สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ
ตราของหน่วยงาน | |
ธงของหน่วยงาน | |
สำนักงานใหญ่ ฟอร์ตมีด รัฐแมริแลนด์ | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
สำนักงานใหญ่ | ฟอร์ตมีด รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา |
คำขวัญ | "ปกป้องชาติเรา สร้างความมั่นใจให้อนาคต" |
บุคลากร | เป็นความลับ (30,000–40,000 ประมาณการ) |
งบประมาณต่อปี | เป็นความลับ (10.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ประมาณการ) |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ต้นสังกัดหน่วยงาน | กระทรวงกลาโหมสหรัฐ |
เว็บไซต์ | www.nsa.gov |
สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (อังกฤษ: National Security Agency) หรือ เอ็นเอสเอ (NSA) เป็นหน่วยงานข่าวกรองระดับชาติของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ มีผู้บังคับบัญชา คือ ผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ หน่วยงานนี้รับผิดชอบการเฝ้าระวัง การรวบรวม และการประมวลข้อมูลข่าวสารทั่วโลกเพื่อประโยชน์ในการสืบข่าวกรองและต่อต้านข่าวกรองทั้งในและนอกประเทศ เชี่ยวชาญสาขาวิชาที่เรียกว่า ข่าวกรองสัญญาณ ทั้งมีภารกิจเป็นการพิทักษ์ระบบสื่อสารและระบบข้อมูลข่าวสารของสหรัฐ[1][2] โดยอาศัยมาตรการหลายประการในการบรรลุหน้าที่ ซึ่งหลัก ๆ แล้ว คือ มาตรการลับ[3]
หน่วยงานนี้ เดิมประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1952 เป็นหน่วยถอดรหัสสิ่งสื่อสารในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และนับแต่นั้นได้กลายเป็นหน่วยงานที่ใหญ่ที่สุดในประชาคมข่าวกรองสหรัฐในแง่บุคลาการและงบประมาณ[4][5] ปัจจุบัน หน่วยงานนี้รวบรวมมวลข้อมูล (mass data) จากทั่วโลก และเป็นที่รับรู้กันว่า คอยดักรับข้อมูลจากระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว[6] หน่วยงานนี้ยังถูกกล่าวหาว่า อยู่เบื้องหลังการโจมตีซอฟต์แวร์ เช่น กรณีสตักซ์เน็ต ซึ่งสร้างความเสียหายร้ายแรงให้แก่โปรแกรมนิวเคลียร์ของอิหร่าน[7][8] อนึ่ง หน่วยงานนี้ และสำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) ส่งบุคลากรไปประจำอยู่ในประเทศหลายแห่งทั่วโลก ทั้งมีโครงการร่วมกันที่เรียก บริการรวบรวมพิเศษ ซึ่งคอยติดตั้งอุปกรณ์ดักรับข้อมูลไว้ ณ เป้าหมายที่มีความสำคัญสูง เช่น ในที่พำนักของประธานาธิบดีหรือทูต มีข้อกล่าวหาว่า ยุทธวิธีรวบรวมข่าวกรองของโครงการดังกล่าวนั้นรวมถึง "การเฝ้าระวังใกล้ชิด การขโมย การดักฟัง [และ]การบุกเข้า[อาคารสถานที่]"[9][10]
หน่วยงานนี้ต่างจากซีไอเอและสำนักงานข่าวกรองกลาโหม (ดีไอเอ) ตรงที่ความเชี่ยวชาญหลัก ๆ ของหน่วยงานทั้งสองอยู่ในด้านการใช้จารชน ส่วนหน่วยงานนี้ไม่ใช้วิธีรวบรวมข่าวกรองจากแหล่งข่าวที่เป็นมนุษย์อย่างเปิดเผย หน่วยงานนี้ยังได้รับมอบหมายให้คอยช่วยเหลือและประสานงานด้านข่าวกรองสัญญาณสำหรับองค์การอื่นของรัฐที่ถูกกฎหมายห้ามเข้าดำเนินงานดังกล่าวเอง[11] อนึ่ง หน่วยงานซึ่งตั้งอยู่ที่เดียวกันกับหน่วยงานนี้ คือ กรมความมั่นคงกลาง (ซีเอสเอส) ซึ่งคอยประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานนี้กับหน่วยงานกลาโหมอื่น ๆ ของสหรัฐที่รับผิดชอบการวิเคราะห์รหัสลับ และเพื่อสร้างความมั่นใจว่า การสื่อสารในประชาคมข่าวกรองสหรัฐจะเป็นไปอย่างราบรื่น ผู้อำนวยการหน่วยงานนี้จะปฏิบัติหน้าที่ผู้บัญชาการกองบัญชาการไซเบอร์สหรัฐและหัวหน้าซีเอสเอสไปพร้อมกัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "About NSA: Mission". National Security Agency. สืบค้นเมื่อ September 14, 2014.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNakashima
- ↑ Executive Order 13470 – 2008 Amendments to Executive Order 12333, United States Intelligence Activities, July 30, 2008 (PDF)
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อwapoblack1
- ↑ Bamford, James. Body of Secrets: Anatomy of the Ultra-Secret National Security Agency, Random House Digital, Inc., December 18, 2007
- ↑ Malkin, Bonnie. "NSA surveillance: US bugged EU offices". The Daily Telegraph, June 30, 2013.
- ↑ Ngak, Chenda. "NSA leaker Snowden claimed U.S. and Israel co-wrote Stuxnet virus", CBS, July 9, 2013
- ↑ Bamford, James (June 12, 2013). "The Secret War". Wired. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 25, 2014.
- ↑ Ann Curry (anchor), John Pike (guest), Pete Williams (guest) and James Bamford (guest) (February 27, 2001). "Congress to Hold Closed Hearings on Accused Spy Robert Hanssen Later This Week". Today. NBC.
- ↑ Lichtblau, Eric (February 28, 2001). "Spy Suspect May Have Revealed U.S. Bugging; Espionage: Hanssen left signs that he told Russia where top-secret overseas eavesdropping devices are placed, officials say". Los Angeles Times. p. A1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 17, 2001.
- ↑ Executive Order 13470 – 2008 Amendments to Executive Order 12333, United States Intelligence Activities, Section C.2, July 30, 2008