิสราเอล, เยอรมนี (เมื่อไม่นานมานี้), กรีซ, ไอร์แลนด์ และอื่นๆ

นอกไปจากฝรั่งเศสแล้วชาติในยุโรปส่วนใหญ่ก็ยังคงใช้กฎ “สิทธิโดยสายโลหิต” เป็นเครื่องวัดสิทธิของการให้สัญชาติในการพยายามรักษาขนบประเพณีและความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ รวมทั้งการดำรงสายเลือดของชาติพันธุ์เดียวกัน (Monoculturalism) ที่ได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นการจำกัดสิทธิของผู้ที่หรือหลายชั่วคนที่อาศัยอยู่ในประเทศใดประเภทหนึ่งเป็นเวลานานโดยไม่มีโอกาสที่จะได้รับสัญชาติของแผ่นดินที่ตั้งถิ่นฐานอยู่

อ้างอิง[แก้]

  1. คำนิยาม "สิทธิโดยสายโลหิต" จาก "หนังสืออธิบายศัพท์การทูตและการเมืองระหว่างประเทศ ฯพณฯเอกอัครราชทูต กลศ วิเศษสุรการ" [1] เก็บถาวร 2009-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ดูเพิ่ม[แก้]