สะพานเทพสุดา

พิกัด: 16°42′46″N 103°27′31″E / 16.712819°N 103.458702°E / 16.712819; 103.458702
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานเทพสุดา
สะพานเทพสุดามองจากทางใต้
ข้ามเขื่อนลำปาว
ที่ตั้งจ.กาฬสินธุ์
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทคอนกรีตเสริมเหล็ก
ความยาว2,040 เมตร
ประวัติ
วันเปิด22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานเทพสุดา เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 2 ช่องจราจร ข้ามเขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ จากบริเวณแหลมโนนวิเศษ ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ ถึงบริเวณเกาะมหาราช ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรีเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 498,850,000 บาท ความยาว 2,040 เมตร ถนนต่อเชื่อมโครงการผิวจราจรกว้าง 7 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.50 เมตร ภายใต้การกำกับดูแลของกรมทางหลวงชนบท สร้างเสร็จในเดือนธันวาคม 2553 ถือเป็นสะพานข้ามน้ำจืดที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2553 สะพานเทพสุดา ซึ่งหมายถึงสะพานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานเทพสุดาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 เวลา 09.00 น. ณ บริเวณเชิงสะพานเทพสุดา อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ รวมทั้งทอดพระเนตรนิทรรศการสะพานเทพสุดา

สะพานเทพสุดาเป็นโครงข่ายเชื่อมเส้นทางคมนาคมขนส่งจาก จังหวัดหนองคาย อุดรธานี ผ่านจังหวัดกาฬสินธุ์ ไปยังจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเป็นประตูสู่อินโดจีนหรืออีสต์เวสต์อีโคโนมิก คอริดอร์ จะช่วยร่นระยะทางได้กว่า 100 กิโลเมตร รวมถึงการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรทางฝั่งตะวันตก อำเภอหนองกุงศรี อำเภอท่าคันโท ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ฝั่งตะวันออก อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอสมเด็จ อำเภอกุฉินารายณ์ และตัวจังหวัดกาฬสินธุ์ จะร่นระยะทางกว่า 80 กิโลเมตร นอกจากนี้ บนสะพานเทพสุดายังสามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามบริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ำลำปาวได้อย่างชัดเจน สนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดกาฬสินธุ์ และการท่องเที่ยวในภูมิภาค ทำให้ ประชาชนมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ประกอบกับ อำเภอสหัสขันธ์ มีพิพิธภัณฑ์สิรินธร (ภูกุ้มข้าว) ซึ่งเป็นแหล่งค้นพบชิ้นส่วนกระดูกไดโนเสาร์ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย ทั้งนี้ได้ออกแบบประติมากรรมรูปหล่อไดโนเสาร์ ติดตั้งบริเวณราวสะพานทั้ง 2 ข้าง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ อีกด้วย

อ้างอิง[แก้]

http://www.nongkungsri.com เก็บถาวร 2011-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

http://www.livekalasin.com เก็บถาวร 2008-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

http://www.innnews.co.th

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

16°42′46″N 103°27′31″E / 16.712819°N 103.458702°E / 16.712819; 103.458702