สนธิสัญญาไม่รุกรานเยอรมนี–โปแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธิสัญญาไม่รุกรานเยอรมนี–โปแลนด์
Hans-Adolf von Moltke เอกอัครราชทูตเยอรมนี ยูแซฟ ปิวซุตสกี ผู้นำโปแลนด์ โยเซ็ฟ เกิบเบิลส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโฆษณาการเยอรมนี และยูแซฟ แบ็ก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พบปะที่วอร์ซอในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1934 ห้าเดือนหลังลงนามสนธิสัญญา
วันลงนาม26 มกราคม ค.ศ. 1934
ที่ลงนามเบอร์ลิน, ประเทศเยอรมนี
ผู้ลงนาม
ภาคี
ภาษาโปแลนด์, เยอรมัน

สนธิสัญญาไม่รุกรานเยอรมัน-โปแลนด์ (เยอรมัน: Erklärung zwischen Deutschland und Polen über den Verzicht auf Gewaltanwendung; โปแลนด์: Deklaracja między Polską a Niemcami o niestosowaniu przemocy)[1] เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศระหว่างนาซีเยอรมนีและสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง ลงนามที่เบอร์ลินเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1934[2] จากข้อความในสนธิสัญญาดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องกันในการแก้ปัญหาด้วยการเจรจาสองฝ่าย และประกันจะไม่มีการเผชิญหน้ากันทางทหารเป็นเวลาสิบปี ซึ่งเป็นการปรับความสัมพันธ์ระหว่างนาซีเยอรมนีและโปแลนด์ที่เกิดความตึงเครียดตามแนวชายแดนของทั้งสองประเทศจากผลของสนธิสัญญาแวร์ซาย โดยเยอรมนีรับประกันแนวชายแดนของโปแลนด์ และยุติการกดดันทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น

จากข้อความในสนธิสัญญาดังกล่าว โปแลนด์ยืนยันว่าสนธิสัญญาดังกล่าวไม่ได้เป็นการลบล้างผลจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศอื่น ๆ ซึ่งได้กระทำไว้ก่อนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พันธมิตรทางการทหารระหว่างฝรั่งเศส-โปแลนด์ และจากการที่ความตึงเครียดกับเยอรมนีลดน้อยลงจากการเจรจาสองฝ่าย ฐานะของฝรั่งเศสเมื่อเทียบกับเยอรมนีจึงด้อยลงไปเสีย

เพื่อระงับความกังวลว่าความสัมพันธ์ระหว่างโปแลนด์กับพันธมิตรตะวันตกจะขาดสะบั้นลง ดังนั้น เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1934 โปแลนด์ได้ร่างสนธิสัญญาไม่รุกรานโปแลนด์-โซเวียตใหม่อีกครั้ง ซึ่งได้ลงนามในครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1932

สนธิสัญญาดังกล่าวทำให้โปแลนด์ยังคงรักษาความสัมพันธ์อันดีกับเยอรมนีได้อีกเป็นเวลาห้าปี ขณะที่ยังคงรักษาความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่สนใจนโยบายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสันนิบาติชาติ และไม่สนใจในโครงการป้องกันร่วมกันซึ่งเสนอโดยฝรั่งเศส ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930

หลังจากได้มีการลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานเยอรมัน-โปแลนด์แล้ว ก็ตามด้วยข้อตกลงทางการค้ากับเยอรมนี ว่ากันว่าข้อตกลงดังกล่าวได้ทำให้ชาวเยอรมันตั้งรกรากอยู่ตามแนวชายแดนทางด้านตะวันออก และเป็นการให้เวลาแก่ฮิตเลอร์ในการเสริมสร้างกำลังทหารขึ้นมาใหม่ และอีกห้าปีหลังจากนั้น กองทัพเยอรมันก็รุกรานโปแลนด์ได้สำเร็จ[3][4] ที่เป็นดังนี้เพราะ นโยบายของเยอรมนีเปลี่ยนไปในปี ค.ศ. 1938 หลังจากการผนวกซูเตเดนแลนด์ และโปแลนด์ได้กลายเป็นเป้าหมายต่อไปของฮิตเลอร์ ในเดือนตุลาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โจอาคิม ฟอน ริบเบนทรอปได้เสนอว่าควรจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของสนธิสัญญาไม่รุกรานกันใหม่ และอนุญาตให้นครเสรีดานซิกผนวกเข้ากับดินแดนเยอรมนีได้ และขออนุญาตในการสร้างทางด่วนเชื่อมระหว่างเยอรมนีกับมณฑลปรัสเซียตะวันออก ผ่านทางฉนวนโปแลนด์ ซึ่งโปแลนด์ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ยกเลิกผลของสนธิสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1938[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kuberski, Hubert. "Hubert Kuberski: Polsko-niemiecka deklaracja o niestosowaniu przemocy". INSTYTUT PAMIĘCI NARODOWEJHUBERT KUBERSKI: POLSKO-NIEMIECKA DEKLARACJA O NIESTOSOWANIU PRZEMOCY - HISTORIA Z IPN -. สืบค้นเมื่อ 16 March 2021.
  2. Cienciala, Anna M. (1 March 1967). "The Significance of the Declaration of Non-Aggression of January 26, 1934, in Polish-German and International Relations: A Reappraisal". East European Quarterly. 1 (1). ProQuest 1297351025. สืบค้นเมื่อ 13 February 2021.
  3. Hitler, 1936-1945: Nemesis. Ian Kershaw, 2001.
  4. The Unmaking of Adolf Hitler. Eugene Davidson, 2004.
  5. Manipulating the Ether: The Power of Broadcast Radio in Thirties America Robert J. Brown ISBN 0-7864-2066-9

ข้อมูล[แก้]

  • Wandycz, Piotr Stean (2001) [1988]. The Twilight of French Eastern Alliances. 1926–1936. French-Czechoslovak-Polish relations from Locarno to the remilitarization of the Rheinland. Princeton University Press. ISBN 1-59740-055-6..
  • Anna M. Cienciala, "The Foreign Policy of Józef Piłsudski and Józef Beck, 1926-1939: Misconceptions and Interpretations," The Polish Review (2011) 56#1 pp. 111–151 in JSTOR
  • Cienciala, Anna (1999). "The Munich Crisis, 1938". ใน Igor Lukes and Erik Goldstein (บ.ก.). The Munich crisis of 1938: Plans and Strategy in Warsaw in the context of Wester appeasement of Germany. London: Frank Cass.
  • Schuker, Stephan (1999). "The End of Versailles". ใน Gordon Martel (บ.ก.). The Origins of the Second World War Reconsidered A.J.P. Taylor And The Historians. London: Routledge.
  • "Text of German-Polish Agreement of January 26, 1934", The British War Bluebook (ภาษาอังกฤษ) – โดยทาง Avalon Project


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]